ออกแบบชุมชนเมือง

Urban Design

1. เพื่อให้นักศึกษา เข้าใจขอบเขตและความสำคัญของการออกแบบชุมชนเมืองหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง
2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความเป็นมา พัฒนาการ แนวคิดและหลักการ ในการออกแบบชุมชนเมือง
4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจองค์ประกอบเมือง การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม การสร้างสุนทรียภาพของพื้นที่ในชุมชนและเมือง
5. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการศึกษาค้นคว้ากรณีศึกษา การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล ในการออก แบบชุมชนเมือง
6. เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการออกแบบชุมชนเมืองในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือพัฒนาให้มีคุณภาพที่เหมาะสมต่อบริบทชุมชนและเมือง
เพื่อพัฒนาเนื้อหาของวิชาให้มีความทันสมัย การสอนภาคทฤษฎีสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 4 ชั่วโมง วางแผนมอบหมายงานภาคปฏิบัติ ด้วยการค้นคว้าและนำเสนอข้อมูลจากกรณีศึกษา กำหนดการปฏิบัติการสำรวจ วิเคราะห์พื้นที่ภาคสนาม เพื่อนำมาออกแบบพื้นที่ชุมชนและเมือง ตามกำหนดการที่มอบหมาย สามารถปฏิบัติการได้ทั้งในชั้นเรียนและภาคสนามรวมถึงการออกไปศึกษาดูงานกรณีศึกษาเพื่อสร้างประสบการณ์จริงในภาคสนามและมีการเข้าร่วมปฏิบัติการร่วมกับชุมชนในการพัฒนาชุมชนร่วมกับองค์กรณ์หรือหน่วยงานท้องถิ่น จึงได้ทำการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา BARAT508 ออกแบบชุมชนเมือง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการออกแบบชุมชนเมือง หลักการและแนวคิดในการออกแบบชุมชนเมือง การสร้างสุนทรียภาพ การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ฝึกปฏิบัติการออกแบบชุมชนเมืองในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือพัฒนา
 
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยประกาศเวลาให้คำปรึกษา
3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
กําหนดกติกาการเข้าเรียนและการส่งงาน ให้ความสําคัญและสร้างความตระหนักในบทบาท สถาปนิกชุมชนทีควรจะมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชนและสิงแวดล้อม ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และการสังเกตพฤติกรรม การเข้าเรียน การทำงานภาคสนาม งานภาคปฏิบัติ การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด  และ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชาออกแบบชุมชนเมือง นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการสำรวจภาคสนาม การศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.4 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
2.3.5 ประเมินจากการทำงานในภาคสนาม
   3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
   3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
  3.2.1  ใช้กรณีศึกษาการออกแบบชุมชนเมือง การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
  3.2.2   ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษาและการออกแบบ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนําเสนองาน
3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.3.1    ประเมินจากบทบาทของนักศึกษาในกลุ่ม และผลสำเร็จของงานแต่ละกลุ่ม 4.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม
4.3.1    ประเมินจากบทบาทของนักศึกษาในกลุ่ม และผลสำเร็จของงานแต่ละกลุ่ม 4.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม
 
 
2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีสำรวจภาคสนาม สัมภาษณ์ความต้องการ การใช้กรณีศึกษาการออกแบบชุมชนเมือง วิเคราะห์แนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
 
ประเมินตามสภาพจริง โดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT508 ออกแบบชุมชนเมือง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม -มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม การเข้าชั้นเรียน/พฤติกรรมในชั้นเรียน/การส่งงานตรงเวลา/มีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่มและสังคม 1-8 และ 10-17 ร้อยละ 10
2 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบทฤษฎีกลางภาค สอบทฤษฎีปลายภาค การนำเสนองานที่มอบหมาย และ การวิเคราะห์ สังเคราะห์กรณีศึกษามาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอผลงานการออกแบบ Final Project 9 สอบกลางภาค 17 สอบปลายภาค 1-8 และ10-16 ร้อยละ 20
3 ทักษะทางปัญญา -มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ จากการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเมืองหรือชุมชนและผลงานการออกแบบพัฒนาพื้นที่เมือง -มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ จากการวิเคราะห์ข้อมูลและกรณีศึกษานำมาประยุกต์ใช้ในผลงานการออกแบบพัฒนาพื้นที่เมือง 12-16 ร้อยละ 20
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ -สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม การทำงานกลุ่ม -สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม การศึกษาวิเคราะห์ แก้ปัญหาในพื้นที่จริง 1-8 และ 10-16 ร้อยละ10
5 ทักษะการสื่อสารและใช้เทคโนโลยี
6 ทักษะพิสัย -มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง ผลงานงานที่มอบหมาย และ งานFinal Projectมีการศึกษาข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง -มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน งานFinal Project ผลงานการออกแบบพัฒนาพื้นที่เมือง 14-16 ร้อยละ 40
     -หนังสือ / ตำรา
1.กฤตพร ห้าวเจริญ 2561. ทฤษฎีและแนวความคิดทางการวางแผนและผังเมือง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2.กำธร กุลชล. 2545. การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร การติดตามหาคำตอบในรอบ 40 ปี. มหาวิทยาลัยศิลปากร. พิมพ์ครั้งที่ 1
3. จิตติศักดิ์  ธรรมาภรณ์พิลาศ. 2558. สถาปัตยกรรมผังเมืองเบื้องต้น .สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ชูวิทย์ สุจฉายา. 2552. การอนุรักษ์เมือง. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.
5. ปรานอม ตันสุขานันท์. 2559. การอนุรักษ์ชุมชนเมือง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ภคนันท์ เสนาขันธ์ รุ่งแสง.  2556.  เมืองมีชีวิต: การใช้พื้นที่สาธารณะ.  กรุงเทพมหานคร: บริษัทลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำกัด.  แปลจาก J. Gehl.  1971.  Life Between Building.  Island press: Washington DC. และ J. Gehl. 2011.  Livert Mellem Husene.  Copenhagen
7. ระหัตร โรจนประดิษฐ์. 2558. การออกแบบชุมชนเมืองในสหราชอาณาจักร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ระหัตร โรจนประดิษฐ์. 2558. กระบวนการออกแบบชุมชนเมือง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจและศิวาพร กลิ่นมาลัย. 2556. จิตวิทยาสภาพแวดล้อม: มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่ อาศัย. กรุงเทพมหานคร: จี.บี.พี.เซ็นเตอร์.
10. สดใส ขันติวรพงศ์. 2550. ภูฐาน ต้นธาร ความสุขมวลรวมประชาชาติ: คิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา
11.องค์กรสหประชาชาติ. 2537. แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน.
12.อิทธิพร ขำประเสริฐ. 2554. แนวคิดและทฤษฎีการศึกษาทางสังคมวิทยาเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม.
    - เอกสารและข้อมูลสำคัญ/บทความวิชาการ
13.กนกวรรณ มะสุวรรณ และ ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์. 2564. การเปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมการออกแบบกลุ่มอาคารด้วยการใช้ Form-Based Codes กรณีศึกษาเมืองเดนเวอร์ (สหรัฐอเมริกา) ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และภูเก็ต (ประเทศไทย). JARS 18(1). 2021
14.กนกวรรณ อินทรีย์, มานัส ศรีวณิช และ จาตุรงค์ โพคะรัตน์ศิริ . 2565 การผสานแนวความคิด Form-Based Codes เข้ากับแนวทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อจำแนกบทบาทตามลำดับชั้นในพื้นที่ตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง. 13th Built Environment Research Associates Conference, BERAC 2022 June 27th, 2022
15. กรุณา รักษวิณ. 2555. Form-Based Codes ในงาน Urban Design.หน้าจั่ว: สถาปัตยกรรม การออก
แบบ และสภาพแวดล้อม. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
16 ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. 2541. ชีวิตชาวเมืองฝรั่งในยุคกลาง (European Urban Life in the Middle Ages). Journal of Letters, 27 (1), 8-22
17. ชวิตรา ตันติมาลา. 2560. พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(1), 92-103.
18.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. 2559. การออกแบบและพัฒนาชุมชนเมือง: สู่การสร้างสรรค์ความน่าอยู่อาศัย. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม. 3 (2). 3-23.
19. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. 2560. แนวทางการพัฒนาการออกแบบชุมชนเมืองด้วยการเติมเต็มบทบาททางวิชาชีพ. วารสาร Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS). 14(2).
20. สิทธิพร ภิรมย์รื่น. 2526. การออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพเพื่อป้องกันอาชญากรรม, NAJUA: Architecture, Design and Built Environment: Vol. 3 (1983).
21. สิทธิพร ภิรมย์รื่น. 2550. การออกแบบชุมชนเมืองที่น่าอยู่และยั่งยืน: ทฤษฎีและประสบการณ์, NAJUA: Architecture, Design and Built Environment: Vol. 22(2007): กันยายน 2549 - สิงหาคม 2550
22. สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี. 2558. องค์ประกอบในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบและสภาพแวดล้อม.วารสารวิชาการประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(1), 475-488.
23. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548 “มองให้ไกล ไปให้ถึง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย” เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
ข้อกำหนดทางกฎหมาย
24. กฎกระทรวง กำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549. เล่ม 123 ตอนที่ 70 ก 5 ราชกิจจานุ เบกษา 5 กรกฎาคม 2549. เข้าถึงจาก https://act.or.th/uploads/legal/1/ministerial-vocation.pdf เมื่อ 15 กันยายน 2566
25. ประกาศสภาสถาปนิก เรื่อง มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ว่าด้วยขอบเขตและขั้นตอนในการปฏิบัติวิขาชีพ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง พ.ศ. 2558. เข้าถึงจาก https://act.or.th/uploads/legal/81/standard_of_urban_architecture.pdf เมื่อ 15 กันยายน 2566
 
      - ตำราและหนังสืออ้างอิง ภาษาอังกฤษ
26. Jacobs, J.  1961.  The death and life of great American cities.  New York: Vintage.
27. Gehl, J.  2010. Cities for People.  Washington DC: Island press.
28. Lang, Jon. 2005. Urban Design a Typology of procedures and products. Oxford, England: Burling Ton, MAElsevier/Architectural Press, 2005.
29. Lynch, K. 1960. The Image of the City. Cambridge, MA: MIT Press.
      -Internet-online
30. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2014.  พัฒนาสู่การเป็นเมืองศิวิไลซ์: กรณีตัวอย่างเมืองคูริติบา เข้าถึงจาก
https://drdancando.com/พัฒนาสู่การเป็นเมืองศิวิไลซ์-กรณีตัวอย่างเมืองคูริติบา/ เมื่อ20 ตุลาคม 2566
31. สมาคมสถาปนิกสยาม. 2021.ประกวดแบบแก่งคอยเมืองสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด green city
เข้าถึงได้จาก  https://asa.or.th/news/kaengkoi-creative-green-city-competition-2021-2/  เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
32. Healthy Space Forum. 2566. เครื่องมือทางผังเมืองที่ช่วยแก้ปัญหาภายในเมืองด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. เข้าถึงได้จาก https://healthyspaceforum.org/en/projects/.เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
33. Mae kha City Lab. 2018. IMAGINE MAE KHA.  เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ImagineMaeKha  เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
34. Singhanat Sangsehanat. 2020. อัตลักษณ์เมือง: ความหมาย ความสำคัญ และเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง. เข้าถึงได้จาก https://sangsehanat-s.medium.com/อัตลักษณ์เมือง-ความหมาย-ความสำคัญ-และเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง-d2431eb2329f. เมื่อ 1 สิงหาคม 2566
35.Uma Phanita Surinta. 2018. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่องานออกแบบชุมชนเมือง. เข้าถึงได้จาก https://medium.com/umapupphachai/analysis-e2b808bdf693 เมื่อ 20 ตุลาคม 2566
36. Uma Phanita Surinta. 2018. การวิเคราะห์กายภาพเมือง เข้าถึงได้จาก
https://medium.com/umapupphachai/urban-morphology-66e3c9e5bc1f เมื่อ 20 ตุลาคม 2566
37. Uma Phanita Surinta. 2018. การนำไปสู่การปฏิบัติของงานออกแบบชุมชนเมือง. เข้าถึงได้จาก
https://medium.com/umapupphachai/implementation-340104fa071d เมื่อ20 ตุลาคม 2566
38.  Uma Phanita Surinta. 2018. การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบชุมชนเมือง เข้าถึงได้จาก
https://medium.com/umapupphachai/synthesis-5db2ed8a4af เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566
39. Uma Phanita Surinta. 2018. Urban Design Guidelines ข้อเสนอแนะแนวทางในการออกแบบเมืองเข้าถึงได้จาก https://medium.com/umapupphachai/design-guidelines-cddcc22b8e93 เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566
40. Uma Phanita Surinta. 2018. Urban design considerations ข้อพิจารณาในงานออกแบบชุมชนเมือง เข้าถึงได้จาก https://phanita.medium.com/urban-design-considerations-de78cb636802 เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566
41. Uma Phanita Surinta. 2018. SWOT analysis การวิเคราะห์เมืองด้วยเทคนิค SWOT เข้าถึงได้จาก 
https://medium.com/umapupphachai/swot-analysis-2c95084bb6a2 เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566
42. Uma Phanita Surinta. 2018. User and Behavioral Analysis. เข้าถึงได้จาก https://medium.com
/umapupphachai/user-and-behavior-analysis-8ed38c9ef367 เมื่อ1 ตุลาคม2566
43. Uma Phanita Surinta. 2018. Elements of urban identity องค์ประกอบที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของเมือง. เข้าถึงได้จาก  https://medium.com/umapupphachai/key-areas-938002e8a290  เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
 
44. Uma Phanita Surinta. 2019. หกวิธีการออกแบบเมืองสุขภาวะ เข้าถึงได้จาก https://medium.com/ umapupphachai/ หกวิธีการออกแบบเมืองสุขภาวะ-73fe457337f8 เมื่อ 4 กันยายน 2566
45. Uma Phanita Surinta. 2019. Visual survey การสำรวจเมืองด้วยสายตา เข้าถึงได้จาก 
https://medium.com/umapupphachai/visual-survey-f73137289321 เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
46. Uma Phanita Surinta. 2020. What is urban design? งานออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร. เข้าถึงได้จาก  https://phanita.medium.com/what-is-urban-design-ec6d1f172c78 เมื่อ 1 ตุลาคม 2566
47.Uma Phanita Surinta. 2023. องค์ประกอบของงานออกแบบชุมชนเมือง เข้าถึงได้จาก
https://medium.com/umapupphachai/elements-of-urban-design-d157c2d8e9b2 เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
48. Uma Phanita Surinta. 2024. Mid-Period of Modernist Urban Planning เข้าถึงได้จาก
https://medium.com/@phanita/mid-period-of-modernist-urban-planning-cddef44e6d2a
เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
49.Uma Phanita Surinta. 2024. Modernist Urban Planning ผังเมืองสมัยใหม่   เข้าถึงได้จาก https://medium.com/@phanita/modernist-urban-planning-0121bcaf8b26 เมื่อ 4 ตุลาคม 2566
50 URDRU: Urban Renewal and Development Research Unit. 2017. การพัฒนาพื้นที่ชุมชนวัดนิมมานรดี Community Rehabilitation Project  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เข้าถึงได้จาก https://www.urban.arch.chula.ac.th/archive /ชุมชนวัดนิมมานรดี/ เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
51. Urban Studies Lab. 2023. คลองผดุงกรุงเกษมแบบไหนที่ประชาชนต้องการ เข้าถึงได้จาก https://www.uslbangkok.com/blog/categories/cities-diary  เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566
รายงานฉบับสมบูรณ์-รายงานวิจัย-วิทยานิพนธ์
52. กนกวรรณ คชสีห์. 2546. โครงการปรับปรุงระบบพื้นที่เปิดโล่งและกิจกรรมบริเวณสองฝั่งแม่น้าปิง เมืองเชียงใหม่. URBAN DESIGN STUDIO 3. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
53. การเคหะแห่งชาติ และ สาขาสถาปัตยกรรม มทร. ล้านนา. 2555. โครงการฟื้นฟูเมืองการอยู่อาศัยในภูมิภาค ขอบเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
54. เครือข่ายนักผังเมืองเชียงใหม่. 2554. โครงการปฎิบัติการเชียงใหม่เอี่ยมด้านผังเมือง.
55. พิกุล สิทธิประเสริฐกุล และครรชิต จูประพัทธศรี. 2556. กระบวนการฟื้นฟูเมืองเก่า (Machizukuri) ในโตเกียวและเกียวโต: บทเรียนสำหรับการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าในประเทศไทย กรุงเทพฯ. บางกอกฟอรั่ม
56. ศิวพงศ์ ทองเจือ.2552. บทบาทการทำงานของนักออกแบบชุมชนเมืองในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
57. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558. โครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าและอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน.
58. ศูนย์บริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2546. โครงการนำร่องเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา สภาพแวดล้อมคลองอัมพวา
 สอบถามนักศึกษาถึงจุดอ่อน จุดแข็งของรายวิชาและสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงขณะสอน  แบบประเมินรายวิชา
 2.1 แบบประเมินการสอน
 2.2 ข้อมูลจาก มคอ.5 ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
3.1  นำผลการประเมินรายวิชา และการประเมินการสอนมาปรับปรุงในจุดอ่อน
3.2  แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่มีเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนของนักศึกษา
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงแผนการสอนทุกปี
5.2   การปรับปรุงรายวิชาตามรอบการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี