ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตร

Research Methodology in Agricultural Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 เข้าใจและอธิบายปัญหางานวิจัย รูปแบบงานวิจัย และระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตรได้
1.2 อธิบายเทคนิคการวางแผนการทดลองและการดำเนินงานวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตรแบบต่าง ๆ ได้
1.3 สามารถประยุกต์ใช้สถิติและแผนการทดลองต่าง ๆ ในการวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตรได้
1.4 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยวิเคราะห์ข้อมูล แปลผลและการสรุปผลข้อมูลทางเทคโนโลยีการเกษตรได้
1.5 สามารถเขียนโครงการวิจัย และนำเสนอผลงานทางวิชาการทางเทคโนโลยีการเกษตรได้
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตรที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
การระบุปัญหางานวิจัย รุปแบบงานวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย เทคนิคการวางแผนการทดลองและการดำเนินงานวิจัย การประยุกต์ใช้สถิติและแผนการทดลองต่าง ๆ ในการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลและการสรุปผลข้อมูล การเขียนโครงการวิจัย การนำเสนอผลงานทางวิชาการ
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามการร้องขอของนักศึกษา (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยสามารถปรึกษาผ่าน Group Line "2/67-ป.โท-ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตร" ได้ทุกวัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
วิโรจน์ มงคลเทพ. (2564). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ (Statistics for Science). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 422 หน้า.
วิโรจน์ มงคลเทพ. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชาสถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร รหัสวิชา BSCCC206. น่าน: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน. 264 หน้า.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิษณุ เจียวคุณ. (2550). การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis). เชียงใหม่: สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Guerrero, H. (2019). Excel data analysis (2nd ed.). Switzerland: Springer.
Martin, B. & Gerald, M. F. (2004). Statistics for the sciences. USA: Duxbury Press.
อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษารายงานตนเองเพื่อสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจต่อการเรียนรายวิชานี้ โดยเขียนบรรยายลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน
การประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำการประเมินผลการสอนออนไลน์ในระบบทะเบียนกลางของมหาวิทยาลัย
แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ได้แก่ ด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านประเมิน และด้านปกครอง
4.1 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา จากการตั้งคำถามต่างๆ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
4.2 ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษา ผลการสอบกลางภาค และผลการสอบปลายภาค
4.3 ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ คะแนนสอบ  และคะแนนพฤติกรรมการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1 ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
5.2 วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)