การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
Data Communication and Networks
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผลกระทบ การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความพร้อมในการแก้ปัญหาการสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนำความรู้ ความเข้าใจในระบบสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมซอฟต์แวร์หรือสาขาอาชีพอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้ม ด้านเทคโนโลยีเครือข่าย ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เน้น Physical Datalink layer ทฤษฎีเครือข่ายท้องถิ่น เครือข่ายแบบวงกว้าง เครือข่ายแบบเสมือน โปรโตคอล TCP/IPการอ้างแอดเดรสแบบ IP การทำซับเนต การค้นหาเส้นทางแบบต่างๆ การตั้งค่าอุปกรณ์โดยใช้เราท์เตอร์และสวิทช์ชิงในการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมีสายและไร้สาย โดยอาศัยโปรแกรมจำลองสถานการณ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในดูแล จัดการเครือข่ายอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การลักลอบข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการเข้าใช้เครือข่ายโดยมี วัตถุประสงค์ไม่สุจริต การป้องกันตนเอง อภิปรายกลุ่ม
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการของโมเดลTCP/IP (Transportation Control Protocol)และ มาตรฐานระบบเปิด OSI (Open System Interconnection) เห็นความสำคัญ องค์ประกอบ ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น โทโปโลยี(topology) สื่อกลางในการรับส่ง(Medium) และโปรโตคอล(Protocol) ออกแบบไอพี ซับเนต จากโทโปโลยีของเครือข่ายที่กำหนดให้ สร้างแบบจำลองการทำงานของเครือข่ายท้องถิ่น(Local Area Network)จากอุปกรณ์ เชื่อมต่อพื้นฐาน เช่น ฮับ(Hub) กับ เร้าเตอร์(router)เป็นต้น สร้าง VLAN บนสวิทช์เครือข่าย ระดับ 2 (data link layer)เชื่อมต่อกันหลายซับเนต ผ่านเร้าเตอร์หรือ สวิทช์เครือข่ายระดับ3 (Network layer) สามารถคอนฟิกไดนามิคเร้าติ้งโปรโตคอลแบบไดนามิกเช่นRIP(Routing Information Protocol) สามารถขยายเครือข่ายจาก ระดับท้องถิ่นไปยังเครือข่ายวงกว้าง(Wide Area Network)และสร้างServer จำลองโดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น Raspberry Pi
บรรยาย อภิปราย สาธิตการทำงานของระบบเครือข่ายแต่ละลักษณะบนซอฟแวร์แบบจำลองเช่นPacket tracer เป็นต้น กำหนดทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การศึกษาโดยใช้ปัญหา และการจำลองสถานการณ์ด้วยซอฟแวร์แบบจำลอง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการออกแบบและจำลองการทำงานของเครือข่ายด้วยซอฟแวร์แบบจำลอง ตามเงื่อนไขที่กำหนด
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เครือข่าย
การมอบให้นักศึกษาทำใบงานที่ต้องออกแบบซับเนต
3.2.2 สาธิตจากแบบจำลองในปัญหารูปแบบต่างๆ
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการใช้เครือข่ายที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบแต่ละใบงาน ด้วยการลงมือสร้างแบบจำลอง เป็นรายบุคคล โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เครือข่าย
3.3.2 วัดผลจากการทำงานตามแบบจำลองเครือข่าย
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกลุ่มในการใบงานและวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี เครือข่าย หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานภายในและภายนอก
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค CCNA Online สอบปลายภาค สอบปฏิบัติ 2,4,6 8 16 10-14 5% 10% 20% 15% 35% 2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5% 3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10% |