วรรณกรรมร่วมสมัย

Contemporary Literary Work

(1) มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี (3) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (4) มีจิตสาธารณะในการทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม (5) มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ
(1) สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา (2) จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่า ของคุณธรรม จริยธรรม (3) สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยมีผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามี ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ (4) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อ เรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(1) การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิต สาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(3) การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน (4) ประเมินผลงานโดยตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ 
(1) จดจำ และออกเสียงภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
(2) วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้
(3) เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(4) แปลความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
(5) สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง
(6) ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่าง สร้างสรรค์
(7) ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบท วัฒนธรรมข้ามชาติได 
(1) จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
(2) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และสถานการณ์จำลอง
(3) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้
(4) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วม ชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
(5) ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า หาความรู้ และ การเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ
(6) สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันด้านทักษะและความสามารถ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ
(1) สอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า
(2) ทดสอบย่อยและการสอบปฏิบัติตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา
(3) การนำเสนอผลงานและการเขียนรายงานรายบุคคล รายคู่ และรายกลุ่ม
(4) การสังเกตจากการอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ (2) มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมสากล (3) มีทักษะในการประยุกต์ใช้ภาษามาวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
(1) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง (2) การระดมสมองและอภิปรายโต้แย้งในหัวข้อที่กำหนด (3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาตามแนว Constructivism (การสร้างความรู้ด้วยตนเอง) เช่น การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-based learning) การเรียนรู้โดยโครงการเป็นฐาน (Project-based learning) และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) (4) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน  
(1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและผลการปฏิบัติของนักศึกษา (2) ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน (3) จัดการสัมมนา การอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น (4) การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน (5) การประเมินตนเองโดยการสะท้อนคิดของผู้เรียน เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือคณาจารย  
(1) มีความสามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (2) ประมวลทักษะและองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนำมาใช้ในการทำงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม  
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา (2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในรายวิชา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(Collabolative learning) โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม (3) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งภายในมหาวิทยาลัยและบริการชุมชนเพื่อเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ทักษะสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ ให้เกียรติ ตระหนักถึงหน้าที่และสิทธิของมนุษย์ (4) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาต  
(1) การสังเกตพฤติกรรมและบทบาทของนักศึกษาในกระบวนการกลุ่ม (2) ประเมินและติดตามกระบวนการเรียนรู้ (3) การสะท้อนคิด (Reflection) ต่อกระบวนการกลุ่ม (4) การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อน  
(1) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพ อย่างถูกต้อง (2) นำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม (4) ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ และวัฒนธรรมนานาชาต  
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน (2) มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษารวบรวม วิเครราะห์และตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการนำเสนองานและการทำรายงาน (3) ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม (4) แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะภาษา ตัวเลข และเทคโนดลยีสารสนเทศ ตามความสนใจและความต้องการของนักศึกษา (5) จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ  
(1) การประเมินผลงาน รายงาน และการนำเสนองาน (2) สอบย่อยตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา (3) กลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า (4) มีเกณฑ์การประเมินผลการเรียนในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน  
(1) ปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงานในบริบทข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม (2) ปฏิบัติงานโดยยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ (3) ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานในระดับสากล  
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและแนวปฏิบัติที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา (2) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง (3) จัดอบรม สัมมนา และกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงาน ก่อนนักศึกษาเข้า ร่วมสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ  
(1) ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน (2) ประเมินผลงานโดยอาจารย์นิเทศ (3) ประเมินผลการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (4) การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3 5.4
1 BOAEC125 วรรณกรรมร่วมสมัย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Attendance & Class Participation 10%
2 Quizzes 10%
3 Speaking & Listening 15%
4 Writing & Presentation 15%
5 Mid-term Examination 25%
6 Final Examination 25%
1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาในระหว่างที่ศึกษา โดยกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการ ประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยฯ ในองค์ประกอบที่ 2 (สกอ.) ซึ่งผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา ภายนอกสามารถตรวจสอบได้ ดังนี้ 2.1.1 การทวนสอบในระดับรายวิชา ประกอบด้วย 2.1.1.1 ทวนสอบจากคะแนนและผลการศึกษาของแต่ละรายวิชาซึ่งประกอบด้วยคะแนน สอบทฤษฎี คะแนนสอบปฏิบัติ และคะแนนของงานมอบหมาย 2.1.1.2 การพิจารณาความเหมาะสมของการวัดผลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การสอนโดย มีคณะกรรมการพิจารณา 2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังสำเร็จการศึกษา มุ่งเน้นการทำวิจัย ผลสัมฤทธิ์ในการประกอบอาชีพของบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง และนำผลวิจัยที่ได้กลับมาปรับปรุงกระบวนการ การเรียนการสอนและหลักสูตร การวิจัยดังกล่าวประกอบด้วย 2.2.1 ภาวะการได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากบัณฑิตแต่ละรุ่นที่จบการศึกษา ในด้านของ ระยะเวลาในการหางานทำ ความเห็นต่อความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจของบัณฑิตในการประกอบอาชีพ 2.2.2 การตรวจสอบจากผู้ประกอบการ โดยการขอเข้าสัมภาษณ์หรือการส่งแบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจในบัณฑิตที่จบการศึกษาและเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ 2.2.3 การประเมินตำแหน่ง และ/หรือความก้าวหน้าในสายงานของบัณฑิต 2.2.4 การประเมินจากสถานศึกษาอื่นโดยการสอบถามระดับความพึงพอใจในด้านความรู้ ความพร้อม และคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ของบัณฑิตที่จบการศึกษาและศึกษาในระดับที่สูงขึ้น 2.2.5 ผลงานของนักศึกษาและศิษย์เก่าที่สามารถวัดและประเมินผลได้ เช่น จำนวนรางวัล ทางวิชาการ วิชาชีพและรางวัลอื่น ๆ ที่ได้รับ จำนวนกิจกรรมการกุศลเพื่อสังคมและประเทศชาติ หรือ จำนวนกิจกรรมอาสาสมัครในองค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น  
ช่วงก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับภาควิชา และ/ หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาด้านกระบวนการนำผล การประเมินไปปรับปรุง สามารถทำโดยรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและกำหนดประธาน หลักสูตรและทีมผู้สอนนำไปปรับปรุงและรายงานผลต่อไป  
1.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน 1.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา 1.2.2 การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือทีมผู้สอน 1.2.3 ภาพรวมของหลักสูตรประเมินโดยบัณฑิตใหม่ 1.2.4 การทดสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเทียบเคียงกับสถาบันอื่นในหลักสูตรเดียวกัน