การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
Power System Protection
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในพื้นฐานการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง สามารถประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ปัญหาในระบบไฟฟ้ากำลังได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้เนื้อหาทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน: อัปเดตเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังให้ครอบคลุมเทคโนโลยีและมาตรฐานใหม่ ๆ ที่มีการใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที เพิ่มทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา: มุ่งเน้นการฝึกทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดปัญหาในระบบไฟฟ้ากำลังและหาวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบจริง เสริมสร้างทักษะเชิงปฏิบัติและการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง: เพิ่มการเรียนรู้เชิงปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง เช่น รีเลย์ป้องกันและอุปกรณ์ตรวจจับ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการใช้เครื่องมือจริงและเข้าใจการใช้งานอย่างถูกต้อง พัฒนาการประเมินและวัดผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย: ปรับปรุงการวัดผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทักษะต่าง ๆ ของนักศึกษา เช่น การประเมินผ่านการทำโปรเจกต์จริง การวิเคราะห์กรณีศึกษา และการทดลอง เพื่อให้สามารถวัดผลการเรียนรู้ได้รอบด้านมากขึ้น เพิ่มความตระหนักรู้เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและความยั่งยืน: ส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยและการใช้งานระบบไฟฟ้าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงผลกระทบและความสำคัญของการป้องกันที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้ากำลัง
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานชองการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง หม้อแปลงเครื่องมือวัดและทรานสดิวเซอร์ อุปกรณ์ป้องการและระบบป้องกัน การป้องกันกระแสเกิน และฟอลต์ลงดิน การป้องกันแบบผลต่าง การป้องกันสายส่งโดยใช้รีเลย์วัดระยะทาง การป้องกันสายส่งโดยใช้ไพล็อตรีเลย์ การป้องกันมอเตอร์ การป้องกันหม้อแปลง การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การป้องกันเขตปัส ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกันอุปกรณ์ป้องกันแบบดิจิทัล
2
ไม่เน้น
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสาคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
2.1.3 สามารถนาหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
2.2.1 เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
2.2.2 ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนามาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
2.2.3 ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนาความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนามาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
2.3.1 ประเมินผลตลอดภาคเรียน
2.3.2 ประเมินผลจากงานที่มอบหมา
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้
3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
3.2.1 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
3.2.2 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.3.1 ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
3.3.2 ประเมินผลจากการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
3.3.3 ประเมินผลจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบ
4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสานึกต่อสังคมด้านการนาความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.2.2 ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
4.2.3 กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4.2.4 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.3.2 ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
4.3.3 ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
4.3.4 ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทาให้สามารถเข้าใจ องค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสาคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.2 วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
5.2.3 นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
5.3.2 ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนาเสนอผลงาน
5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.3.1 ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
6.3.2 ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
6.3.3 ประเมินผลจากโครงงานนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.ด้านคุณธรรมแลจริยธรรม | 2.ด้านความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ | 5.ด้านทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 6. ด้านทักษะพิสัย | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1. | 2. | 3. | 4. | 5. | 1. | 2. | 3. | 4. | 5. | 1. | 2. | 3. | 4. | 5. | 1. | 2. | 3. | 4. | 5. | 1. | 2. | 3. | 5. | 4. | 1. | 2. |
1 | ENGEE188 | การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 | ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค | 4 8 12 16 | 10% 25% 10% 25% |
2 | 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 | วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย | ตลอดภาคการศึกษา | 20% |
3 | 1.1 – 1.7, 3.1 | การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
1. การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง / ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช
2. การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง / กิตติพงษ์ ตันมิตร
3. รีเลย์และการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง / สันติ อัศวศรีพงศ์ธร
4. เอกสารประกอบการสอน การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง / ก่อเกียรติ อ๊อดทรัพย์
ไม่มี
ข้อสอบ กว
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านทาง Facebook กลุ่ม ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ก่อนการสอนมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยผู้สอน และปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและวิธีการสอน หลังการสอนมีการวิเคราะห์ผลการประเมินโดยนักศึกษา และวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา นำผลการวิเคราะห์การประเมินมาปรับปรุง โดยรวบรวมจากปัญหาและข้อเสนอแนะ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ