ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
Accounting Information System
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี การควบคุมภายในที่สำคัญ การจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ และการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ 3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวงจรธุรกิจพื้นฐาน และเลือกสามารถเลือกใช้เอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร 4. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าในเกี่ยวกับแผนภาพทางเดินเอกสาร และหลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ 2. เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและคณะกรรมการบริหารวิชาชีพการบัญชี (การบัญชี)
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การ ควบคุมภายในที่สําคัญ หลักการจัดทําเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทํารายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและ ตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องใน แต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ประจํารายวิชา ประกาศเวลาให้คําปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขา - อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม 1.1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.1.4 มีจิตสํานึกและพฤติกรรมที่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน 1.2.2 ให้ความสําคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 1.2.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทําประโยชน์ให้กับชุมชน 1.2.4 การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษาจากหนังสือ ยุค 5G นักบัญชีดิจิทัล (กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว) เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงผลงานจริงว่าระบบสารสนเทศ ทางการบัญชีในยุคปัจจุบันสําคัญมากกับองค์กร
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาการทํางานทัน ตามกําหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินการกระทําทุจริตในการสอบ 1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนํามาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.1.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการอภิปราย การทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยาย และสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จําลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2.2.2 การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน 2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทํารายงานหรือโครงการ 2.2.4 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม 2.2.5 ใช้กรณีศึกษาจากหนังสือ ยุค 5G นักบัญชีดิจิทัล (กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว) เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงผลงานจริงว่าระบบสารสนเทศ ทางการบัญชีในยุคปัจจุบันสําคัญมากกับองค์กร 2.2.6 นำบอร์ดเกมเข้ามาใช้ในการเรียน
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการ ค้นคว้า และการนําเสนอ 2.3.2 การประเมินจากการสอบข้อเขียนหรือการสอบปฏิบัติ 2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริงหรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ 2.3.4 การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสํารวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนํามาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ 3.1.3 สามารถติดตามประเมินผลและรายงานผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์ จําลอง 3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญาความคิดการวิเคราะห์และ สังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญเปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัดโจทย์ปัญหากรณีศึกษาหรือสถานการณ์จําลองที่ ได้รับมอบหมาย 3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3.3.3 ประเมินจากรายงายผลการศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสารและการนําเสนอหน้าชั้น เรียนรวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพสร้างสรรค์ โดยคํานึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นํา หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทํางานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นําการเป็นสมาชิก กลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 4.2.3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ 4.2.4 นำบอร์ดเกมเข้าใช้ในการเรียน
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 4.3.3 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียนรู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ นําเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเกบ็ รวบรวม ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคํานวณเชิงตัวเลข 5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.2.3 ให้อภิปรายและนําเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนําเสนอในรูปแบบรายงาน 5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นํามาวิเคราะห์และนําเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากรายงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตตร์ 5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนําเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5.3.3 ประเมินจากการสอบข้อเขียน 5.3.4 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนําเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรม จริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1. | 2. | 3. | 1. | 2. | 3. | 4. | 1. | 2. | 3. | 4. | 1. | 2. | 3. | 1. | 2. | 3. |
1 | BACAC134 | ระบบสารสนเทศทางการบัญชี |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1,2,3,4,5 | สอบกลางภาค สอบปลายภาค | 9 และ 17 | 35 35 |
2 | 1,2,3,4,5 | วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนําเสนองาน รายงาน การทํางานกลุ่ม การอ่านและสรุปบทความระบบสารสนเทศทางบัญชี การส่งงานตามที่มอบหมาย | 16 | 10 |
3 | 1,3,4 | การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 1 เรื่อง การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การแต่งกายตามระเบียบ | สุ่มรายสัปดาห์ | 10 |
4 | 1,2,3,4,5 | การนำเสนองาน การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร นำข้อมูลจากการศึกษาสถานประกอบการ/วิสาหกิจ และเขียน Flowchart ทางเดินเอกสาร สืบค้นซอฟต์แวร์ทางการบัญชีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ศึกษารายละเอียดของซอฟต์แวร์ | สุ่มรายสัปดาห์ | 10 |
อุษารัตน์ ธีรธร. 2566. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (ACCOUNTING INFORMATION SYSTEMS). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : บริษัท ดีเอฟ ดิจิตัล พริ้นท์ติ้ง จำกัด กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. 2566. ยุค5G นักบัญชีดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกสารคำสอน วิชา ระบบสารสนเทศทางบัญชี เอกสารคำสอน วิชา ระบบสารสนเทศทางบัญชี ตามหลักสูตรการบัญชีบัณฑิต. กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว (ปรับปรุง ๒๕๖๒). ระบบสารสนเทศทางบัญชี. ตาก:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก. ๕๘๗ หน้า Romney, B. Marshall (2020). Accounting Information Systems, Global Edition. Pearson Higher 15Ed เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สภาวิชาชีพการบัญชี : www.fap.or.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.dbd.go.th ACCA: www.accaglobal.com
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ