หลักการของกลศาสตร์วิศวกรรม
Principles of Engineering Mechanics
ศึกษาเกี่ยวกับระบบแรง แรงลัพธ์ ความสมดุลย์ ของไหลสถิตย์ โครงสร้างและเครื่องจักร จลนศาสตร์ จลนพลศาสตร์ของอนุภาคและวัสดุคงรูป กฎข้อที่สองของนิวตัน งานและพลังงาน แรงดลและโมเมนตัม
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระบุให้มีการสอนเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือคัดลอกงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น
ประเมินคุณภาพผลงานที่ได้มอบหมาย รวมถึงการกระทำทุจริตในการสอบ
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานกลุ่ม และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ประเมินจากพฤติกรรมและแนวคิดของนักศึกษาในการตอบสนองต่อเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการทดสอบในรายวิชาที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ จัดให้มีการสอนร่วมระหว่างรายวิชาเพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ นอกจากนี้ จัดให้มีการสอนผ่านกรณีศึกษาโดยนำโจทย์ปัญหาจากอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการมาให้นักศึกษาเชื่อมโยงองค์ความรู้ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหานั้น ๆ รวมถึงจัดให้มีการสอนทีี่มีการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน และการทดสอบย่อย ประเมินจากงานที่มอบหมายที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากผลงานที่นำเสนอในชั้นเรียน ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษา
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน และการทดสอบย่อย ประเมินจากงานที่มอบหมายที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากผลงานที่นำเสนอในชั้นเรียน ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษา
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวจากสื่อหรือสังคมปัจจุบันและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดในมุมมองที่แตกต่างอย่างมีวิจารณญาณ
จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านกรณีศึกษาที่ต้องมีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ
จัดให้มีการเรียนรู้ผ่านโครงงานทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต้องมีการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้
สังเกตพฤติกรรม ประเมินตามสภาพจริงของนักศึกษา เช่น การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ผลงานต้นแบบ และการปฏิบัติงานระหว่างฝึกสหกิจของนักศึกษา
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณาเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
จัดให้มีการเรียนหรือร่วมกิจกรรมกับกลุ่มคนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เกิดการฝึกปฏิบัติด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านการเรียนการสอนในรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และกิจกรรมชมรมของมหาวิทยาลัย
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้ มีีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรายวิชาต่างๆ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการเรียนวิชาปฏิบัติ และการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน ประเมินจากจำนวนกิจกรรมที่เข้าร่วมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ากับการเรียนในรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนทางรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ของมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาทางวิชาชีพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศทำการค้นคว้าข้อมูล นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ผ่านการประยุกต์ใชการสื่อสารที่ทันสมัยในหลากหลายสถานการณ์ รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหา
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
ประเมินจากความสามารถในการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหา
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
มีความทักษะในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
จัดให้กิจกรรมที่มีการบูรณาการความรู้และการค้นคว้าข้อมูล ในประเด็นที่ต้องการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอาหาร
จัดการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการจัดการ เน้นทฤษฎีและการปฏิบัตรกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
ประเมินจากคุณภาพของผลงานของนักศึกษา และการทำข้อสอบหรือแบบทดสอบ
พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. คุณธรรมจริยธรรม | 2. ความรู้ | 3. ทักษะทางปัญญา | 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ | 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1.2 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 3.1 | 3.5 | 4.3 | 4.5 | 5.2 | 5.5 |
1 | ENGCC517 | หลักการของกลศาสตร์วิศวกรรม |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | คุณธรรมจริยธรรม | - เวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย การแต่งกาย - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10 |
2 | ความรู้ | - คะแนนการสอบย่อย - คะแนนการสอบกลางภาคเรียน - คะแนนการสอบปลายภาคเรียน | 3, 5, 10, 13, 8, 17 | 55 |
3 | ทักษะทางปัญญา | - การลำดับการแก้ไขบัญหาในการทำข้อสอบ | 3, 5, 8, 10, 13, 17 | 15 |
4 | ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ | - พฤติกรรมการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 15 |
5 | ทักษะวิเคราะห์เชิง ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ | - สังเกตความถูกต้องของการคำนวณด้วยเครื่องคิดเลข - พฤติกรรมการหาความรู้จากแหล่งภายนอกและการเรียนรู้ด้วยตนเอง | ตลอดภาคการศึกษา | 5 |
Meriam, J.L. and Kraige, L.G. Engineering Mechanics STATICS. 7th ed., Wiley.
Meriam, J.L. and Kraige, L.G. Engineering Mechanics DYNAMICS. 7th ed., Wiley.
Hibbeler, R. C.. Engineering mechanics 13th ed. New York: Macmillan.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้นิเทศการสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
จากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 มีการปรับปรุงการสอน โดยทำการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน โดยการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ