หัวข้อความก้าวล้ำในงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
Advanced Topics in Computer Engineering
1. เพื่อศึกษาและฝึกฝนปฎิบัติ ให้สามารถเห็นคุนค่า และตระหนักถึงความจำเป็น
2. สามารถเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ๆ แบบจำลองเทคนิค เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. สามารถฝึกปฎิบัติด้วยเครื่องมือและเทคนิคที่พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และประยุกต์การใช้งานวิจัยสู่ นวัตกรรมใหม่ๆอย่างมืออาชีพ
2. สามารถเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ๆ แบบจำลองเทคนิค เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. สามารถฝึกปฎิบัติด้วยเครื่องมือและเทคนิคที่พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และประยุกต์การใช้งานวิจัยสู่ นวัตกรรมใหม่ๆอย่างมืออาชีพ
ปรับคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกฝนปฎิบัติ ให้สามารถเห็นคุนค่า และตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ๆ แบบจำลองเทคนิค เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ฝึกปฎิบัติด้วยเครื่องมือและเทคนิคที่พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และประยุกต์การใช้งานวิจัยสู่ นวัตกรรมใหม่ๆอย่างมืออาชีพ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ blog.rmutl.ac.th/natchasit/ , facebook.com
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ตามมาตรฐานความรู้ต่อไปนี้ - มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา - สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการเเละวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ - มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
บรรยายรูปแบบวิธีเขียนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์บนระบบเว็บ อธิบายการทำงานของระบบแม่ข่าย/ลูกข่าย ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด วิเคราะห์และออกแบบระบบเว็บแอพพลิเคชัน โดยสืบค้นเทคนิควิธีการจากเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต
สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฏี การทำแบบฝึกหัด มอบหมายงานพัฒนาระบบเว็บแอพพลิเคชัน
เน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ - คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ - สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่าง ถาม-ตอบ ประยุกต์ใช้วิธีการและคำสั่งในการเขียนโปรแกรม มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ แล้วนำเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเขียนโปรแกรม
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์แนวคิดในการออกแบบโปรแกรม ประยุกต์ใช้คำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ และประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเพื่อการเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต ประเมินจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม
นักศึกษาต้องสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ต แล้วให้มีการนำเสนอผลงาน
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน และความรับผิดชอบ ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ โดยสืบค้นเทคนิคการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันมาประยุกต์ใช้ แล้วนำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า การส่งงานที่มอบหมาย ได้ครบถ้วนตรงตามกำหนด
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ให้ทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ เว็บเบราเซอร์ และเดต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. คุณธรรม จริยธรรม | 2. ความรู้ | 3. ทักษะทางปัญญา | 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ | 5. ทักษะการ วิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 6.ทักษะพิสัย | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 1 | 2 | 2 | 4 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 |
1 | ENGCE207 | หัวข้อความก้าวล้ำในงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 2.1, 3.1, 3.4 | สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค | 9 , 17 | 45% |
2 | 2.1, 3.1, 3.4 และ 2.3, 2.4, 2.7, 3.4, 4.6, 5.1, 6.1 | ทำแบบฝึกหัด รายบุคคล และ นำเสนองานที่มอบหมาย รายกลุ่ม | ตลอดภาคการศึกษา | 45% |
3 | 1.1, 1.2, 1.5 | การเข้าชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
I. Goodfellow, Y. Bengio, and A. Courville, Deep Learning. Cambridge, MA: MIT Press, 2016.
A. Géron, Hands-On Machine Learning with Scikit-Learn, Keras, and TensorFlow, 2nd ed. Sebastopol, CA: O'Reilly Media, 2019.
ธนชาติ นุ่มนนท์, Generative AI เทคโนโลยีเปลี่ยนชีวิต. กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย, 2566.
สุพจน์ เฮงพระพรหม, การเรียนรู้ของเครื่อง MACHINE LEARNING. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2565.
D. Jurafsky and J. H. Martin, Speech and Language Processing, 3rd ed. Draft version, 2023. [Online]. Available: https://web.stanford.edu/~jurafsky/slp3/
CHIP HUYEN, Designing Machine Learning Systems (Thai version). กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย, 2566.
ธรรณพ อารีพรรค, ช่วยลดงาน เพิ่มรายได้ ด้วย GENERATIVE AI ALISA 2.0. กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย, 2566.
R. S. Sutton and A. G. Barto, Reinforcement Learning: An Introduction, 2nd ed. Cambridge, MA: MIT Press, 2018.
วิษณุ ช้างเนียม, โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม + การประยุกต์ใช้ AI. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2566.
Ronald T. Kneusel, AI ทำงานอย่างไร: จากเวทมนตร์สู่วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โปรวิชั่น, 2566.
จัดกิจกรรมในการรวบรวมแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ด้วยวิธีการดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน หรือหัวหน้าหลักสูตร
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน หรือหัวหน้าหลักสูตร
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ