ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 1

Interior Architectural Design 1

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมภายในอาคาร ประเภทที่พักอาศัยขนาดเล็ก (ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร) กระบวนการออกแบบและรวบรวมข้อมูล หลักการและองค์ประกอบในการออกแบบหน้าที่ใช้สอย เรียนรู้อุปกรณ์ประกอบอาคารและรูปแบบสถาปัตยกรรมภายในเพื่อความเหมาะสมและความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายในสู่พื้นที่ภายนอก
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมภายในอาคาร ประเภทที่พักอาศัยขนาดเล็ก (ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร) กระบวนการออกแบบและรวบรวมข้อมูล หลักการและองค์ประกอบในการออกแบบหน้าที่ใช้สอย เรียนรู้อุปกรณ์ประกอบอาคารและรูปแบบสถาปัตยกรรมภายในเพื่อความเหมาะสมและความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายในสู่พื้นที่ภายนอก
 -  อาจารย์ประจำวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียน จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยระบุเวลาไว้ในตารางสอน ประกาศหน้าห้องเรียน โดยแจ้งนักศึกษาในชั่วโมงแรกของสัปดาห์
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา  2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน โดยมุ่งเน้นทั้งหลักสูตรทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  2. งานที่ได้รับมอบหมาย ในชั้นเรียนรวมถึง Project ในรายวิชา
1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านวิชาชีพ  2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานการปฏิบัติของนักศึกษา
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
 
1.  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 2.  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 3.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
1.  ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2.  ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
สร้างกิจกรรม Active Learning /Flipped Classroom ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูลและนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ในการนำเสนอผลงาน
 
1 มีทักษะในการทำตามแผนและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอนด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ความรู้ 2 ทักษะ 3 จริยธรรม 4 ลักษณะบุคคล
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 BARIA101 ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมและจริยธรรม 1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2 มีการเขียนแบบตรงตามมาตรฐานงานสถาปัตยกรรมภายใน 3 มีการประเมินผลจากผลงานที่นักศึกษาได้นำมาส่งในแต่ละสัปดาห์ 4 ประเมินผลการนำเสนอโครงการที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5
2 ความรู้ 1 สอบกลางภาค 2 สอบปลายภาค - วิธีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน - วิธีการสรุปและนำเสนอรายงาน สัปดาห์สอบตามกำหนด 15
3 ทักษะทางปัญญา 1 ประเมินผลจากรายงานและการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และ จากผลงานการออกแบบที่ได้มอบหมายให้ในแต่ละสัปดาห์ 2 ประเมินผลจากการนำเสนอ Project design ปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 35
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ พฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 5
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารนเทศ ประเมินจากรายงานและการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5
6 ทักษะพิสัย ปฏิบัติงานโดยใช้เครื่องมือในการออกแบบและ ใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ ตลอดภาคการศึกษา 35
- INTERIOR DESIGN  ILLUSTRATED Francis D.K. Ching , Van nostrand reinhold : New york. - Design your dream home: Interior design ideas for house and home makeovers Infinite Ideas, Lizzie O'Prey : London. - การออกแบบเครื่องเรือน สาคร  สนธโชติ , สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ. - DESIGNING  FURNITURE Laura  Tringali , The Taunton Press , Inc Connecticut. - เขียนแบบช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม อินทิรา  ศตสุข , สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) : กรุงเทพฯ - การออกแบบเครื่องเรือนสมัยใหม่ ร.ศ. วิรัตน์  พิชญไพบูลย์ , สำนักพิมพ์จุฬาฯ : กรุงเทพฯ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์ของผู้สอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ