เตรียมโครงงานวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

Electric Vehicle Engineering Pre-Project

เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า การนำเสนอโครงงานและการสัมมนาทางวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ ความเข้าใจ การค้นคว้าบทความ งานวิจัย การวิเคราะห์ปัญหา การเขียนเอกสารเสนอโครงงานและการนำเสนอโครงงาน ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีปัจจุบัน  
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม  1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ
1.2.1 การเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.2 การทำงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.3.2 ผลงานจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายถึงหลักการที่สำคัญในทางทฤษฎีและปฏิบัติของรายวิชาการเตรียมโครงงานวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งจะมีการใช้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐาน
2.2.2 มอบหมายงานในชั้นเรียนที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในงานจริงด้วยวิธีที่เหมาะสม
2.3.1 สอบกลางภาคเรียนและสอบปลายภาคเรียน
2.3.2 ผลงานจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 บรรยายถึงหลักการในการแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งจะมีการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ รวมไปถึงการมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.2.2 มอบหมายงานในชั้นเรียนที่มีการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างมีระบบ รวมถึงการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
3.3.1 สอบกลางภาคเรียนและสอบปลายภาคเรียน
3.3.2 ผลงานจากงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2 รู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 มอบหมายงานในชั้นเรียนที่เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ และทำให้รู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย
4.3.1 ผลงานจากงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายงานในชั้นเรียนที่เป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน การสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ การใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.1 ผลงานจากงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานในชั้นเรียนที่เป็นการฝึกทักษะในการบริหารจัดการเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ และมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและความร่วมมือกัน
6.3.1 ผลงานจากงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทาง ปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อ สาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAE012 เตรียมโครงงานวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 2.1.4, 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 3.1.4 สอบกลางภาคเรียน สอบปลายภาคเรียน 8,16 20%,20%
2 1.1.2, 1.1.3, 2.1.3, 2.1.4, 3.1.3, 3.1.4, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3, 6.1.1, 6.1.2 งานมอบหมายในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1.1.1 การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 เอกสารประกอบการสอนวิชาการเตรียมโครงงานวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 1.2 ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่องการดำเนินการวิชาเตรียมโครงงานและวิชาโครงงานระดับปริญญาตรี พ.ศ.2555
ไม่มี
3.1 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
3.2 เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เกี่ยวกับโครงงานวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
ประเมินการสอนของอาจารย์ โดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการเตรียมโครงงานวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำการประเมินออนไลน์
การนำเสนอระดับคะแนนหรือเกรดต่อที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรและกรรมการประจำคณะ
การสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดให้มีการประชุมพิจารณาระดับคะแนนหรือเกรด ในระดับหลักสูตรและระดับคณะ เพื่อกลั่นกรองมาตรฐานระดับคะแนน เมื่อประกาศระดับคะแนนหรือเกรดแล้ว นักศึกษามีสิทธิในการขอตรวจสอบระดับคะแนน หากเห็นว่าผลการประเมินอาจมีความผิดพลาด
ผู้สอนจะประเมินเนื้อหาและวิธีการสอนจากการประเมินของนักศึกษา เพื่อทำการปรับปรุงเนื้อหาในทุก ภาคการศึกษา พร้อมข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป