สัมมนาพืชศาสตร์
Seminar in Plant Science
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับการสัมมนาและองค์ประกอบของการสัมมนา
1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสัมมนา การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ การสังเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูล การจัดทำรายงานสัมมนาฉบับสมบูรณ์ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสัมมนาและองค์ประกอบของการสัมมนา นำเสนองานอภิปรายปัญหาและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสัมมนาหรือการประชุมวิชาการ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
3.1 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00 – 17.00 น. อาคารพืชศาสตร์ 1 โทร 09-07539051
3.2 e-mail; janruangsaw@gmail.com, pattama_ja@rmutl.ac.th ทุกวัน
3.1 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00 – 17.00 น. อาคารพืชศาสตร์ 1 โทร 09-07539051
3.2 e-mail; janruangsaw@gmail.com, pattama_ja@rmutl.ac.th ทุกวัน
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ประกอบสื่อ power point (ข้อปฏิบัติในวิชาเรียนสัมมนาฯ เช่น มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของคณาจารย์และเพื่อนสมาชิกที่เข้าร่วมรับฟังสัมมนาฯ ในรายวิชา ฯลฯ)
2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ยกตัวอย่างผลงานทางวิชาการ/บทความวิชาการ เช่น เมื่อนำผลงานผู้อื่นมาใช้อ้างอิงในผลงานของตน จะต้องมีการอ้างอิง เพื่อให้เกียรติเจ้าของผลงานฯ อย่างมีจรรยาบรรณ
3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้ผู้เรียนเสนอหัวข้อสัมมนา การค้นคว้า และกำหนดการส่งผลงานทางวิชาการรายบุคคลและ/หรือกลุ่ม ทั้งผลงานทางวิชาการ และสื่อ power point และร่วมอภิปรายการนำเสนอของเพื่อนสมาชิกในรายวิชาฯ อย่างเคารพและให้เกียรติบุคคล/สถานที่
1. การสังเกต/การบันทึก การเข้าชั้นเรียนของผู้เรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตามกำหนดเวลา
2. การสังเกต/การบันทึก ความพร้อมเพรียง การมีจิตสำนึกสาธารณะ การมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรฯ
3. การสังเกต/การบันทึก การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ความขยัน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ในการทำงานมอบหมายและการจัดการประชุมวิชาการ
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. มีความรอบรู้และสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. มีความรอบรู้และสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปรายประกอบสื่อ power point
- บรรยายด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาทางวิชาการของงานทางสาขาวิชาเกษตรศาสตร์/พืชศาสตร์
- การสืบค้นผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาเกษตรศาสตร์/พืชศาสตร์
2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
- ให้นักศึกษาค้นหาเอกสารงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ฝึกปฏิบัติการอ่านรายงานผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการ และจดบันทึกประเด็นสำคัญ (งานกลุ่ม)
- ฝึกอ่านรายงานปัญหาพิเศษฯ แล้วฝึกสรุปประเด็นหลักๆ ของงานนั้น (งานรายบุคคล)
1. การสังเกต/การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2. คุณภาพงานที่ให้ฝึกปฏิบัติตามสภาพจริง (Power Point และผลงานทางวิชาการ)
1. สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ
2. สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานความรู้ที่เรียน
3. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการแสวงหาเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปรายประกอบสื่อ power point
2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้ผู้เรียนเขียนและเรียบเรียงผลงานทางวิชาการ โดยการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพที่สืบค้นมาจากแหล่งข้อมูลทั้งหนังสือ ตำรา และทางอินเตอร์เน็ตที่เชื่อถือได้
3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้ผู้เรียนได้นำผลงานมานำเสนอประกอบสื่อ power point แล้วให้คณาจารย์และเพื่อนสมาชิกในรายวิชาได้ถาม-ตอบ เพื่อฝึกให้มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสังเกต/ให้ข้อเสนอแนะ
2. งานมอบหมาย (Power Point และเอกสารบทความทางวิชาการ)
3. การนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
1. ภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก อดทน หนักแน่น เสียสละ ให้อภัย รับฟังความคิดของผู้อื่น และการปรับตัว
2. จิตอาสาและสำนึกสาธารณะ มีน้ำใจ ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ต่อส่วนรวม
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย
2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดยการมอบหมายงาน
3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเพื่อนำเสนอผลงานฯ ในชั้นเรียนและเปิดให้อภิปราย ถาม-ตอบ อย่างมีอิสระโดยใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและมีศัพท์เฉพาะภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเพื่อนำเสนอผลงานฯ ในชั้นเรียนและเปิดให้อภิปราย ถาม-ตอบ อย่างมีอิสระโดยใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและมีศัพท์เฉพาะภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
1. ประเมินคุณภาพจากการทำงานกลุ่มและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. สังเกตและติดตามการดำเนินงานแต่ละฝ่ายที่ได้รับหน้าที่มอบหมาย
3. การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ
2. สังเกตและติดตามการดำเนินงานแต่ละฝ่ายที่ได้รับหน้าที่มอบหมาย
3. การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ
1. มีทักษะการสื่อสาร สามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง การพูด และการเขียน เพื่อการสื่อสาร
2. มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสื่อสาร การค้นคว้า และการนำเสนอผลงาน
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปรายในการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าประกอบสื่อ powerpoint
2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ผู้เรียนสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสมในการนำเสนอผลงานฯ
3. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยการมอบหมายงาน การสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งงานผ่านระบบออนไลน์
โดยการมอบหมายงาน การสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งงานผ่านระบบออนไลน์
1. การสังเกต/การบันทึก และติดตามการดำเนินงาน/ความรับผิดชอบแต่ละฝ่ายฯ ในการจัดประชุมวิชาการพืชศาสตร์
2. ประเมินจากงานมอบหมาย (Power Point และเอกสารบทความทางวิชาการ) ตรวจเช็คผลงานและการส่งงานผ่านระบบออนไลน์
3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน โดยวิธีรายงาน/วาจา และ/หรือ Power point
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรม จริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ | 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 1 | 2 |
1 | BSCAG114 | สัมมนาพืชศาสตร์ |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) | 1) ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ การส่งงานตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม 2) ประเมินจากการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 3) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการดับไฟหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกเรียน | ทุกสัปดาห์ | 10 % |
2 | ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) | การฝึกซ้อมการนำเสนอ พิจารณาจากพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงในแง่บวก | ทุกสัปดาห์ | 30 % |
3 | ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) | 1) การนำเสนอจริง 2. การตอบคำถาม | สัปดาห์ที่ 16 | 20 % |
4 | ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) | 1) การนำเสนอจริง 2) ประเมินจากความตั้งใจ การจัดเตรียมงาน ความพร้อมของงาน | สัปดาห์ที่ 16 | 10 % |
5 | ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา | 1) การนำเสนอจริง 2. การใช้สื่อในการนำเสนอ | สัปดาห์ที่ 16 | 30 % |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร. มปป. คู่มือปัญหาพิเศษ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้าน. 46 น.
วารสารภาษาไทย เช่น วารสารวิชาการเกษตร, แก่นเกษตร, วารสารทางการเกษตรและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มก., มช., มข., มอ., มน., มจ., มวล., ม.สุรนารีฯ มจธ., สจล. ฯลฯ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) https://www.nrct.go.th/
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) https://www.nstda.or.th/
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ประเมินโดยสาขาวิชา/หลักสูตร แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา/หลักสูตร
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียน การสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดยการสุ่มรายวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาฯ มีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาและผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินหรือทวนสอบรายวิชาของหลักสูตรฯ และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในรายวิชาดำเนินการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรฯ พิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป