กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล

Communication strategies in the digital Era

 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงแนวคิดพื้นฐานของการสื่อสาร หลักการและกระบวนการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกสื่อและกลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล สามารถผสมผสานสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในยุคปัจจุบัน สามารถวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขั้นต้นได้
1. มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการกลยุทธ์ที่ใช้ในการสื่อสาร 2. นำเอาความรู้ความเข้าใจในหลักการและแนวคิดการสื่อสารไปปรับใช้ในชีวิตได้ 3. มีความคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์เพื่อการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารในอนาคต 4. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารได้ดี
แนวคิดและกระบวนการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เครื่องมือการสื่อสารรูปแบบใหม่ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสื่อสารในยุคดิจิทัล การวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล การใช้กลยุทธ์ทางการสื่อสารในยุคดิจิทัลเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน          Concepts and processes of communication via new forms in the digital era; environmental analysis; tools of communication in new forms; factors that affect communication in the digital era; planning and determination of communication strategies in the digital era; usages of communication strategies in the digital era for creating competitive advantages
1 ชม./สัปดาห์ (ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย)
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น (4) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ (5) มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 วิธีการสอน
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยในชั้นเรียน เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบคนหมู่มาก โดยมีการอธิบายกฎระเบียบที่พึงกระทำร่วมกัน มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำผิด โดยการสอดแทรกในการเรียนการสอน - มีการมอบหมายงานที่หลากหลาย ทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี โดยทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทีม
1.3 วิธีการประเมินผล
- ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา - พฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานที่กำหนด - การทำตามกฎระเบียนในชั้นเรียนที่กำหนดร่วมกัน
(1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน (3) มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (4) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา - มอบหมายงาน โดยให้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง - การทำงานที่หลากหลาย เช่น การทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน  - บูรณาการความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน - รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด - ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ - งานมอบหมายรายสัปดาห์
(1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้านมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ (3) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
- จัดให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จริง โดยการเชิญวิทยากรเข้ามาบรรยาย หรือ การให้เข้าร่วมการประชุม/การอบรม/การสัมมนา ตามที่กำหนด - กรณีศึกษาวิเคราะห์ การค้นคว้าสถานกาณ์ การจำลองเหตุการณ์หน้าชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานด้วยตนเอง ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม - การจัดทำเอกสาร/งานมอบหมาย และรายงานหน้าชั้นเรียน - สอดแทรกเกมส์/กิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด และการฝึกการแก้ปัญหา ตามหลักเหตุและผล
- การอภิปรายกรณีศึกษาโดยนักศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบลักษณะปลายเปิด เน้นให้นักศึกษาอธิบายถึงการแก้ปัญหา แนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา - พฤติกรรมการเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก ในขอบเขตงานที่ตนเองรับผิดชอบ  - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน หรือการเข้ากิจกรรมตามที่กำหนด ด้วยความเต็มใจ
(1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ (2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์ และมารยาททางสังคมที่ดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในสังคมที่ต้องปฎิบัติร่วมกัน - จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม. - จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป - การระดมความคิดร่วมกัน  - มอบหมายงานให้นักศึกษา รู้จักการประสานงาน การเจรจาต่อรองระหว่างบุคคล ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
- การทดสอบย่อย/กลางภาคและปลายภาค - ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา - ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา - สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
(2) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ (4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร - มอบหมายงานโดยให้นำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ - ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
- ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล โดยต้องมีการวิเคราะห์ และตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข อ้างอิงหลักการเหตุและผล - ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ - การสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่มอบหมายให้ทำ โดยเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ และการสืบค้นข้อมูล
(1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม (4) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิด  
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม - มอบหมายงานให้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยคณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ เกิดการแลกเปลี่ยนร่วมกับเพื่อน ๆ ที่เรียน ข้ามคณะ/หลักสูตร
- ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม - พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม - นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA229 กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ตลอดภาคการศึกษา (บทที่ 1-7) งานมอบหมาย กิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 40%
2 ตลอดภาคการศึกษา (ผลการเรียนรู้ บทที่ 1-4) การสอบกลางภาค 9 30%
3 ตลอดภาคการศึกษา (ผลการเรียนรู้บทที่ 5-7) การสอบปลายภาค 17 20%
4 ตลอดภาคการศึกษา การเข้าชั้นเรียน -ความรับผิดชอบ -พฤติกรรมที่แสดงออก ความใส่ใจ -การเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และกิจกรรมมอบหมายให้เข้าร่วมโดยมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- วิกานดา พรสกุลวานิช. (2566). สื่อและผลของการสื่อสารในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. - สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. - สุวิทย์ นามบุญเรือง. (2560). การบริหารช่องทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาขน).
-
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชากลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ผลการสอบของนักศึกษา - ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษา - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ - การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินผู้สอน
- แลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน - ปรับปรุงเนื้อหาและกรณีศึกษาตัวอย่างบางส่วนให้ทันตามสถานการณ์ปัจจุบัน - พัฒนาสื่อการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน - นำผลการประเมินโดยนักศึกษามาปรับปรุงการสอน
- ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษาให้เป็นไปตามคำอธิบายรายวิชาที่ระบุไว้ ใน มคอ. - ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา - ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ซึ่งแต่งตั้งโดยหลักสูตร/สาขาวิชา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 3-4 - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากอาจารย์ท่านอื่น