หุ่นยนต์อุตสาหกรรมพื้นฐาน

Basic Industrial Robot

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม โครงสร้างการทำงาน การเขียนโปรแกรมควบคุม และการประยุกต์ใช้งานจริงผ่านการจำลองสถานการณ์ด้วยซอฟต์แวร์ รวมถึงตระหนักถึงความปลอดภัยและการบำรุงรักษาหุ่นยนต์
เพื่อให้รายวิชามีความทันสมัย สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และเตรียมความพร้อมสู่การประยุกต์ใช้ในระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ (Smart Automation Systems) เพื่อพัฒนาเนื้อหาให้ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ (Experiential Learning) เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะด้านการตั้งค่าระบบหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมควบคุมพื้นฐาน รวมถึงสามารถประเมินความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ร่วมสมัย เช่น โปรแกรมจำลองหุ่นยนต์ (Simulation Software) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดทักษะที่เท่าทันกับอุตสาหกรรม
ศึกษาหลักการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ลักษณะโครงสร้าง การจำแนกการ ใช้งาน การเคลื่อนที่ การแทนตำแหน่งและทิศทางการหมุนของหุ่นยนต์แต่ละ ชนิด เช่น Delta Robots, Cartesian robot, Articulated robot, SCARA Robots เป็นต้น หลักความปลอดภัยและหลักการบำรุงรักษาการใช้งานหุ่นยนต์ อุตสาหกรรม การตั้งค่าพื้นฐานของหุ่นยนต์ (base point-ref point-tools center point) การตั้งค่า (configuration) เครื่องควบคุมหุ่นยนต์ (Controller) การจำลองการใช้ของหุ่นยนต์แต่ละชนิดโดยโปรแกรมจำลอง (simulation software) การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้เคลื่อนที่ ในรูปแบบต่างๆ
5
ความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และงานกลุ่ม เคารพความคิดและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ตระหนักถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์หุ่นยนต์
บรรยายและยกตัวอย่างสถานการณ์จริง สร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนพิจารณาด้านจริยธรรม กำหนดกติกาการทำงานกลุ่มและให้นักศึกษาช่วยกันกำหนดข้อตกลงร่วมกัน
การสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนและขณะทำงานกลุ่ม การประเมินตนเองและประเมินกันเองในกลุ่ม แบบประเมินพฤติกรรมและเจตคติ
หลักการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม โครงสร้างและประเภทของหุ่นยนต์ การตั้งค่าพื้นฐานของระบบหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมพื้นฐาน การประยุกต์ใช้งานซอฟต์แวร์จำลอง
การบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านสื่อมัลติมีเดีย การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
การสอบกลางภาคและปลายภาค แบบฝึกหัด/รายงาน การตอบคำถามและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
การวิเคราะห์ความเหมาะสมในการเลือกใช้หุ่นยนต์แต่ละประเภท การวางแผนและเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ การประเมินปัญหาและหาทางเลือกในการใช้งานหรือบำรุงรักษา
การตั้งคำถามกระตุ้นการคิด (Socratic Questioning) การวิเคราะห์กรณีศึกษา การแก้ปัญหาเชิงสถานการณ์ (Problem-based learning)
การประเมินจากโครงงานเขียนโปรแกรม การนำเสนอผลงานและแนวคิด แบบประเมินการคิดวิเคราะห์จากกิจกรรมกลุ่ม
การทำงานร่วมกับผู้อื่นในโครงงานกลุ่ม การสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
การมอบหมายงานกลุ่ม การจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ การสะท้อนผลการทำงานเป็นกลุ่ม (Group Reflection)
การประเมินจากการทำงานกลุ่ม การประเมินจากเพื่อนร่วมกลุ่ม (Peer Assessment) การประเมินจากอาจารย์ผู้สอนด้วยแบบฟอร์มเฉพาะด้าน
การอ่านและวิเคราะห์พารามิเตอร์ของหุ่นยนต์ การสื่อสารผลการเขียนโปรแกรมหรือวิเคราะห์ปัญหา การใช้ซอฟต์แวร์จำลองและเครื่องมือดิจิทัลในการตั้งค่าระบบหุ่นยนต์
สาธิตการใช้งานซอฟต์แวร์ มอบหมายการบ้านใช้เทคโนโลยีสร้างแบบจำลอง ฝึกการรายงานและนำเสนอด้วยเทคโนโลยี
การประเมินรายงานและงานนำเสนอ การประเมินจากการใช้ซอฟต์แวร์ในการจำลอง แบบทดสอบวิเคราะห์ข้อมูลหรือค่าทางเทคนิค
ทักษะการตั้งค่าหุ่นยนต์ ทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ ทักษะการใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์จำลองการเคลื่อนที่
การฝึกปฏิบัติในห้องทดลอง/ห้องปฏิบัติการ การสอนแบบมีแบบฝึกหัดต่อเนื่อง การสอนผ่านสื่อจำลอง 3D/VR (ถ้ามี)
การประเมินจากการปฏิบัติจริงโดยใช้แบบสังเกต แบบฝึกทักษะและโครงงาน การสาธิตความสามารถเฉพาะรายบุคคล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5
1 ENGEL223 หุ่นยนต์อุตสาหกรรมพื้นฐาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล