สัมมนาการบัญชีเชิงบูรณาการ

Integrated in Accounting Seminar

นักศึกษาสามารถทำการศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยศึกษาจากบทความวิชาการ งานวิจัย เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบูรณาการทางการบัญชีกับเทคโนโลยี นวัตกรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยการทำโครงงาน (Project Base) ฝึกทักษะการนำเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
เพื่อศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ เพื่ออภิปรายที่มาของเรื่อง ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา ประเด็นทางการบัญชีที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ เพื่อฝึกการศึกษาข้อมูลจากบทความวิชาการ งานวิจัย เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศมาประกอบเรื่องที่เป็นประเด็นทางการบัญชีในปัจจุบัน เพื่อบูรณาการความรู้ ทักษะทางการบัญชีกับเทคโนโลยี นวัตกรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยการทำโครงงาน (Project Base) เพื่อฝึกทักษะการนำเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา จากประเด็นทางการบัญชีที่เป็นหัวข้อ Hot Hit ในปัจจุบันและอนาคต
ศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยศึกษาจากบทความวิชาการ งานวิจัย เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบูรณาการทางการบัญชีกับเทคโนโลยี นวัตกรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยการทำโครงงาน (Project Base) ฝึกทักษะการนำเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
3 ชั่วโมงต่อวัน ให้คำปรึกษา 3 วันต่อหนึ่งสัปดาห์ รวมจำนวน 4 เดือน (3*3*4) 36 ชั่วโมง
1) มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม  (กิจกรรม จิตพิสัย ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย มีความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา  เคารพต่อกฏระเบียบของสังคม 10 คะแนน)
3) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง    วิชาชีพ และสังคม 
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ   1.  จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม     2.  สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 1.1.1 3.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4.  กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น     5.  เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน รวมถึงเทคนิคในการจัดงานสัมมนาอย่างมืออาชีพ 6.  สอนโดยให้หลักการในการศึกษาค้นคว้าประเด็นใหม่ๆ ทางการบัญชี ใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน     7.  อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล 1)  การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม   2)  การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  3)  การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม  4)  การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน     5)  ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์     6)  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ     7)  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  
1) มีความรู้และความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน  (กิจกรรม งานมอบหมาย นำความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การศึกษาค้นคว้า อภิปราย วิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา 15 คะแนน)
2) มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 
3) มีความรู้ และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 
4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี  วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ ผลกระทบ เกี่ยวกับหัวข้อ Hot Hit ทางวิชาชีพบัญชี ในประเด็นในสิ่งที่ตนเองสนใจ และนำผลของการวิเคราะห์ที่ได้อภิปรายเปรียบเทียบความแตกต่างที่ปรับเปลี่ยนไปในเชิงปริมาณ เพื่อให้รู้จักปรับใช้ทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนรูปเล่มรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา 15 คะแนน
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ 1 1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 2.1.1 2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง     4.  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป     5.  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง   6.  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล  1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  2.  รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ     3.  ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง     4.  ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ     5.  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา     6.  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน  7.  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน   
1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม  (กิจกรรม งานมอบหมาย สืบค้นกรณีศึกษา บทความวิจัยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา  15 คะแนน)
2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการแปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก   (กิจกรรม งานมอบหมาย สืบค้นประเด็นใหม่ ๆ หัวข้อที่ Hot Hit ทางวิชาชีพบัญชี ประเด็นในสิ่งที่ตนเองสนใจ ลักษณะขอการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปราย ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับหัวข้อต่อไปนี้ - ด้าน TAX - ด้านการตรวจสอบภายใน - ด้านบัญชีการเงิน - ด้านบัญชีบริหาร - ด้าน AIS - ด้าน Audit - ด้านการศึกษา การเรียนการสอนทางการบัญชี - สถานการณ์วิกฤติต่างๆ  15 คะแนน)
4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความ     คิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน 1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน     2.  จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  จากกรณีศึกษา   3.  กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม 4.  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 5.  การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง  6.  การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น  7.  จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด   การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
รายละเอียด วิธีการประเมินผล 1.  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา     2.  การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ     3.  การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง     4.  ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา     5.  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา   6.  ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน  7.  ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง 8.  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา 
 
1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ  วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด            อย่างมีประสิทธิภาพ BF Acc / 
3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี   (กิจกรรม การเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาที่พบเจอในวิชาชีพบัญชี 10 คะแนน)
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน 1.  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง   2.  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม  3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและ การอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป     4.  มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง     5.  มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา   6.  มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ 
รายละเอียด วิธีการประเมินผล 1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค   2. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 3. พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา     4. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา     5. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี   6. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)  7. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน    
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 
2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ (กิจกรรมมอบหมายให้มีการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในงานทางวิชชีพ รวมถึงสามารถนำเสนอผลงานทางวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือและดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้เป็นอย่างดี 10 คะแนน)
3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม กับสถานการณ์ (กิจกรรม ให้นักศึกษาเขียนรูปเล่มรายงานตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับของสากล สามารถนำองค์ความรู้ที่ศึกษาได้มาวิเคราะห์สรุปความและนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถสื่อสารความเข้าใจไปยังผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ10 คะแนน)
 
 
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน 1.  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง     2.  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา     3.  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย     4.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม     5.  ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้     6.  มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
รายละเอียด วิธีการประเมินผล 1.  การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค   2.  ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 3.  พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร     4.  ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ     5.  ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะด้านปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BACAC157 สัมมนาการบัญชีเชิงบูรณาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การสอบกลางภาค ปลายภาคเรียน การเรียนรู้ในการทำงาน การวางแผนงาน ประสิทธิภาพของงาน (ถูกต้อง รวดเร็ว มีประโยชน์) ความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในแนวคิด หลักการทฤษฏีและกระบวนการต่างๆ มาใช้ในการคิด สรุปความ ผลการสอบ การสังเกตุการทำงาน การประเมินผลงาน พัฒนาการที่เกิดขึ้นหลังการศึกษาเรียนรู้ 1-6 30%
2 การศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่เป็น Hot Issuer จากจดหมายสารของสภาวิชาชีพบัญชี บทความวิชาการ บทความวิจัย วารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี การสรุปความ การนำเสนอเนื้อหา และ การ Present บทสรุปของแต่ละเรื่องที่ทำการศึกษา 1,2,4,5 20%
3 นักศึกษาสามารถเขียนรูปเล่มรายงานตามหลักวิชาการในเรื่องเกี่่ยวเรื่องที่มีความสนใจทางการบัญชี สามารถเขียนเล่มรายงานได้ตามหลักสากลเกินกว่า 60% รวมถึงสามารถผ่านการประเมินการผลการเรียนรู้ การนำเสนอผลงานที่ศึกษา 6 30%
4 สามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีจิตสาธารณะ และเรียนรู้การใช้ชีวิตกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข สามารถปรับตัวในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินการตอบโต้ในชั้นเรียน การถามตอบ การนำเสนอผลการเข้าร่วมกิจกรรมของสาขา คณะต่างๆ รวมถึงกิจกรรมของมหาวิทยาลัย 6 20%
หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการเรียน งานวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ วารสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางการบัญชี
1) สภาวิชาชีพบัญชี  www.fap.or.th   2) กรมสรรพากร  www.rd.go.th   3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  www.sec.or.th   4) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  www.set.or.th   5) ธนาคารแห่งประเทศไทย  www.bot.or.th   6) กรมศุลกากร  www.customs.go.th   7) กรมสรรพาสามิต  www.excise.go.th   8) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  www.dbd.go.th   9) กระทรวงแรงงาน  www.mol.go.th  Web ต่างประเทศ    
สารสภาวิชาชีพบัญชี 1. International Accounting Standards Board  2. www.iasb.org  3. The International Federation Of Accountants  www.ifac.org  4. U.S. Securities Exchange Commission  www.sec.gov 5.Set.or.th  6. Settrade.or.th 7. Sec.or.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ   การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ 2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3.2  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้ 4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา 4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย) 4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ 4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา 5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน 5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร