โภชนาการเบื้องต้น
Principles of Nutrition
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
1.2 เข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
1.3 ทราบถึงลักษณะของอาหารหลัก 5 หมู่
1.4 ทราบถึงชนิดและหน้าที่ของสารอาหารและสมดุลสารอาหารแต่ละชนิด
1.5 มีเข้าใจโรคที่เกิดจากสภาวะทุพโภชนาการ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับความหมาย และความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาพ พฤติกรรมการกินอาหาร การจำแนกอาหารเป็นหมู่ อาหารหลัก 5 หมู่ ชนิดของสารอาหาร และโรคที่เกิดจากการกินไม่ได้ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างการคำนวณรายการอาหาร ให้สอดคล้องกับภาวะโภชนาการของนักศึกษาแต่ละคนที่เป็น และลักษณะอาหารที่มีมากในท้องถิ่นด้วย
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร และโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อาหารหลัก 5 หมู่ ชนิดและหน้าที่ของสารอาหาร การประเมินภาวะโภชนาการ การขาดสารอาหารและโรคที่เกิดจากโภชนาการผิดปกติ
ทุกวันพุธเวลา 13.00 - 16.30 น. ห้องพักครูหลักสูตรธุรกิจอาหารและโภชนาการ
Line กลุ่ม ธุรกิจอาหารและโภชนาการ
แสดงออกถึงการมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- สอนแบบบรรยายพร้อมสอดแทรกคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ
- ทำการเช็คชื่อทุกครั้งก่อนเข้าเรียน
- ทำกิจกรรมตอบคำถามท้ายชั่วโมงโดยถามความรู้ทางด้านโภชนการสังเกตดูพฤติกรรมว่ามีความสนใจมากน้อยเพียงใด
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
อธิบายทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาเกี่ยวกับโภชนาการในปัจจุบัน บูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- บรรยาย คำนวณ และมอบหมายให้คำนวณภาวะโภชนาการ
- รายงานผลการคำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผล
- การนำเทคนิคการสอนแบบ Active leaning มาใช้ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสอนแบบสองทาง
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากการคำนวณ
- ผลคะแนนการตอบคำถามท้ายบทเรียน
ปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ
นำความรู้เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการมาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- การมอบให้นักศึกษาคำนวณภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา - ฝึกปฏิบัติคำนวณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน - วิเคราะห์ภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคลนำเสนอ ในการปรับให้เหมาะสมกับภาวะโภชนาการ
- สอบกลางภาคและปลายภาค
- วัดผลจากการนำเสนอผลงาน
- สังเกตผลรายงาน
ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ประยุกต์ใช้ความรู้ในศาสตร์ทางโภชนาการมาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- จัดทำการคำนวณพลังงานและให้เพื่อนที่ทำได้เข้าช่วยเหลือเพื่อนที่ทำไม่ได้
- มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น คำนวณพลังงานที่ได้จากอาหารประเภทต่างๆ
- ประเมินตนเอง
- ประเมินจากผลการคำนวณ
- เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
- การคำนวณค่าดัชนีมวลกายของแต่ละบุคคล (BMI)
- การคำนวณสารอาหารแต่ละประเภทโดยใช้ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการ
- ใช้สื่อการสอนแบบ Active learning โดยใช้โปรแกรม Kahoot เข้ามาใช้ในการตอบคำถามท้ายบทเรียน
- ประเมินจากผลการคำนวณในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่นการคำนวนพลังงาน
- ประเมินจากคะแนนท้ายบทเรียนหลังจากทำ Active learning โดยใช้โปรแกรม Kahoot
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | คุณธรรมจริยธรรม | ความรู้ | ทักษะทางปัญญา | ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | การทำงานร่วมกับผู้อื่น | รู้จักอาหาร 5 หมู่ | รู้จักสารอาหารประเภทต่างๆ | รู้จักกโรคที่เกิดภาวะโภชนาการไม่ปกติ | ประเมินสาเหตุของอาการทุพโภชนาการ | การทำงานเป็นกลุ่ม |
1 | BSCFN108 | โภชนาการเบื้องต้น |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ด้านคุณธรรม จริยธรรม | การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การตรงต่อเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
2 | ด้านความรู้ | สอบคำนวณ สอบกลางภาค สอบปลายภาค | 3 9 13 17 | 5% 20% 5% 20% |
3 | ด้านทักษะทางปัญญา | การนำเสนอ | 1 12 | 5% 5% |
4 | ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ | การนำเสนองานกลุ่ม | 14 | 10% |
5 | ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร | รายงานการคำนวณ | 17 | 20% |
- กองโภชนาการ. 2530. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม. กรุงเทพฯ: กอง
โภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
- คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. 2546. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
- อัจฉรา ดลวิทยาคุณ. (2556). พื้นฐานโภชนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
- Boyle, Marie A. 1989. Personal Nutrition. United States of America : West publishing
Company
Brown, Judith E. 2005. Nutrition Now. Fourth Edition. United States of America :
Wadworld/Thomson Learning Inc.
Brown, Judith E. 2005. Nutrition Now. Fourth Edition. United States of America :
Wadworld/Thomson Learning Inc.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 รายงานผลการคำนวณ
1.2 ความสนใจและตั้งใจในการทำงาน
1.3 ผลการเรียนของนักศึกษา
1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
กลยุทธ์ในการประเมินการสอนในรายวิชานี้ ดูผลจากผลการประเมินผู้สอนของนักศึกษาจากเวบไซต์สำนักทะเบียนและนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการสอนต่อไป
หลังจากทราบผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
2.1 การสอนจากการร่วมกิจกรรมหรือจัดกิจกรรมทางด้านโภชนาการต่างๆ
2.2 การคำนวณพลังงานที่ควรได้รับโดยให้นักศึกษาหากรณีศึกษาจากบุคคลใกล้ชิด เพื่อจะได้เห็นสภาพปัญหาจริงที่เกิดขึ้นจากบุคคลในครอบครัว เป็นต้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4.2 ดูจากผลการประเมินการอาจารย์ในรายวิชาโภชนาการของนักศึกษาในแต่ละปีว่ามีคะแนนต่ำกว่า 3.5 หรือไม่พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงในกรณีที่ระดับคะแนนต่ำกว่าที่กำหนดโดยผู้รับผิดชอบหลักสูตรร่วมกันพิจารณาการปรับปรุงดังกล่าว
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก5 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง