การวัดและการควบคุมสมัยใหม่สำหรับวิศวกร

Modern Measurement and Control for Engineer

1.1 เพื่อศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานวงจรอิเลกทรอนิกส์ การขับกระแสและแรงดันไฟฟ้า การควบคุมกระแสและแรงดันไฟฟ้า การวัดและเครื่องมือวัด ตัวรับรู้ การสอบเทียบ การวิเคราะห์ข้อมูล
1.2 รู้วิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อสื่อสารระหว่างตัวรับรู้กับคอมพิวเตอร์สำหรับแสดงผลและควบคุม
1.3 เพื่อศึกษาและเข้าใจการเชื่อมข้อมูลสู่โลกอินเตอร์เน็ตและวิธีการสื่อสารแบบไร้สาย
1.4 เข้าใจการใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาและการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการคิดอย่างเป็นระบบและขั้นตอน เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเขียนและการใช้งานโปรแกรม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานวงจรอิเลกทรอนิกส์ การขับกระแสและแรงดันไฟฟ้า การควบคุมกระแสและแรงดันไฟฟ้า การวัดและเครื่องมือวัด ตัวรับรู้ การสอบเทียบ การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโปรแกรมเพื่อสื่อสารระหว่างตัวรับรู้กับคอมพิวเตอร์สำหรับแสดงผลและควบคุม การสื่อสารแบบไร้สาย การเชื่อมข้อมูลสู่โลกอินเตอร์เน็ตรวมทั้งการใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
 ตามความต้องการของนักศึกษา 
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม (3.1.4)
1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ(3.1.5)
1.การบันทึกการเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลาในการส่งงาน ตลอดจนการปฏิบัติที่ขัดต่อระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.จัดกิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน
1.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการส่วงงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตของงานและการตรงต่อเวลา เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
1.3.2 ประเมินจากการดต้ตอบถกเถียงและการมีส่วรร่วมในการอภิปราย การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการทำงานกลุ่ม
1.3.3 ประเมินจากการแก้ไขปัญหาที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลที่คำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
2.2.1 มีความรู้และความเข้าใจในทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการ สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.2.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.2.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการคำนวณและการประยุกต์ใช้จริง
2.2.2 มอบหมายงานที่มีลักษณะคล้ายงานที่เกิดขึ้นจริง โดยนำหลักการที่เรียนไปประยุกต์กับงานวิจัย
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการคำนวณและการประยุกต์ใช้จริง
3.2.2 มอบหมายงาน ให้มีการศึกษานอกห้องเรียน ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร เพื่อตรวจสอบกระบวนการคิด-วิเคราะห์
3.3.1 การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3.3.2 ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและ สอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงาน บุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงออก โดยมีการซัก-ถาม อภิปรายโจทก์ปัญหาที่ยกตัวอย่าง
4.2.2 การถาม-ตอบในระหว่างเรียน เพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
4.2.3 มอบหมายงาน ให้มีการศึกษานอกห้องเรียน ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร เป็นงานที่ทำเป็นหมู่คณะ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการอภิปรายกลุ่ม นำเสนอรายงานกลุ่ม และการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่าง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
ให้การบ้านหรือรายงานที่มีการค้นคว้า โดยใช้เทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อค้นหาข้อมูลดังกล่าว
5.3.1 ประเมินจากความสามารถในการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสานสนเทศ หรือคณิคศาสตร์ที่เกี่ยวของกับรายวิชานี้
5.3.2 ประเมินจากความถูกต้องจากการบ้านและรายงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.1 การวัดและเครื่องไฟฟ้า. รศ.ดร. เอก ไชสวัสดิ์ ISBN 974-8324-45-1
1.2 Electronic Instrumentation and Measurement David A. Bell 1930 ISBN 0-13-249954-1
1.3 Instrumentation for Engineering Measurements. JAMES W.DALLY, WILLIAM F.RILEY KENNETH G. McCONNELL 1993 ISBN 0-471-55192-9
1.4 Modem Electronic Instrumentation and Measurement Techniques , ALBERT D. HELFRICK
1.5 Theory and Design for Mechanical Measurements. RICHARD S. FIGLIOLA, DONALD E. BEASLEY. 1991
1.6 Modem Electronic Instrumentation and Measurement Techniques , ALBERT D. HELFRICK WILLIAM D. COOPER. 1990 ISBN 0-13-593385-4
1.7 สมชาย จิตะพันธุ์กุล, ทฤษฎีและตัวอย่างโจทย์ วงจรไฟฟ้า, แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนลเอนเตอร์ไพร์, 1997
1.8 โกศล โอฬารไพโรจน์, ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า 2, สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น),2543
1.9 ชูพันธุ์ รัตนโภคา “ความรู้เบื้องต้นทางปัญญาประดิษฐ์ (Introduction to Artificial Intelligence) เอกสารคำสอนวิชา 030523111”, 1 กรกฎาคม 2559, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1.10 ณัฐพงษ์ วารีประเสริฐ และณรงค์ ล่ าดี “ปัญญาประดิษฐ์ (Atrtificial Intelligence)” พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2552, สำนักพิมพ์ เคทีพี
1.11 บุญเสริม กิจศิริกุล “ปัญหาประดิษฐ์ (Aritificial Intelligence) เอกสารคำสอนวิชา 2110654” เวอร์ชัน 1.0.2, 15 มีนาคม 2548, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.12 VDO สื่อการสอน Youtube : https://www.youtube.com/channel/
UCQY2j4ckNHOl3JUkszpyLyg
 
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ประเมินจากแบบประเมินผู้สอน แบบประเมินรายวิชา และการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ