วิศวกรรมขนส่ง

Transportation Engineering

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการประเมินระบบการขนส่ง การสร้างแบบจำลองการขนส่ง การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางท่อ การขนส่งทางบก การขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศ และโปรแกรมทางวิศวกรรมขนส่ง หรือนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้
  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการประเมินระบบการขนส่ง การสร้างแบบจำลองการขนส่ง การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางท่อ การขนส่งทางบก การขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศ และโปรแกรมทางวิศวกรรมขนส่ง หรือนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้
ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการประเมินระบบการขนส่ง แบบจำลองการขนส่ง การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางท่อ การขนส่งทางบก การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางอากาศ และโปรแกรมทางวิศวกรรมขนส่ง  แก้ไข
1. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) 2. อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษานอกห้องเรียนผ่านกลุ่ม Facebook: Transportation Engineering RMUTL
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ กล้าแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณทางวิชาการ มีวินัย และมีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรตามข้อบังคับของสภาวิศวกร
1.2.1 กำหนดกติกาของการเข้าชั้นเรียน ซึ่งมีคะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย       1.2.2 ให้มีการทำรายงานเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ และผู้ตาม ยอมรับการฟังความคิดเห็นของผู้อื่น       1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
  1.3.1 ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา       1.3.2 สังเกตการทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ       1.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์พื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบงานทาง       2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจทฤษฎีในงานวิศวกรรมการทาง       2.1.3 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้       2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะที่ได้ศึกษาในการปฏิบัติงานจริงได้
 2.2.1 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎี ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงประกอบการอธิบาย มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด       2.2.2 อธิบาย ยกตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวณออกแบบ มอบหมายให้นักศึกษาทำการบ้าน       2.2.3 ให้มีการทำรายงานโดยให้ทำการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา
 2.3.1 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค       2.3.2 ประเมินจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย       2.3.3 ประเมินจากความสมบูรณ์ของรายงาน การนำเสนองาน
  3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี       3.1.2 สามารถวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหา       3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
      3.2.1 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด       3.2.2 ให้นักศึกษา ค้นคว้าบทความ งานวิจัยในงานทาง เพื่อสามารถเสนอหัวข้อรายงาน
    3.3.1 ประเมินผลจากความถูกต้องของแบบฝึกหัด       3.3.2 ประเมินผลจากความน่าสนใจของหัวข้อรายงาน ความถูกต้อง และการนำไปใช้งานได้จริง
      4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ        4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      4.2.1 อธิบายวิธีการเขียนและนำเสนอรายงาน       4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
      4.3.1 ประเมินผลจากรายงานและการนำเสนอ       4.3.2 สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  แก้ไข
      5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ       5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน
      5.2.1 ยกตัวอย่างการนำเสนอที่มีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม       5.2.2 อธิบายวิธีการจัดทำและนำเสนอรายงาน
      5.3.1 ประเมินจากรูปแบบการนำเสนอรายงาน       5.3.2 ประเมินจากความถูกต้องของรายงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-9 10-17 สอบกลางภาค บทที่ 1-6 สอบปลายภาค บทที่ 7-12 8 17 40% 40%
2 1-17 การนำเสนอรายงาน การอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม 16 10%
3 1.1-1.75 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. สุรเมศวร์ พิริยะวัตน์ (2551). วิศวกรรมขนส่ง. เอกสารประกอบการสอน วิชาวิศวกรรมขนส่ง. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2. วัฒนวงศ์ รัตนวราห (2545). วิศวกรรมขนส่ง. สำนักพิมพ์ ไลบรารี่ นาย พับลิชซิ่ง. 3. พงษ์ศักดิ์  สุริยวนากุล. (2545). เอกสารประกอบการสอน วิชาวิศวกรรมขนส่ง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
1. จิรพัฒน์  โชติกไกร (2531). วิศวกรรมการทาง.  สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. 2. คำนาย อภิปรัชญาสกุล (2551). การจัดการขนส่ง. สำนักพิมพ์ วิชั่นเพรส
1.  เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ 2. Wright, P.H. and Ashford, N.J. (1989), Transportation Engineering: Planning and Design, Third Edition, John Wiley & Sons, New York. 3. Khisty, C.J. and Lall B.K. (1998), Transportation Engineering, Second Edition, Prentice-Hall International, Inc., New Jersey.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านอีเมลหรือเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมใน การระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิในรายหัวข้อ ตามที่ คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบ ผลสัมฤทธ์ิโดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของ นักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนน พฤติกรรม  แก้ไข
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธ์ิประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการ ปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธ์ิตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ