พื้นฐานเครื่องจักรกลหนัก

Introduction to Heavy Equipment

1.เข้าใจ ประเภท หลักการทํางานของเครื่องยนต์ ระบบส่งกําลัง ระบบเบรกและบังคับเลี้ยว ระบบไฮดรอลิกส์ ระบบเครื่องล่างของเครื่องจักรกลหนัก
2.เข้าใจโครงสร้างและลักษณะการใช้งานของเครื่องจักรกลหนัก
3.มีเจตคติที่ดีในการสืบค้นความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานเครื่องจักรกลหนักและกิจนิสัยในการทํางานด้วยความรอบคอบและปลอดภัย
ไม่มี
ศึกษาเกี่ยวกับประเภทหลักการทํางานของเครื่องยนต์ ระบบส่งกําลังระบบเบรกและบังคับเลี้ยว ระบบไฮดรอลิกส์ ระบบเครื่องล่างโครงสร้างและลักษณะการใช้งาน ค่าพิกัดความเผื่อของชิ้นสวนโครงสร้าง ความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักรกลหนัก
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.เครื่องจักรกลงานก่อสร้าง,วีระศักดิ์ กรัยวิเชียร,สำนักพิมพ์ SE-ED, 2556, จำนวน 336 หน้า
2.เอกสารประกอบการสอน, สนิท ขวัญเมือง, 2560
3.เอกสารประกอบการสอน, จตุรงค์ แป้นพงษ์,2567
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ประเมินจากแบบประเมินรายวิชา และแบบประเมินผู้ สอน 2.2 ประเมินจากผลการสอบและการเรียนรู้ของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ  แก้ไข