การตลาดเพื่อการออกแบบอุตสาหกรรม
Marketing for Industrial Design
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทางการตลาด ตลอดจนบทบาท หน้าที่ และรูปแบบของการตลาดในบริบทของธุรกิจการออกแบบอุตสาหกรรม โดยเน้นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ การวางกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์การแข่งขัน การวิจัยตลาด จริยธรรมทางการตลาด และการวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ยังไม่มีการปรับปรุง
ศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิดทฤษฎี หน้าที่ ประเภท รูปแบบ และบทบาทของการตลาดในธุรกิจการออกแบบอุตสาหกรรม การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายใน และภายนอก กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด การวิเคราะห์การแข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด การเลือกเป้าหมายและการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การวิจัยการตลาด จริยธรรม การวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์
Study concepts, theories, functions, types, patterns, and roles of marketing in the industrial design business; analyzing internal and external environment; marketing mix strategy; competitive analysis; consumer behavior; market segmentation; target selection and product positioning; marketing research; ethics; strategic business planning.
Study concepts, theories, functions, types, patterns, and roles of marketing in the industrial design business; analyzing internal and external environment; marketing mix strategy; competitive analysis; consumer behavior; market segmentation; target selection and product positioning; marketing research; ethics; strategic business planning.
3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้ 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่าง ๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้ 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่าง ๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดโดย ฝึกการคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากผลปฏิบัติการ
1.3.3 ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจลักษณะทั่วไปของการตลาด
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมทางการตลาด
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค รวมถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อ ( Pain& Gain)
2.1.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับ Business Model Canvas : :BMC ได้
2.1.5 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวทางการตลาดสำหรับธุรกิจ (Adapting Marketing Strategies for Businesses)
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงและสามารถออกแบบการตลาดแบบครบวงจรได้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจลักษณะทั่วไปของการตลาด
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมทางการตลาด
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค รวมถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อ ( Pain& Gain)
2.1.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับ Business Model Canvas : :BMC ได้
2.1.5 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวทางการตลาดสำหรับธุรกิจ (Adapting Marketing Strategies for Businesses)
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงและสามารถออกแบบการตลาดแบบครบวงจรได้
การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม และสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจในอนาคตได้ มอบหมาย Case Study ให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์แนวทางการประกอบธุรกิจการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อออกแบบBMC การลงพื้นที่ชุมชน และการดูงาน ณ สถานประกอบการ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 BMC
2.3.3 งานที่ได้รับมอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ 3.1.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับ BMC ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบของตนเองได้ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ 3.1.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับ BMC ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบของตนเองได้ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เน้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา "รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชามุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรมกลุ่ม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการพัฒนาแนวคิดร่วมกัน โดยบูรณาการการใช้สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ควบคู่กับสื่อเชิงสร้างสรรค์ เช่น บอร์ดเกม การใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชัน (Gamification) และการจัดการเรียนรู้แบบแอคทีฟเลิร์นนิง (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน การคิดวิเคราะห์ และการเรียนรู้อย่างมีความหมายในบริบทที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง
3.3.1 ประเมินจากวิเคราะห์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่เหมาะสม
3.3.2 ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติรายบุคคลท้ายภาคเรียน
3.3.3 ประเมินจากการจัดทำแผนธุรกิจ และความเป็นไปได้ของธุรกิจที่จัดทำ
3.3.4 ประเมินจากการเข้าร่วมและทำกิจกรรมในรายวิชา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน 4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน 4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 การลงมือทำปฏิบัติการรายกลุ่ม
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มในการแก้ไขโจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการ หรือผลงานเดิมของนักศึกษา
4.3.1 ปฏิบัติการรายกลุ่มประเมินจากบันทึกผลปฏิบัติการ รวมถึง พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2 ประเมินจากการบรรลุผลการแก้ไขโจทย์ปัญหา (การนำเสนอผลงาน)
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในขณะจัดการเรียนการสอนด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น การค้นคว้าหาข้อมูลสถิติแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น
5.2.2 ในการสอนภาคทฤษฎีให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ
5.2.3 ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นหาหรือวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค(Analyzing consumer Behavior)
5.3.1 งานที่มอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูล
5.3.2 การนำเสนองานในรูปแบบต่าง ๆ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
การวางแผนการตลาดที่กี คือจะต้องเป็นผู้มองเห็นโอกาสและหาช่องทางทางการค้าได้ตลอดเวลา แม้จะตกอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ต้องเป็นนักเสี่ยง ต้องกล้าได้กล้าเสีย พร้อมที่จะดำเนินการทันทีเมื่อมองเห็นโอกาส เป็นคนมีความคิดริเริ่ม หรือสร้างสรรค์ ในการผลิตสินค้าหรือบริการใหม่ ออกสู่ตลาดที่มีสภาพการแข่งขันสูง ต้องเป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถปรับตัวได้เสมอ เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทำให้ธุรกิจมีทิศทางที่ชัดเจนไม่เดินทางออกนอกลู่นอกทาง สามารถมุ่งไปสู่อนาคตด้วยเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน ต้องมีเครือข่ายดี เพื่อที่จะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านข้อมูล และการได้รับความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะคุณสมบัติและทักษะที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ ดังข้อต่อไปนี้ 6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ 6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 6.1.3 มีความจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
การวางแผนการตลาดที่กี คือจะต้องเป็นผู้มองเห็นโอกาสและหาช่องทางทางการค้าได้ตลอดเวลา แม้จะตกอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ต้องเป็นนักเสี่ยง ต้องกล้าได้กล้าเสีย พร้อมที่จะดำเนินการทันทีเมื่อมองเห็นโอกาส เป็นคนมีความคิดริเริ่ม หรือสร้างสรรค์ ในการผลิตสินค้าหรือบริการใหม่ ออกสู่ตลาดที่มีสภาพการแข่งขันสูง ต้องเป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถปรับตัวได้เสมอ เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทำให้ธุรกิจมีทิศทางที่ชัดเจนไม่เดินทางออกนอกลู่นอกทาง สามารถมุ่งไปสู่อนาคตด้วยเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน ต้องมีเครือข่ายดี เพื่อที่จะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านข้อมูล และการได้รับความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะคุณสมบัติและทักษะที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ ดังข้อต่อไปนี้ 6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ 6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 6.1.3 มีความจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
6.2.1 นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในทุกคาบเรียน
6.2.2 ฝึกให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ ผู้ประกอบการต้นแบบ
6.2.3 นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ธุรกิจใหม่ และวางแผนได้ด้วยตนเอง
6.3.1 ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยมีการทดสอบภาคปฏิบัติรายบุคคลท้ายภาคการศึกษา
6.3.2 ประเมินจากการนำเสนอกระบวนการได้มาซึ่งการแก้ไขโจทย์ปัญหา
6.3.3 ประเมินจากความเป็นไปได้ของการจัดทำแผนธุรกิจ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. คุณธรรมจริยธรรม | 2. ความรู้ | 3. ทักษะทางปัญญา | 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดโดย ฝึกการคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ | รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดโดย ฝึกการคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ เช่น ทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในการพัฒนาธุรกิจ จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experimental Instruction) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ข้อเท็จจริง โดยเชื่อมโยงความอยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน รู้ของผู้เรียนจากประสบการณ์เดิม สู่การค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ หรือแนวคิด ทฤษฎีใหม่ การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม และสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจในอนาคตได้ | 3.2.1 มอบหมาย Case Study ให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์แนวทางการประกอบธุรกิจ 3.2.2 การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อออกแบบธุรกิจStart up และจัดทำเขียนแผนธุรกิจ 3.2.3 การลงพื้นที่ชุมชน และการดูงาน ณ สถานประกอบการ | 4.2.1 การลงมือทำปฏิบัติการรายกลุ่ม 4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มในการแก้ไขโจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการ | 5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในขณะจัดการเรียนการสอนด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น การค้นคว้าหาข้อมูลสถิติแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น 5.2.2 ในการสอนภาคทฤษฎีให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ 5.2.3 ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นหาหรือวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค(Analyzing consumer Behavior) |
1 | BAAID157 | การตลาดเพื่อการออกแบบอุตสาหกรรม |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ด้านความรู้ (ทดสอบภาคทฤษฎี) | สอบกลางภาค สอบปลายภาค | สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 17 | 50 |
2 | ด้านคุณธรรม จริยธรรม (แบบบันทึก) | ความประพฤติ การเข้าชั้นเรียน งานที่มอบหมาย | ทุกสัปดาห์ | 10 |
3 | ด้านทักษะทางปัญญา (BMC) | ฺBMC | สัปดาห์ที่ 16 | 25 |
4 | ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ปฏิบัติ/กิจกรรมกลุ่ม) | สังเกตุการณ์ การทำงานกลุ่มร่วมกันในชั้นเรียน | ทุกสัปดาห์ | 15 |
ALEXANDER OSTERWALDER และคณะผู้แปล : วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา. 2559. วิธีคิดผลิตภัณฑ์อย่างนักสร้างโมเดลธุรกิจ (VAL UE PROPOSITION DESIGN). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 281 หน้า
ดร. กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์,วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. 2554. วิธีเขียนแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท, บจก. 180 หน้า.
วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง, วรมน ดำรงศิลป์สกุล. 2558. Startup Ideas ไม่เริ่มคิดใหม่ ก็เดินได้ไกลเท่าเดิม. สำนักพิมพ์ มติชน : 304 หน้า
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อทบทวนผลการเรียนรู้หลังคาบเรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน โดยประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการนิเทศผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ