วิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering

รายวิชานี้มุ่งเน้นให้นักศึกษาพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง ๆ โดยสามารถแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่วัดผลได้ ดังนี้:
1. อธิบาย แนวคิด หลักการ และกระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบระบบ พัฒนา ทดสอบ ติดตั้ง และบำรุงรักษา ได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ
2. วิเคราะห์ และ ประเมิน วิธีการบริหารโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ในบริบทต่าง ๆ รวมถึงการวางแผน ติดตาม และควบคุมคุณภาพของงานพัฒนา
3. ประยุกต์ใช้ เครื่องมือทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์บริหารโครงการ เครื่องมือควบคุมเวอร์ชัน และเครื่องมือประเมินต้นทุน ในการวางแผนและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
4. พัฒนา ซอฟต์แวร์ต้นแบบตามข้อกำหนดของผู้ใช้ พร้อมทั้ง จัดทำเอกสารประกอบ อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
5. แสดงออก ถึงความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบ การบริหารเวลา และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมโครงงานกลุ่ม
6. แสดงเจตคติที่เหมาะสม ได้แก่ ความใส่ใจในคุณภาพ ความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพ และความเชื่อมั่นในตนเองต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในบริบทของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ โดยเพิ่มเนื้อหาส่วนการปฏิบัติการ กิจกรรมกลุ่ม และใบงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีในการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้สากล โดยการใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการสืบค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ในบริบทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3. พัฒนาแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเสริมกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) และการเรียนรู้ผ่านโครงงานจริง (Project-based learning)
4. เชื่อมโยงผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ชัดเจน และสามารถประเมินผลได้ตามระดับของ Bloom’s Taxonomy
ศึกษาหลักการ แนวคิด และกระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบระบบ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การทดสอบ การติดตั้งใช้งาน และการบำรุงรักษา รวมถึงกระบวนการจัดการโครงการซอฟต์แวร์ เช่น การวางแผน การควบคุมคุณภาพ และการบริหารความเสี่ยง การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เช่น เครื่องมือจัดการเวอร์ชัน เครื่องมือออกแบบ และเครื่องมือประเมินโครงการ ฝึกปฏิบัติผ่านการพัฒนาโครงงานกลุ่ม เสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม การสื่อสารอย่างมืออาชีพ และจริยธรรมในวิชาชีพ
3.1 วันพุธ 15.00 -16.00 น. ห้อง ABL202 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
3.2 E-mail; kanithahomjun@gmail.com และ atigorn_sa@rmutl.ac.th เวลา 19.00 - 21.00 น. ทุกวัน
3.3 เข้าชั้นเรียนได้ที่ Team code = tdx4iys หรือ https://bit.ly/2Y4xYc1
1. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการพัฒนาและจัดทำเอกสารซอฟต์แวร์ โดยไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น และไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบ
2. แสดงความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ส่งงานตรงเวลา และปฏิบัติหน้าที่ของตนในโครงงานอย่างเหมาะสม
3. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกับทีมได้อย่างมีจรรยาบรรณ ได้แก่ ไม่แทรกโค้ดที่เป็นอันตราย ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
4. ตระหนักถึงผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และจริยธรรมที่อาจเกิดจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ และสามารถใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเชิงวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม
1.  บรรยายและอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์อย่างครบถ้วน
2. นำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงกระบวนการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์
3. จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันและเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง
4. ใช้แบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดออนไลน์ เพื่อทบทวนความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และมาตรฐานวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์
 
1. การประเมินในกระบวนการของวิศวกรรมซอฟต์แวร์อย่างครบถ้วน

เกณฑ์ประเมิน 5 - ดีเยี่ยม 4 - ดีมาก 3 - ดี 2 - พอใช้ 1 - ต้องปรับปรุง 1. คุณภาพงานพัฒนาและเอกสารซอฟต์แวร์ โค้ดมีคุณภาพสูงมาก มีการออกแบบครบถ้วน เอกสารสมบูรณ์ ถูกต้องและชัดเจน โค้ดคุณภาพดี มีการออกแบบครบถ้วน เอกสารชัดเจน โค้ดและเอกสารมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย เอกสารค่อนข้างสมบูรณ์ โค้ดและเอกสารมีข้อผิดพลาดหลายจุด เอกสารไม่ครบถ้วน โค้ดและเอกสารผิดพลาดมาก เอกสารไม่สมบูรณ์หรือไม่มีเอกสาร 2. ความรับผิดชอบและการทำงานร่วมทีม รับผิดชอบงานเต็มที่ ร่วมมือดีมาก เคารพความเห็นผู้อื่น รับผิดชอบงานดี ร่วมมือดี เคารพความคิดเห็น รับผิดชอบงานพอใช้ ร่วมมือได้ดี รับผิดชอบงานบางส่วน มีปัญหาการร่วมมือ ขาดความรับผิดชอบ ไม่ร่วมมือ หรือมีปัญหาขัดแย้งในทีม 3. การใช้จริยธรรมในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่ลอกโค้ด เคารพลิขสิทธิ์และความลับ ปฏิบัติตามจริยธรรมดี มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย ปฏิบัติตามจริยธรรมได้ในระดับทั่วไป มีข้อบกพร่องด้านจริยธรรม เช่น ลอกโค้ดบางส่วน ไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม มีการลอกโค้ดหรือกระทำผิดชัดเจน 4. การใช้วิจารณญาณเชิงวิชาชีพ ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและจริยธรรม รับมือสถานการณ์ซับซ้อนได้ดี ตัดสินใจได้ดี มีเหตุผลและจริยธรรมในระดับมาก ตัดสินใจโดยทั่วไปดีแต่บางครั้งขาดความรอบคอบ การตัดสินใจขาดเหตุผลหรือจริยธรรมบ่อยครั้ง ขาดวิจารณญาณ ตัดสินใจผิดพลาด ส่งผลเสียต่อโครงการหรือทีม

 
2. การประเมินในการนำเสนอและการจัดกิจกรรมกลุ่ม

เกณฑ์ประเมิน 5 - ดีเยี่ยม 4 - ดีมาก 3 - ดี 2 - พอใช้ 1 - ต้องปรับปรุง 1. ความรู้ความเข้าใจเนื้อหา เข้าใจลึกซึ้ง ทั้งปัญหาและกระบวนการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ นำเสนอครบถ้วนชัดเจน เข้าใจดี และอธิบายกระบวนการควบคุมคุณภาพได้ชัดเจน เข้าใจภาพรวมและปัญหาได้ดี มีรายละเอียดบางส่วนขาด ความเข้าใจและการอธิบายยังไม่ครบถ้วน ไม่เข้าใจเนื้อหาหลัก และนำเสนอไม่ชัดเจน 2. การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัญหาได้ลึกและรอบด้าน เสนอแนวทางแก้ไขได้เหมาะสมและสร้างสรรค์ วิเคราะห์ปัญหาได้ดี เสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม วิเคราะห์ปัญหาได้ในระดับทั่วไป เสนอแนวทางแก้ไขบางส่วน วิเคราะห์และเสนอแนวทางยังไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจน ไม่มีการวิเคราะห์หรือเสนอแนวทางแก้ไข 3. ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ นำเสนอชัดเจน กระชับ มีการใช้สื่อช่วยเสริมอย่างเหมาะสม สามารถตอบคำถามได้ดี นำเสนอชัดเจน ใช้สื่อช่วย เสียงดัง ฟังเข้าใจ นำเสนอได้ในระดับปานกลาง มีบางช่วงไม่ชัดเจน การนำเสนอยังไม่เป็นระบบ ฟังยากหรือขาดสื่อช่วย นำเสนอไม่ชัดเจน ฟังยาก ไม่มีสื่อช่วย 4. การทำงานร่วมทีมและความรับผิดชอบ ทำงานร่วมกับทีมอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งงานกันชัดเจน มีความรับผิดชอบสูง ทำงานร่วมกับทีมดี แบ่งงานชัดเจน ทำงานร่วมกับทีมได้พอใช้ แต่ยังขาดความรับผิดชอบบางส่วน ทำงานร่วมทีมไม่เต็มที่ มีปัญหาการแบ่งงาน ขาดความรับผิดชอบ ไม่ร่วมมือกับทีม

 
1. มีความรู้และความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติที่สำคัญของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เช่น กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ การออกแบบระบบ และการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์อย่างครบถ้วน
2. สามารถวิเคราะห์และระบุปัญหาในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้งเข้าใจความต้องการและข้อกำหนดของระบบซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องและชัดเจน
3. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในการออกแบบ พัฒนา ทดสอบ ติดตาม และประเมินระบบซอฟต์แวร์และองค์ประกอบต่างๆ ได้ตามมาตรฐานและข้อกำหนด
4. เข้าใจผลกระทบทางสังคม จริยธรรม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งสามารถใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเชิงวิชาชีพ
5.  แก้ไขปัญหาและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์กับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 
     5.1 วิทยาการคอมพิวเตอร์
     5.2 การบริหารโครงการ
     5.3 การจัดการคุณภาพ
     5.4 จริยธรรมและกฎหมายคอมพิวเตอร์
การบรรยายและใช้การเรีย นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาสถาปัตย กรรมคอมพิวเตอร์  การศึกษาที่เน้นค้นคว้าด้วย ตนเองจากสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ
การทดสอบย่อย ในรูปแบบข้อสอบอัตนัยและปรนัย  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภา คเรียน  การสังเกตพฤติกรรมและประเมินคว ามเข้าใจในเนื้อหาของนักศึกษาจาก การถาม- ตอบของนักศึกษาในชั้นเรียน
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นร ะบบ 3.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสาร สนเทศเพื่อให้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้ างสรรค์ 3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้อง การ 3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับ การแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่ างเหมาะสม
การมอบหมายงานหรือกรณี ศึกษาที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา  การศึกษาค้นคว้าการเขียนร ายงานและการนำเสนอผลง าน  การสอนแบบตั้งคำถาม  แก้ไข
 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวย ความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถาณก ารณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบ  การมอบหมายงานกลุ่มที่กำ หนดกรณีศึกษาให้นักศึกษา ต้องทำการวิเคราะห์ร่วมกัน  การมอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล   การประเมินจากโครงงานกลุ่มที่นำเส นอ  การประเมินจากการแบ่งงาน ความรับผิดชอบ ภายในกลุ่ม  9 มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา  ทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสัง คมในประเด็นที่เหมาะสม 4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของต นเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในกา รแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วน รวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้ งของตนเองและของกลุ่ม 4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียน รู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
การมอบหมายงานกลุ่มที่กำ หนดกรณีศึกษาให้นักศึกษา ต้องทำการวิเคราะห์ร่วมกัน  การมอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล
การประเมินจากโครงงานกลุ่มที่นำเส นอ  การประเมินจากการแบ่งงาน ความรับผิดชอบ ภายในกลุ่ม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มี อยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ 5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญ หาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ห รือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เ  การสอนที่ส่งเสริมให้นักศึก ษาตัดสินใจบนข้อมูลเชิงตัวเ ลข  การสอนโดยการนำเสนอข้อ มูลทางอินเตอร์เน็ต  การแนะนำเทคนิคการสืบค้ นข้อมูล โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกั บเนื้องหาในแต่ละบทเรียน  การประเมินจากรายงานและรูปแบบ การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  การประเมินจากการมีส่วนร่วมในกา รอภิปรายและวิธีการอภิปราย  10 มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา  กี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้ง ปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบ บของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ อหรืออย่างเหมาะสม
การสอนที่ส่งเสริมให้นักศึก ษาตัดสินใจบนข้อมูลเชิงตัวเ ลข  การสอนโดยการนำเสนอข้อ มูลทางอินเตอร์เน็ต  การแนะนำเทคนิคการสืบค้ นข้อมูล โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกั บเนื้องหาในแต่ละบทเรียน  การประเมินจากรายงานและรูปแบบ การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  การประเมินจากการมีส่วนร่วมในกา รอภิปรายและวิธีการอภิปราย  10 มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา  กี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้ง ปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบ บของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ อหรืออย่างเหมาะสม  การมอบหมายงานด้วยการ สืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยใช้ศักยภาพทางคอมพิวเ ตอร์  การนำเสนองานด้วยวิธีวาจ า
การประเมินจากรายงานและรูปแบบ การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  การประเมินจากการมีส่วนร่วมในกา รอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 2 3 4 5 6 7 8 1 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCS304 วิศวกรรมซอฟต์แวร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 6. ทักษะปฏิบัติ การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10%
2 2.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการทำแบบฝึกหัด ทุกสัปดาห์ 10%
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะปฏิบัติ การทดสอบย่อย ภาคทฤษฎี การทดสอบย่อย ภาคปฏิบัติ 4, 7, 10, 13 20%
4 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา การสอบกลางภาค 8 20%
5 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองาน/การรายงาน 14 20%
6 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสอบปลายภาค 16 20%
1) หนังสือบังคับ     1.1.ISO/IEC. (2020). ISO/IEC 29110-4-1: Systems and software engineering — Lifecycle profiles for Very Small Entities (VSEs) — Management and engineering guide: Basic profile. International Organization for Standardization
   1.2 ธนาวัฒน์ ศิริวรางกูร. (2565). วิศวกรรมซอฟต์แวร์: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2) หนังสือเพิ่มเติม     2.1 ThaiDev.org. (2566). คู่มือ Domain-Driven Design ฉบับนักพัฒนาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ThaiDev.
   2.2 Robert C. Martin. (2564). เขียนโค้ดให้ดี: Clean Code ฉบับภาษาไทย (วีรพงศ์ พลนิกรกิจ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. (ต้นฉบับพิมพ์ครั้งแรกในปี 2008)
   2.3  IEEE Computer Society. (2021). SWEBOK: Guide to the software engineering body of knowledge (Version 3.0). IEEE Press.
   2.4  ISO/IEC. (2020). ISO/IEC 29110-4-1: Systems and software engineering — Lifecycle profiles for Very Small Entities (VSEs) — Management and engineering guide: Basic profile. International Organization for Standardization
เว็บไซด์ต่างๆ โดยใช้ คำสำคัญ “วิศวกรรมซอฟต์แวร์” และคำสำคัญประจำบท ตามเนื้อหาของแต่ละบท เพื่อใช้ในการค้นหา
1.1 ตอบคำถามในชั้นเรียน  1.2 ตรวจสอบจากการบ้าน หรือ ใบงานของการปฏิบัติการทดลอง  1.3 ประเมินการให้คะแนนของนักศึกษาด้วยกันเอง ในการนำเสนองาน
ประเมินการสอนจากนักศึกษาเมื่อภาคเทอมการศึกษา และผลการเรียนของนักศึกษา
นำผลการเรียนของนักศึกษาและผลการประเมินการสอนของนักศึกษา ในปีก่อนหน้า มาวางแผนและปรังปรุงการสอน และมีการ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนระหว่างเขตพื้นที่
ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน และประเมินจากการนำเสนองาน และผลการปฏิบัติตามใบงานในห้องปฏิบัติการ
นำผลลัพธ์จากข้อ 1 และ 2 มาปรับปรุงแก้ไขในแต่ละสัปดาห์หลังจากประเมินแล้ว ส่วนกรณีผลการเรียน จะต้องทำการปรับปรุงเอกสารการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักศึกษา