สถิติวิศวกรรม

Engineering Statistics

ศึกษาและทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ เข้าใจวิธีการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง  รู้วิธีการทดสอบสมมติฐานแบบพาราเมตริกและแบบนอนพาราเมตริก สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียวและสองปัจจัยได้ สามารถใช้ตัวแบบอนุกรมเวลา สามารถวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และเข้าใจการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการผลิตที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ ศึกษาการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง การทดสอบสมมติฐาน แบบพาราเมตริก และแบบนอนพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียว และสองปัจจัยแบบอนุกรมเวลา การวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียนการสอน จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะกรณีรายที่ต้องการ)
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร และสังคม
1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม และความเสียสละ
1.2.3 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงเวลา
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
1.3.3 พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
2.2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการประยุกต์ เพื่อให้เกิด องค์ความรู้
2.2.2 มอบหมายให้ทำรายงาน อภิปรายกลุ่ม
2.2.3 จัดให้มีการเรียนรู้จากบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการ
2.3.2 พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
2.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษาจากกรณีศึกษา
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 การให้ภาพรวมของความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน การสรุปย้ำความรู้ใหม่หลังบทเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม การเชื่อมโยงความรู้จากวิชาหนึ่งไปสู่อีกวิชาหนึ่งในระดับที่สูงขึ้น การเลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
3.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหาสาระ ได้แก่ การบรรยาย การทบทวน การฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล และเทคนิคการสอนอื่นๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนโดยการค้นคว้าด้วยตนเอง
3.2.3การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดความรู้ทฤษฎี สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,17 25%, 25%
2 การฝึกปฏิบัติตาม ใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้นคว้า งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษายกเว้นสัปดาห์สอบ 20%, 20%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้นคว้า งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
    “สถิติวิศวกรรม”, ประไพศรี และ พลศ์ชนัน, สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, 2549
Power Point Presentation  ทฤษฏีสถิติวิศวกรรม
Engineering Statistics”, Montgomery, D. C., Runger, G. C., & Hubele, N. F., 5th Edition, John Wiley & Sons., Asia, 2012