เทคโนโลยีการผลิตและการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์

Seed Production Technology and Quality Control

1.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ เกี่ยวกับความหมาย และความสำคัญของเมล็ดพันธุ์ เข้าใจกระบวณการ วิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ และพืชสวนที่สำคัญ
2.นักศึกษารู้และเข้าใจการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และระบบการควบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนกฎหมายเมล็ดพันธุ์และธุรกิจเมล็ดพันธุ์
ปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต การเก็บเกี่ยว และการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ที่ได้จากงานวิจัยสมัยใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับเมล็ดพืชที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ อีกทั้งความก้าวหน้าของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกรรมวิธีในเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และระบบการควบคุมคุณภาพ กฎหมายและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ การจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์
Study and practice on process in seed production technology. Seed processing, seed storage and seed quality control system.  Seed laws and related seed business.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ตามเวลาที่นัดหมาย จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือตามความเหมาะสม สามารถติอต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 094-6257210 หรือ Email : waravut_losuk@rmutl.ac.th หรือที่ห้องทำงานอาจารย์สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1นักศึกษาจะต้องเข้าชั้นเรียน ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ 1.2.2 มอบหมายให้นักศึกษามีกิจกรรมและค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่มและส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา 1.2.3 ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ พร้อมปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าเรียน สม่ำเสมอและตรงเวลา มีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำ กลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง นอกจากนี้ต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม โดยเฉพาะจรรยาบรรณของนักวิจัย รวมถึงการสร้างให้มีความตระหนักในสิ่งแวดล้อมและส่วนรวม มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำ ดีทำ ประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 ให้คะแนนการเข้าร่วมในชั้นเรียนทั้งในการตั้งคำถามและการตอบคำถาม ตลอดจน การเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ 1.3.3 การประเมินจากงานที่มอบหมายโดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ศึกษาด้วยตนเองหรือการรับฟังการถ่ายทอดจากอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ สามารถจับประเด็นสรุปสิ่งที่ได้รับความรู้ได้ นอกจากยังมีความรู้ที่ต้องการตามหลักสูตรดังนี้ 2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาการผลิตและการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ 2.1.2. สามารถเชื่อมโยง ทฤษฎี ความรู้ และความเข้าใจเข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติในเนื้อหาการผลิตและการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ 2.1.3. มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในระดับชาติและนานาชาติ
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้งการสอนแบบ e-Learning นอกจากนี้เชิญอาจารย์พิเศษที่มีความเชี่ยวชาญมาสอน เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียนและมอบหมายหัวข้อให้ศึกษาด้วยตนเองและนำเสนอ
2.3.1 ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค) 2.3.2 สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการศึกษาความรู้ 2.3.3 ประเมินจากรายงานและนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลในหัวข้อที่มอบหมายเป็นรายบุคคลและหรือรายกลุ่ม
พัฒนานักศึกษาให้สามารถพัฒนาตนเองโดยคิดและทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มีวิธีการแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว มีความคิดที่ครอบคลุมสิ่งที่จะทำและผลกระทบที่เกิดขึ้น ใน นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาระดมสมองเพื่อตั้งหัวข้อการนำเสนอ และทำการค้นคว้าในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ และทำการวิเคราะห์เรียบเรียง และการนำเสนอผลงาน 3.2.2 อภิปรายกลุ่ม 3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.3 การประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค 3.3.4 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฎิบัติของนักศึกษา
ต้องการให้นักศึกษามี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ในการประสานงาน เจรจากับบุคคลอื่นๆ นอบน้อม รู้กาลเทศะ รู้มารยาทในสังคม นอกจากนี้ต้องมีทักษะมีภาวะ ความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา ดังนี้ 4.1.1. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและงานในกลุ่ม
4.1.2 มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างปรองดองเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์
4.2.1 สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.3.1 การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.2 ประเมินจากรายงานและการนำเสนอของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุปและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 สามารถนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์ 5.1.3. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2 การนำเสนอและจัดทำรายงานโดยใช้โปรแกรม รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ความรู้ 2.ทักษะ 3.จริยธรรม 4.ลักษณะบุคคล
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4
1 MSCGT102 เทคโนโลยีการผลิตและการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ 1) การนำเสนองาน - ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย 2) เก็บคะแนนจากใบงาน 3) สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนในการตอบคำถาม 4) การปฏิบัติการตามบทปฏิบัติการ 5) การรายงานผลการปฏิบัติการ 1) การนำเสนองานประเมินสัปดาห์ที่ 15 2) การเก็บคะแนนจากใบงาน สัปดาห์ที่ 1, 3, 5, 7, 10, 12 และ 14 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 และสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 15 3) สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนในการตอบคำถามประเมินทุกสัปดาห์ 4) การปฏิบัติการตามบทปฏิบัติการประเ 60 เปอร์เซ็นต์
2 ทักษะ การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การรับผิดชอบงานภาคปฏิบัติ ผลของการปฏิบัติงาน ทุกสัปดาห์ 20 เปอร์เซ็นต์
3 จริยธรรม - การเข้าชั้นเรียน - การส่งรายงานตรงเวลา - การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด ทุกสัปดาห์ 10 เปอร์เซ็นต์
4 ลักษณะบุคคล การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10 เแอร์เซ็นต์
พิชัย  สุรพรไพบูลย์ และพิกุล  สุรพรไพบูลย์.  25ุ61.  เอกสารประกอบการสอนวิทยาการเมล็ดพันธุ์.  สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.  วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. กลุ่มหนังสือเกษตร กรุงเทพมหานคร .210 น. พรนิภา เลิศศิลป์มงคล. 2535. เอกสารประกอบการสอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. 125 น. นพพร สายัมพล 2543 . เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ . 260 น.  
เดชา บุญมลิซ้อน กุศล เอี่ยมทรัพย์ และชุมพร ถาวร.  2548.  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเก็บรักษาและผลิตเมล็ดพันธุ์พืช.  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.  30 น. จวงจันทร์ ดวงพัตรา.  2529.  เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์.  กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ.  210 น.   ชยพร แอคะรัจน์.  2546.  วิทยาการเมล็ดพันธุ์.  ฐานเกษตรกรรม, กรุงเทพฯ.  197 น. ธีรศักดิ์ แสงเพ็ง.  2551.  ผลของการเคลือบ polymer ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักบางชนิด.  ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน (วท.บ. (เกษตรศาสตร์))--มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.  31 น. นงลักษณ์ ประกอบบุญ.  2528.  การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.  316 น. บุญนาค วิคแฮม.  2523.  วิทยาการเมล็ดพันธุ์ ตอนที่ 2.  ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.  112 น. ประนอม ศรัยสวัสดิ์.  2549.  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์.  สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.  116 น. ลำใย โกวิทยากร.  2523.  วิทยาการเมล็ดพันธุ์ ตอนที่ 1.  ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.  112 น. วันชัย จันทร์ประเสริฐ.  2542.  เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่.  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  276 น. วัลลภ สันติประชา.  2538.  บทปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์.  ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.  227 น. วัลลภ สันติประชา.  2540.  เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์.  ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.  212 น. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์.  2535.  การอบแห้งเมล็ดธัญพืช.  คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.  378 น. Desai, B.B.  2004.  Seeds handbook : biology, production, processing, and storage.  Marcel Dekker,  787 p. Copeland, L.O. and M. B. McDonald.  2001.  Principles of seed science and technology.  Kluwer Academic, Boston, Mass. 467 p. McDonald, M.B. and L.O. Copeland.  1989.  Seed science and technology : laboratory manual.  Iowa State University Press, Ames.  231 p. Black, M. and J. Derek Bewley.  2000.  Seed technology and its biological basis.  Sheffield Academic Press, Sheffield.  419 p. Agrawal, R.L.  1980.  Seed technology.  Oxford & IBH Pub., New Delhi.  685 p. Doijode, S.D.   2001.  Seed storage of horticultural crops.  Food Products Press, New York.  339 p.
ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  2548.  การเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ [On-line]. Available : http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=24, March 14, 2010. [On-line] Available : http://www2.bioversityinternational.org/publications/Web_version/52/, March 14, 2010. [On-line] Available : http://www.seed.or.th/, March 14, 2010. ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์.  มปป.  หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี. [On-line]. Available :http://nsw-rice.com/index.php/seedtechno/process/19-seedtechno-fund, March 14, 2010. [On-line] Available : http://www.pub-law.net/library/act_plant.html, March 14, 2010.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน 1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ