รายละเอียด

การบัญชีการเงิน / Financial Accounting

  • 0 สัปดาห์
  • จำนวนนักศึกษา 0 คน
  • อาจารย์ผู้สอน 1 คน

ข้อมูลรายวิชา

  • รหัสรายวิชา : BACAC111
  • ชื่อรายวิชา(TH) : การบัญชีการเงิน
  • ชื่อรายวิชา (EN) : Financial Accounting
  • เทอม / ปีการศึกษา : 1/2561

รายละเอียด

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ copy คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ copy

 

 

 

 

 

รายละเอียดของรายวิชา

(มคอ.3)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการ ห้อง 1/1 (4 ปี)

(หลักสูตรปรับปรุง/ใหม่ พ.ศ. 2560)

 

       รหัสวิชา           BACAC111_SEC_3

       ชื่อวิชา   การบัญชีการเงิน

Financial   Accounting

 

 

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

        หน้า

หมวดที่ 1   ข้อมูลทั่วไป                                                              1

หมวดที่ 2   จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์                                            2-3

หมวดที่ 3   ลักษณะและการดำเนินการ                                           4-5

หมวดที่ 4   การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา                                 5-8

หมวดที่ 5   แผนการสอนและการประเมินผล                                                 8-16

หมวดที่ 6   ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน                                           16

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา                            17                                                                                   

 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                              1                                           

                             รายละเอียดของรายวิชา ( มคอ. 3 )

 

หมวดที่ 1 

ข้อมูลทั่วไป

1.รหัสและชื่อรายวิชา 

รหัสรายวิชา                    

การบัญชีการเงิน

ชื่อรายวิชาภาษาอังกฤษ       Financial   Accounting

2. จำนวนหน่วยกิต     

 3( 2 – 2 – 5 ) 

3. หลักสูตร และประเภทของรายวิชา

3.1   หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ

3.2   ประเภทกลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์จุฑามาศ  พึ่งอ่อน

5. ภาคการศึกษา ชั้นปีที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) 

“ไม่มี”     

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)

ไม่มี

8. สถานที่เรียน

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา ครั้งล่าสุด

1 มิถุนายน 2560

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                           2                                       

หมวดที่ 2 

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

1.  เพื่อให้รู้ความหมายและวัตถุประสงค์ของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี วิวัฒนาการและจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี

2.  เพื่อให้ความรู้ความสำคัญของการบัญชีต่อการประกอบธุรกิจรูปแบบต่าง ๆ ตามมาตรฐานการบัญชี แม่บทการบัญชีและงบการเงิน

3. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์รายการค้า บันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ กระบวนการบันทึกบัญชีตามวงจรการบัญชี การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ และงบการเงิน การปรับปรุงและปิดบัญชี สมุดรายวันเฉพาะ สำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และการตีราคาสินค้าและการบัญชีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้และตั๋วเงิน เจ้าหนี้และตั๋วจ่าย กิจการส่วนของเจ้าของ การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม หลักและวิธีการเกี่ยวกับระบบใบสำคัญ

4.  เพื่อให้รู้และจัดทำการบัญชีส่วนของเจ้าของ สมุดรายวันเฉพาะ การบัญชีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และหลักการวิธีเกี่ยวกับระบบใบสำคัญ รายงานเกี่ยวกับวิชาชีพด้านการบัญชี การนำเสนอผลงานทางธุรกิจด้านตัวเลขงบการเงิน

5. ตระหนักในความสำคัญของการนำวิชาการบัญชีไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                     3                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         

3. สมรรถนะรายวิชา    

นักศึกษาสามารถใช้การบัญชีการเงินในการ

1.  เข้าใจและอธิบายแม่บทการบัญชีได้

2.  อธิบายลักษณะ ความหมาย วัตถุประสงค์ของการบัญชีได้อย่างถูกต้อง

3.  อธิบายสมมติฐานทางการบัญชีได้

4.  อธิบายความสำคัญ ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี

5.  สามารถอธิบายวงจรบัญชี ได้อย่างถูกต้อง

6.  สามารถอธิบายและบันทึกหลักการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันขั้นต้นและผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทสำหรับกิจการให้บริการ ได้อย่างถูกต้อง

7.  สามารถจัดทำกระดาษทำการ ได้อย่างถูกต้อง

8.  สามารถจัดทำงบการเงินของกิจการเจ้าของคนเดียวประเภทให้บริการ ได้อย่างถูกต้อง

9.  สามารถจัดทำบัญชีส่วนของเจ้าของ ได้อย่างถูกต้อง

10.สามารถอธิบายและบันทึกหลักการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันขั้นต้นและผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทสำหรับกิจการซื้อมาขายไป ได้อย่างถูกต้อง

11. สามารถบันทึกการปรับปรุงรายการบัญชี การแก้ไขข้อผิดพลาดและการปิดบัญชีได้อย่างถูกต้อง

12. สามารถจัดทำงบการเงินของกิจการเจ้าของคนเดียวประเภทซื้อมาขายไป ได้อย่างถูกต้อง

13. สามารถจัดทำบัญชีอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง

14. สามารถจัดทำทะเบียนใบสำคัญและทะเบียนจ่ายเช็ค ได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                  

                                                                                   4

หมวดที่ 3

ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา

   ศึกษาความหมายและวัตถุประสงค์ของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี วิวัฒนาการและจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี ความสำคัญของการบัญชีต่อการประกอบธุรกิจรูปแบบต่าง  ๆ  แม่บทการบัญชีและงบการเงิน การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ กระบวนการบันทึกบัญชีตามวงจรการบัญชี การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ปรับปรุงและปิดบัญชีตลอดจนการจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการให้บริการและซื้อขายสินค้า การตรวจนับตีราคาสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ สมุดรายวันเฉพาะ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีลูกหนี้และตั๋วเงิน การบัญชีเจ้าหนี้และตั๋วเงินจ่ายและการบัญชีเงินลงทุนชั่วคราว การบัญชีที่ดิน อาคารและอุปกรณ์การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม  หลักการวิธีการเกี่ยวกับระบบใบสำคัญ

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บั

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

60  ชั่วโมง

 

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย

ไม่มีการฝึกปฏิบัติ

การศึกษาด้วยตนเอง

8  ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

 

                                                                            

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                        5

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4 ห้องหลักสูตร

 

 

หมวดที่ 4

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม

    1. คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังใสการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้

      1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
      2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
    1. วิธีการสอน 
    1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี เช่น จรรยาบรรณของผู้จัดทำบัญชีที่ดี จรรยาบรรณที่ดีของเจ้าของกิจการ เป็นต้น
    2. ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย รวมถึงความ

                                                                                                        6

    1. ซื่อสัตย์ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย

1.3 วิธีการประเมินผล

1.3.1   ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนและการทำแบบฝึกหัดและการส่งการบ้าน

 

2. ความรู้

2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ

2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี

2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดย สามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์

2.1.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

2.2 วิธีการสอน

2.2.1  ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย

2.2.2  การถาม – ตอบปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในห้องเรียน

2.3 วิธีการประเมินผล

2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย

2.3.2 การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ

3. ทักษะทางปัญญา     

3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา

3.1.1  สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจใน

                                                                                  

       การแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการตัดสินใจ

3.2 วิธีการสอน

3.2.1  ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง

3.3 วิธีการประเมินผล

3.3.1  ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 

4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา

4.1.1  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี

4.1.3  มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน

4.1.4  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง

รายวิชา - การบัญชีการเงิน

อาจารย์ผู้สอน