ออกแบบหัตถกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

Contemporary Craft Design

ศึกษาและฝึกปฏิบัติออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คำนึงถึงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ ศึกษาและฝึกวิเคราะห์สังเคราะห์ถึงวัสดุรูปทรง ความงามและประโยชน์ใช้สอยในการนำมาออกแบบ ศึกษาและฝึกวิเคราะห์สังเคราะห์การผสมผสานเทคนิคและกรรมวิธีผลิตออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบประยุกต์สร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าในผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างเหมาะสม
เพื่อปรับปรุงเนื้อ หาศึกษาฝึกปฏิบัติการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในหัตถกรรม ประเภทต่างๆ โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์ เกิดองค์ความรู้การผสมผสานเทคนิคและกรรมวิธีผลิต เพื่อประยุกต์อัตลักษณ์ท้องถิ่นให้เกิดคุณค่าในผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างเหมาะสม
ศึกษาฝึกปฏิบัติการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในหัตถกรรมประเภทต่าง ๆ โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์ เกิดองค์ความรู้การผสมผสานเทคนิคและกรรมวิธีผลิต เพื่อประยุกต์อัตลักษณ์ท้องถิ่นให้เกิดคุณค่าในผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมสมัยใหม่ อย่างเหมาะสม
Study and practice designing different types of creative industrial crafts by analyzing and synthesizing to create explicit knowledge in combining techniques and manufacturing processes and appropriately apply local identity to create value for modern industrial craft products.
อาจารย์ผู้สอน ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line, Facebook หรือ ทาง Email ของผู้สอน อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามความต้องการ 3 ชั่งโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1  ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2  มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
1.2.1 แจ้งข้อปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
1.2.2 การส่งแบบฝึกหัด การบ้าน และงานที่มอบหมายให้ตรงเวลา
1.3.1 ตรวจสอบและบันทึกพฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.3 ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา
2.1.1  รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
2.1.3  มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.1 บรรยาย ยกตัวอย่าง และปฏิบัติงาน ให้มีการค้นคว้า ศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลา ใช้การเรียนการ
2.1.2 แบ่งกลุ่มย่อยศึกษาดูงานจากสถานที่ประกอบการหรือแหล่งผลิตจริง
2.3.1 ประเมินจากการคิด วิเคราะห์ และการเลือกรูปแบบในการนำเสนองาน
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค (Project)
2.3.3 ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน
3.1.1  สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
3.1.2  สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.1.4  มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1 บรรยาย และมอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติงาน โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานผ่านทักษะกระบวนการทางการปฏิบัติออกแบบ
3.2.2 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติผ่านารเรียนการสอนเชิงปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม
3.3.1 ประเมินผลงาน แนวคิดในการประยุกต์ใช้ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานผ่านทักษะกระบวนการทางการปฏิบัติ
3.3.2 สอบกลางภาค ปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิด
3.3.3. วัดผลจากการประเมินชิ้นงานทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
4.1.1 มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2  มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1 บรรยาย-ถามตอบ ปลูกฝังการเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น และยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
4.2.2 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล ในงานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 มอบหมายรายงานกลุ่มและรายบุคคล การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการถาม-ตอบ
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตัวเอง
4.3.4 ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1.1  สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3  มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง จากสื่อการสอนประเภทต่างๆ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
5.2.2 มอบหมายงานภาคปฏิบัติ ทอดลองเขียนให้ดูเป็นตัวอย่าง
5.2.3 นำเสนอโดยผ่านสื่อ ตัวอย่างผลงานการออกแบบ
5.3.1 ประเมินจากผลการสอบภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
5.3.2 ประเมินจากความถูกต้อง การอธิบาย และการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินจากการวิเคราะห์ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
6.1.1  มีทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
6.2.1 สอนแนวคิด กระบวนการ หลักการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
6.2.2 กำหนดโจทย์การปฏิบัติงาน โดยเน้นฝึกปฏิบัติงานออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
6.2.3 ฝึกฝนเทคนิควิธีการ ทักษะต่างๆ เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการออกแบบและเขียนแบบ ในการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
6.2.4 พัฒนาทักษะในการนำเสนอ และสร้างสรรค์ผลงานออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
6.3.1 ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายและประมวลผลการปฏิบัติงานออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
6.3.2 ประเมินผลจากหลักการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ถูกต้อง
6.3.3 ประเมินผลจากการสร้างสรรค์ คุณภาพของผลงานและภาพรวมการปฏิบัติงานออกแบบหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3 6.1
1 BAAID167 ออกแบบหัตถกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3. ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ความรู้ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่ความเข้าใจกระบวนการออกแบบ 2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกิจกรรมถาม-ตอบ สมาชิกในห้อง 3. ประเมินจากการงานในชั่วโมงที่ให้ฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนกระบวนการคิดและแก้ไขปัญหา 9 17 15% 15%
3 ทักษะทางปัญญา 1. ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์ 2. สอบกลางภาคและปลายภาค 3. วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ 4. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 2. ประเมินจากผลงานที่มอบหมายให้ 3. ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 ทักษะการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้ และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 ทักษะพิสัย 1. ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์ 2. สอบกลางภาคและปลายภาค 3. วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ ความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ 4. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง ตลอดภาคการศึกษา 40%
นิรัช สุดสังข์. (2563). ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์. นันทพร ไพรเวศ, อภิสักก์ สินธุภัค และธเนศ ภิรมย์การ. (2562). ศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญ. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(2), 62-78 ปานฉัตร อินทร์คง. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบ และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: อันลิมิต พริ้นติ้ง จำกัด. วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้า พริ้นท์ติ้ง กรุ๊ป จำกัด. ศิริวัฒน์ แสนเสริม. (2547). มิติทางวัฒนธรรมกับการออกแบบ. รวมบทความวิชาการและบทความวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมบัติ กุสุมาวลี. (2558). อุตสาหกรรมสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2560). หลักการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาชัญ นักสอน. (2558). ศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา
เวปไซด์ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดั้งนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน โดยแต่งตั้งกรรมการประเมินของหลักสูตรและคณะ
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
หลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมิน ประสิทธิภาพของรายวิชา นอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับฝึกอบรมกลยุทธ์พัฒนาการเรียนการสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของหลักสูตรและคณะ การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัยสม่ำเสมอ
5.2 ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้สอดคล้องกับผู้เรียนศตวรรษที่ 21
เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณาความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอหลักสูตร/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป