สัมมนาการบัญชีเชิงบูรณาการ

Integrated in Accounting Seminar

1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยศึกษาจากบทความทางวิชาการ วิจัย เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถบูรณาการทางการบัญชีกับเทคโนโลยี นวัตกรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ โดยการทำโครงงาน (Project Based)
1.3 เพื่อฝึกนักศึกษาให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
2.1 เพือให้นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
2.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรอบรู้ในด้านการบัญชี การเงินและความรู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้กับการปฏิบัติงานจริงได้อย่างเหมาะสมและมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.3 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการคิด วิเคราะห์และการปฏิบัติงานทางวิชาชีพบัญชี สามารถใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และมีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ
2.4 เพื่อให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ อดทน มีทักษะทางสังคมและการทำงานเป็นทีม มีจิตสาธารณะ ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
2.5 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีและเทคโนโลยีอื่นที่ทันสมัย และสื่อสารรวมถึงนำเสนอย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษา ค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยศึกษาจากบทความทางวิชาการ งานวิจัย เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบูรณาการทางการบัญชีกับเทคโนโลยี การบูรณาการทางการบัญชีกับเทคโนโลยี นวัตกรรม จรรยาบรรณทางบัญชี โดยการทำโครงงาน (Project Based) ฝึกทักษะการนำเสนอข้อมูลทั้งการเขียน และการนำเสนอด้วยวาจา
5-10 นาทีต่อรายบุคคล หรือ 10-20 นาทีต่อกลุ่ม ต่อสัปดาห์
1) มีความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ  
2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
3) แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีตวามรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเนื้อหาวิชาเรียน
2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละและการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2) ประเมินการทำทุจริตในการสอบ
3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในชั้นเรียน
1) มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใชัในการปฏิบัติงาน
2) มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏฺิบัติงาน
3) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
 
1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การยกตัวอย่าง การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน  การสอนแบบใช้ การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
3) การบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย รายงาน การค้นคว้าและการนำเสนอ
2) การประเมินจากการสอบข้อเขียนแบบบูรณาการด้านวิชาบัญชีต่างๆ ที่ได้ศึกษาตามระดับชั้นการศึกษาที่ผ่านมา
3) การประเมินผลจากการเขียนรายงานของโครงการหรือโครงงาน ที่สะท้อนความคิดของนักศึกษา
1) มีทีกษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลการในแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชี และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กรและสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาผ่านกรณีศึกษา  
1) ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยใช้กรณีศึกษา และบทความ
2) พัฒนาความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผ่านกรณีศึกษาต่างๆ
3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความเห็นให้มาก
 
1) ประเมินผลจากการแก้โจทย์กรณีศึกษา 
2) ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการแสดงความเห็น
3) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาผ่านกรณีศึกษา บทความทางวิชาการ
 
1) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาวิชาชีพบัญชี
1) มอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ มีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม และผลัดกันเป็นผู้นำเสนอ
2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีและให้มีการอภิปรายแแสดงความคิดเห็น
3) ให้ศึกษาปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ 
4) การบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ 
1) ประเมินจากรายงานหน้าชั้นเรียน
2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในส่งงาน
3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
4) ประเมินจากการทำกิจกรรมโครงการบริการวิชาการ 
1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3) ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องวัฒนธรรมสากล
1) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
3) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติตต่อสื่อสาร
2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
4) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BACAC157 สัมมนาการบัญชีเชิงบูรณาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค 9 และ 17 30%
2 1,2,3,4,5 กรณีศึกษา การนำเสนอด้วยการเขียน และด้วยวาจา การศึกษาการใช้โครงงานเป็นฐาน 1-8, 10-16 65%
3 1,4 การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การทำงาน ความตั้งใจ ตลอดภาคเรียน 5%
- การบัญชีชั้นต้น
- การบัญชีชั้นกลาง 1 (การบัญชีสินทรัพย์)
- การบัญชีชั้นกลาง 2(การบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ)
- การบัญชีชั้นสูง 1-2
- การบัญชีบริหาร/การบัญชีต้นทุน
- การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น
- ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
- แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน
- การภาษีอากร
- การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน
- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเทคโนโลยีสำหรับการบัญชี
กรณีศึกษาทางบัญชีที่มอบหมายและเอกสารอ่านประกอบ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น
- เวปไซต์สภาวิชาชีพบัญชี http://www.fap.or.th
- เวปไซต์นักบัญชี www.nukbunchee.com
- เวปไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
- เวปไซต์วารสารงานวิจัย เช่น http://www.jap.tbs.tu.ac.th/index.php
- เวปไซต์ของธุรกิจประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าอิสระ
- เวปไซต์งานวิจัย เช่น https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
- เวปไซต์ห้องสมุด มทร.ล้านนา เพื่อสืบค้นงานวิจัย https://library.rmutl.ac.th/
- ฯลฯ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อคิดเห้นของนักศึกษาผ่านกลุ่มไลน์ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนจากอาจารย์ผู้สอน การประเมินตนเอง 2.2 ผลงานของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2.
3.1 ประชุมหาแนวทางการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างผู้สอนและนักศึกษา
3.2 ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรรมการบริหารหลักสูตรและกรรมการสาขาดำเนินการ ดังนี้
4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4 การประเมินข้อสอบ กรณีศึกษา โครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือหลักสูตร
5.1 ผู้สอนดำเนินการนำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป 5.2 หัวหน้าหลักสูตรนำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรในครั้งต่อไป