รายละเอียด

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี / LAW for Accounting Profession

  • 0 สัปดาห์
  • จำนวนนักศึกษา 0 คน
  • อาจารย์ผู้สอน 1 คน

ข้อมูลรายวิชา

  • รหัสรายวิชา : BACAC113
  • ชื่อรายวิชา(TH) : กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
  • ชื่อรายวิชา (EN) : LAW for Accounting Profession
  • เทอม / ปีการศึกษา : 2/2561

รายละเอียด

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ copy คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ copy

 

 

 

รายละเอียดของรายวิชา

(มคอ.3)

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

             

              รหัสวิชา    BACAC113  (ห้อง เทียบโอนห้อง2 (2ปี) )

              ชื่อวิชา      กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

                           Law  for  Accounting  Profession

 

 

 

 

 

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

กระทรวงศึกษาธิการ

                                                   

                                                 สารบัญ

                                                                                                          หน้า

หมวดที่ 1        ข้อมูลทั่วไป                                                                  1

หมวดที่ 2        จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์                                                2

หมวดที่ 3        ลักษณะและการดำเนินการ                                                 3

หมวดที่ 4        การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา                                      4

หมวดที่ 5        แผนการสอนและการประเมินผล                                           7    

หมวดที่ 6        ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน                                       12   

หมวดที่ 7        การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา                       13                     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา          เขตพื้นที่ตาก / คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์/ สาขาการบัญชี

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

  • รหัสและชื่อรายวิชา

       BACAC113         กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

                            Law  for  Accounting  Profession

๒. จำนวนหน่วยกิต       

       3 หน่วยกิต         3 (2-2-5)

๓. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

       หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

       หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพบังคับ

๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

       นางจุฑามาศ  พึ่งอ่อน

๕. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน

       ภาคการศึกษาที่  2/2561 ชั้นปีที่  1 เทียบโอนห้อง2  สาขาการบัญชี (2 ปี)

๖. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน  (pre-requisite) 

       -

๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน  (co-requisites) 

       ไม่มี

๘. สถานที่เรียน 

        คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

๙. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

        วันที่  1  มิถุนายน  2560

 

 

 

 

 

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

 

๑.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา

        1.1    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการศึกษากฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ  กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  กฎหมายเกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจด้านนิติบุคคล  พระราชบัญญัติทางหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์การเสนอขายหลักทรัพย์  การกำกับควบคุม  และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบัญชีเช่น  พระราชบัญญัติการบัญชี  พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและวิชาชีพบัญชี

        1.2    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการจัดทำบัญชีและงบการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการพาณิชยกรรม ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการบัญชี และ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2547 และ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กฎหมายทางธุรกิจ  เกี่ยวกับภาษี  กฎหมายเกี่ยวกับการบัญชีและสอบบัญชีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สินทรัพย์ทางปัญญา  การกู้ยืมเงิน เช่าซื้อ การจำนอง การจำนำตามกฏหมายเพื่อทำบัญชีได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายเกี่ยวข้องกับทางการบัญชี

๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

        2.1    เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการจัดทำบัญชี การจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย

             2.2    เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี

3. สมรรถนะรายวิชา

             3.1    นักศึกษาเข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการบัญชี

        3.2    นักศึกษาสามารถบันทึกบัญชีตามขั้นตอนวงจรบัญชี และหลักบัญชีคู่ได้ถูกต้องตามกฏหมายเกี่ยวข้องกับทางการบัญชี

        3.3    นักศึกษาสามารถบันทึกบัญชีได้ถูกต้องตามมาตรฐานทางการบัญชี ตามสภาวิชาชีพทางการบัญชีได้

        3.4    นักศึกษาสามารถสรุปผลการบันทึกบัญชี และออกงบการเงินตามลักษณะกิจการได้ถูกต้องตามพระราชบัญญติการบัญชีที่สภาวิชาชีพการบัญชีกำหนด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

 

๑. คำอธิบายรายวิชา กฏหมายเกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจ

ศึกษากฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ  กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  กฎหมายเกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจด้านนิติบุคคล  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์การเสนอขายหลักทรัพย์  การกำกับควบคุม  และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบัญชีเช่น  พระราชบัญญัติการบัญชี  พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี  เป็นต้น

๒. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

45

ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะรายและข้อตกลงของกลุ่มเรียน

0

6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

๓. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

        นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ  2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๔ การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

การพัฒนาผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง  มีดังต่อไปนี้

๑.  คุณธรรม จริยธรรม

       ๑.๑   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

               1)  มีความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ

               2)  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและสังคม

               3)  สามารถบริหารเวลา ปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม และปฏิบัติตามข้อตกลงการเรียนได้

                4)  มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม

 

       ๑.๒   วิธีการสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียน

               1)  กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด

               2)  บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอน เกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักบัญชี และความสำคัญของการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมยกตัวอย่าง

 

       ๑.๓   วิธีการประเมินผล

               1)  ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษา ให้คะแนน 10%

               2)  สังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย

               3)  ประเมินจากการทุจริตในการสอบ

               4)  ประเมินผลจากการสอบ โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจหลักการจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

 

๒.  ความรู้

        ๒.๑   ความรู้ที่จะได้รับ

               1)  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี

               2)  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีได้อย่างเหมาะสม

               3)  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์

               4)  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

 

       ๒.๒   วิธีการสอน

              1)  การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด กรณีศึกษา ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน

              2)  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารทางการบัญชีจากสื่อต่างๆ ด้วยตนเอง และนำมาบันทึกบัญชีตามกฏหมายเกี่ยวข้องกับการบัญชี รวมทั้ง ถาม-ตอบในชั้นเรียน

 

       ๒.๓   วิธีการประเมินผล

               1)  จากการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา และงานที่มอบหมายให้ทำ 

               2)  การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค

 

              

 

๓.  ทักษะทางปัญญา

             ๓.๑   ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

                   1)  สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง

                   2)  สามารถประยุกต์ ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจสัมพันธ์กับกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี

                   3)  สามารถติดตาม ประเมินผล  และสรุปรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

 

        ๓.๒   วิธีการสอน

                   1)  ทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหาค่อนข้างซับซ้อน

                   2)  การอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาและนำเสนอ

                3)  มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

 

        ๓.๓   วิธีการประเมินผล

                   1)  ผลงานกลุ่ม

                   2)  การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค

 

๔.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

        ๔.๑   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องการพัฒนา

                   1)  สามารถปฏิบติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   2)  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี

                   3)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน

                4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

        ๔.๒   วิธีการสอน

                   1)  มอบหมายให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่ม

                   2)  มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

 

        ๔.๓  วิธีการประเมิน

                   1)  ประเมินผลจากกรณีศึกษา / ผลงานกลุ่ม

                   2)  ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม

 

๕.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

       ๕.๑    ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

              1)  มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง

                        2สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน

               3)  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้

       ๕.๒    วิธีการสอน

                        1)  จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา

              2)  มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน

 

 

 

 

       ๕.๓    วิธีการประเมินผล

               1)  การนำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

               2)  การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล

๑. 

รายวิชา - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

อาจารย์ผู้สอน