การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการตลาด

Food Product Development and Marketing

อธิบายความสำคัญและเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารได้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในอุตสาหกรรมอาหาร สามารถวิเคราะห์การตลาดของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่นและอุตสาหกรรมได้ ตลอดจนการวางแผนการตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
มีการนำโจทย์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นแนวคิดเริ่มต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสำคัญและเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค การพัฒนาแนวคิดและการคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบและข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและกระบวนการ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส การวางแผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
-   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในคาบแรกของการจัดการเรียนการสอน  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 เน้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และแต่งกายให้ตรงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฯ 1.2.2 เน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบโดยในการเน้นการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.2.3 เน้นกิจกรรมในห้องเรียนและมอบหมายงานให้นักศึกษา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการโดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการลอกผลงานของผู้อื่น และมีการอ้างอิงที่มาที่สามารถตรวจสอบได้
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย 1.3.2 ประเมินจากการทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย และกิจกรรมในห้องเรียน โดยมีการกระจายงานอย่างเหมาะสม และการทำงานเป็นทีม 1.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาได้รับว่ามีการอ้างอิงที่มาอย่างถูกต้อง
1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น Practice Based Learning และ Problem Based Learningโดยฝึกให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทางทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดในระดับอุตสาหกรรมอาหารอย่างแท้จริง
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   บันทึกผลปฏิบัติการในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด 2.3.3   รายงานที่ได้รับมอบหมาย
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด โดยเน้นให้นักศึกษา คิดและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยสามารถวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองและกลุ่มอย่างมีระบบ 3.2.2  ฝึกให้นักศึกษาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ครอบคลุมตามกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
3.3.1   ประเมินจากการข้อมูลที่ได้มีการสืบค้น ผลการแก้ไขโจทย์ปัญหา และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรมอาหารที่ตอบโจทย์ปัญหา (การนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ และรายงาน) 3.3.2   ประเมินจากการปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างภาคเรียน
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณาเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   การลงมือทำปฏิบัติการรายกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มให้ชัดเจนและเข้าถึง   4.2.2   มอบหมายงานกลุ่มในการแก้ไขโจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการหรือจากกรณีศึกษาที่มาจากงานวิจัย หรือข้อมูลในอุตสาหกรรมอาหาร 4.2.3      มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการปฏิบัติการ เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.3.1  ประเมินจากการลงมือปฏิบัติการในงานที่ได้รับมอบหมาย รวมถึง พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมกลุ่ม 4.3.2   ประเมินจากการบรรลุผลการแก้ไขโจทย์ปัญหา (การนำเสนอผลงาน) 4.3.3      ให้นักศึกษาประเมินความสัมพันธ์สมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มีการนำเทคนิคการสืบค้น เพื่อทำรายงานและหาแหล่งข้อมูลในทางที่แม่นยำและถูกต้อง 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.3.1      ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2      ประเมินจากการสุ่มหาเอกสารอ้างอิงจากการที่ผู้เรียนทำรายงานมาส่งได้ 5.3.3      ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีความทักษะในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
จัดให้กิจกรรมที่มีการบูรณาการความรู้และการค้นคว้าข้อมูล ในประเด็นที่ต้องการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอาหาร จัดการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการจัดการ เน้นทฤษฎีและการปฏิบัตรกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
ประเมินจากคุณภาพของผลงานของนักศึกษา และการทำข้อสอบหรือแบบทดสอบ พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.2 3.3 3.4 3.5 3.1 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5
1 ENGFI132 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงานตามที่มอบหมาย ก่อน กลางภาค/หลังกลางภาค 5%
2 ด้านความรู้ - ทดสอบย่อย - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค ก่อน กลางภาค กลางภาค หลัง กลางภาค ปลายภาค 50%
3 ด้านทักษะทางปัญญา กิจกรรมกลุ่ม (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่) ก่อน กลางภาค/หลัง กลางภาค 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รายงานแผนการทำธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ การนำเสนอผลงาน ก่อน กลางภาค/หลัง กลางภาค 10%
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานกลุ่ม (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และเอกสารการนำเสนอ) ก่อนกลางภาค และหลังกลางภาค 10%
6 ด้านทักษะพิสัย ทักษะการปฏิบัติ ก่อน กลางภาค/หลัง กลางภาค 5%
เอกสารประกอบการสอน
-
-
 การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อทบทวนผลการเรียนรู้หลังคาบเรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1   การสังเกตการสอนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือผู้สอนร่วม โดยประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการนิเทศผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ