เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

Business Economics

ทราบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ บทบาทและหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจแบบต่างๆ ทราบถึงกลไกและแนวคิดในด้านอุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ทราบทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งทฤษฎีอรรถประโยชน์  และเส้นความพอใจเท่ากัน  ทราบทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ทราบรายรับและกำไรสูงสุดของผู้ผลิต ทราบดุลยภาพของหน่วยผลิตและอุตสาหกรรมทั้งตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ทราบถึงทฤษฎีปัจจัยการผลิต ทราบถึงผลตอบแทนปัจจัยการผลิต   รู้รูปแบบการทำงานของระบบเศรษฐกิจ กลไกและแนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค รู้ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค รู้ความหมายและวิธีการคำนวณรายได้ประประชาชาติ เข้าใจองค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ และการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ เข้าใจอุปสงค์และอุปทานของเงิน สถาบันการเงิน เข้าใจภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด เข้าใจทฤษฎีและนโยบายการเงิน  นโยบายการคลัง นโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศ   เข้าใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคและการพัฒนาเศรษฐกิจ     เข้าใจการเปลี่ยนแปลงพลวัตทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
1. เพื่อเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล 2. เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจที่สามารถนำมาใช้ได้กับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน    2. เพื่อให้เกิดแนวคิดทางด้านวัฒนธรรมของสังคมไทยที่สามารถประยุกต์ต่อยอดกับธุรกิจไทย 3. เพื่อให้เกิดความรู้ทักษะในการปรับตัวทางด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
ศึกษาทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคเพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจทางธุรกิจว่าด้วยอุปสงค์ อุปทาน การกำหนดราคาของตลาด ความยืดหยุ่น พฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิตรายรับ กำไรทางธุรกิจ และกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่าง ๆ รายได้ประชาชาติ การเงินและการธนาคาร นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพลวัตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อดีต อนาคต ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจ
- อาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา แจ้งช่องทางการส่งงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์    ( เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  ตรงต่อเวลา  มีมโนธรรมสามารถแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  ความชั่ว  โดยมีคุณธรรมจริยธรรม  ตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้ มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน  ความเพียรพยายาม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1  ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
มีความรู้ ในทฤษฏีเศรษฐศาสตร์จุลภาค กลไกราคา บทบาทหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจพฤติกรรมผู้ผลิตและผู้บริโภค การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์และแข่งขันไม่สมบูรณ์ ทฤษฎีปัจจัยการผลิต และผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต และมีความรู้ในกลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ในด้านรายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ  องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ  ภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีและนโยบายการเงิน การคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลอดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้  โดยมีความรู้ตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจที่ครอบคลุมในทุกหลักสูตรวิชาที่เลือกเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด  การเงิน  การผลิต  การดำเนินงาน  การจัดองค์การ  ทรัพยากรมนุษย์  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกระบวนการบริหารธุรกิจ  การวางแผน  การควบคุมและการประเมินผล  การดำเนินงาน  การปรับปรุงแผนงาน  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านเศรษฐศาสตร์รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจอย่างเท่าทัน สามารถนำองค์ความรู้จากการเรียนมาประยุกต์กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
2.2.1    จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2    ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3    มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือศึกษากรณีศึกษา  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1    ประเมินผล จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย หรือ ศึกษากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย  และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผู้เรียนสามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียนเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม ตลอดจนถึงมีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์  โดยมีทักษะทางปัญญาตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                
3.1.1    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางจากการเรียนเศรษฐศาสตร์ในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย
3.1.2    สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล ทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3    สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้จากเนื้อหาในบทเรียน และใช้ประสบการณ์จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.1.4    มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่เป็นอยู่
3.2.1    การมอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกทักษะทางด้านการวิเคราะห์ปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
3.2.2    วิเคราะห์กรณีศึกษา  เกี่ยวกับการศึกษากลไกตามแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
3.3.1    ประเมินจากเอกสารรายงาน
3.3.2    ประเมินจากกรณีศึกษา
3.3.3 ประเมินจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถทำงานเป็นกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้  ประสานงานได้   โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                
4.1.1    มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2    มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3    มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
รรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อตอบคำถามในชั้นเรียน
4.2.2    มอบหมายงาน
4.3.1    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ และคำตอบที่ได้รับในห้องเรียน 
4.3.2    สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 
สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งระบบอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค และสามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา  ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการเรียน การทำงานมอบหมายและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี   โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้                
5.1.1     สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติ และ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในทางธุรกิจ
5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5     สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6     ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7     ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1     มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2     ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3     การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย 
การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบต่อการส่งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม (การตอบคำถามร่วมในชั้นเรียน
การทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน การจัดทำรายงานเดียวและการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในชั้นเรียนแบบกลุ่ม 
การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในชั้นเรียน การกำหนดงานกลุ่มและงานรายบุคคล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-12 - การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน -การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย -การส่งงานตามกำหนดเวลา สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน ร้อยละ 20
2 บทที่ 1-12 - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน - การตอบคำถามในชั้นเรียน สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน ร้อยละ 20
3 บทที่ 1-6 การสอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 ร้อยละ 30
4 บทที่ 7-12 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 ร้อยละ 30
หนังสือเศรษฐศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
เอกสารประกอบการสอน และ PowerPoint วิชา  เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ  ผศ.ดร.ธัญวดี สุจริตธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา   เชียงใหม่
 ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์, 2548.              วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค.พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.              วันรักษ์  มิ่งมณีนาคิน.  หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค.พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556. ธนาคารแห่งประเทศไทย. เศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ. 2566
หนังสือพิมพ์วิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจของธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการจัดการ และ เว็บไซด์ข่าวทางธุรกิจ รายการข่าวทางเศรษฐกิจ หรือข่าวเศรษฐกิจ เว็บไซด์ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารโลก ผ่านระบบ online
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้ ตั้งโจทย์/คำถาม ถามนักศึกษาระหว่างในชั้นเรียน และภายหลังจบการบรรยาย การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 ผลการประเมิน
การถามตอบในชั้นเรียน จากกรณีศึกษา หรือเหตุการณ์ สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกภาคการศึกษาา หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีแนวทาง ในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ