การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Small and Medium-Sized Business Management

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจหลักการในการประกอบธุรกิจขนาดย่อม

1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจ วงจรของธุรกิจตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไปจนถึงช่วงเติมโต

1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจรูปแบบทางกฎหมายในการจัดตั้งธุรกิจ การบริหารจัดการธุรกิจทั้งด้านการวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ธุรกิจ แผนธุรกิจ การจัดการตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการผลิต การจัดการเงิน การจัดการความเสี่ยง การฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจของธุรกิจขนาดย่อม

1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ โดยนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนธุรกิจหรือดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
           เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม เข้าถึงประเด็นสำคัญ และความท้าท้ายของธุรกิจในปัจจุบัน สามารถวางแผนและวิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ หรือสามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้
           ลักษณะสําคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความท้าทายและประเด็นใน การจัดการที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเริ่มต้นการประกอบธุรกิจ ประเภทและรูปแบบของธุรกิจ การวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ธุรกิจ แผนธุรกิจ การจัดการตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการผลิต การจัดการเงิน การจัดการความเสี่ยง การฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจของธุรกิจขนาดย่อม การฝึกวิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากกรณีศึกษา 
ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเป็นรายกลุ่ม และรายบุคคล 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 
**ตามความต้องการเฉพาะกลุ่ม/ราย

1) ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่กำหนดโดยผู้สอน

2) ให้คำปรึกษา ณ ห้องพักอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก
      1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสํานึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อ ตนเองและผู้อื่น
      1.1.2 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
      1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลําดับความสําคัญ
      1.2.1 ปลูกฝังความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพโดยยกตัวอย่างนักธุรกิจที่มีจริยธรรมสอดแทรกในการสอน รวมทั้งชี้แจงเรื่องระเบียบการลงโทษผู้ทุจริตในการสอบ คัดลอกงานของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
      1.2.2 ปลูกฝังการเคารพกฎระเบียบ รวมถึงมารยาททางสังคมที่พึงปฏิบัติ โดยอิงกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์
      1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยการเข้าชั้นเรียนและส่งงานตรงเวลา
      1.2.4 มอบหมายงานกลุ่มเพื่อฝึกความเป็นผู้นำ การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เข้าใจการใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ รู้จักอดทนและรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
      1.3.1 การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเป็นนักธุรกิจที่มีจริยธรรม
      1.3.2้ การเข้าชั้นเรียนและการส่งงานครบถ้วน ตรงต่อเวลา เป็นประจำและสม่ำเสมอ
      1.3.3 การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
      1.3.4 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มและการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
      2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สําคัญในเนื้อหาของ สาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
      2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต่องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวัน
      2.1.3 มีความรู้และความเข้าในในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
      2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
      2.2.1 บรรยายหลักการ ประกอบการยกตัวอย่าง และเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดกว้าง
      2.2.2 มอบหมายงาน และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละหน่วยการเรียน ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ทั้งในลักษณะเดี่ยว หรือกลุ่ม
      2.2.3 บรรยาย และสอดแทรก การประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เรียน เพื่อให้นักศึกษานำไปปฏิบัติจริง 
      2.2.4. มอบหมายให้ค้นคว้าเพ่ิมเติม ทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน
      2.3.1 การสอบย่อยในชั้นเรียน
      2.3.2 การสอบกลางภาค และปลายภาค
      2.3.3 ประเมินจากผลของงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ
      2.3.4 การมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีในชั้นเรียน
      2.3.5 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน/แผนธุรกิจในชั้นเรียน
      3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
      3.1.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
      3.1.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
      3.2.1 จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่จำลองขึ้น ศึกษากรณีศึกษาทางธุรกิจ เพื่อฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ เหมาะสม และสอดคล้องกับรายวิชา
      3.2.2 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีนอกเหนือจากการอธิบายเนื้อหาในชั้นเรียน โดยยกตัวอย่าง และสอดแทรกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว โดยอิงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
      3.2.3 จัดกิจกรรม หรือการอภิปรายกลุ่ม ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิด และแลกเปลี่ยนทัศนคติร่วมกัน
      3.2.4 มอบหมายงานเพื่อการค้นคว้าทางวิชาการและการคิดวิเคราะห์
      3.3.1 ตรวจสอบความถูกต้องของงานที่ได้รับมอบหมาย และกรณีศึกษาที่วิเคราะห์ ตามสภาพจริงของผลงาน
      3.3.2 ตรวจการนำเสนอเนื้อหา และแนวความคิดเชิงบวก
      3.3.3 สังเกตความตั้งใจรายบุคคลในการร่วมกิจกรรม หรือการอภิปรายกลุ่ม
      4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 
      4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
      4.1.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้ง ในบทบาทของผู้นําและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางา
      4.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา โดยให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือกันปฏิบัติงาน กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม ตลอดจนมีการสอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
      4.2.2 กำหนดให้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานอย่างชัดเจน
      4.2.3 กระตุ้นให้นักศึกษาทุกคนแสดงความคิดเห็นและรับฟังผู้อื่นในกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
      4.3.1 ตรวจความถูกต้องของเนื้อหา
      4.3.2 สังเกตพฤติกรรม และการแสดงออกของนักศึกษาจากการนำเสนองาน และการตอบคำถาม
      4.3.3 พฤติกรรมจากการระดมสมอง (Brainstorming)
      5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจําวัน
      5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค
      5.2.1 กำหนดให้นักศึกษาฝึกทำแบบฝึกในชั้นเรียน และวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง/กรณีศึกษา
      5.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาสภาพการณ์และแนวโน้มของธุรกิจโดยนำหลักการทางทฤษฎีและการวิเคราะห์ทางสถิติมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางดำเนินธุรกิจในการจัดทำแผนธุรกิจขนาดย่อม
      5.2.3 ฝึกปฏิบัติสื่อสารผลงานโดยใช้สื่อทางเทคโนโลยีด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
      5.3.1 ประเมินจากรายงานที่ศึกษาค้นคว้าตามที่มอบหมายซึ่งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
      5.3.2 สังเกตเทคนิคการนำเสนองาน ลูกเล่น การใช้สื่อประกอบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง
      5.3.3 ประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และการอธิบายความ
      6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนําองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
      6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ นํามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
      6.1.3 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทํางาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดําเนินชีวิต
      6.1.4 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิด
      6.2.1 เรียนรู้เนื้อหา หลักการ และศึกษากรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง จากสถานการณ์ปัจจุบัน และจากผู้ประกอบการรายย่อยที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ
      6.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ SMEs
      6.3.3 จัดกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง โดยแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
      6.3.1 ประเมินจากความพร้อม พฤติกรรม และความตั้งใจในการร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา
      6.3.2 ประเมินผลจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA254 การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-9 - แบบทดสอบกลางภาค - แบบทดสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และ 17 60%
2 หน่วยที่ 1-9 - รายงานและการนำเสนอ - งานมอบหมาย - การวิเคราะห์กรณีศึกษา - การอภิปรายในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 1-17 30%
3 หน่วยที่ 1-9 - คุณธรรม จริยธรรม และการเคารพกฎระเบียบ - การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา - การมีส่วนร่วม และความสนใจในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 1-17 10%
- กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2561). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเพลส คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด.
- ฉัตยาพร เสมอใจ. (2558). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
- พีรญา กัณฑบุตร. (2566). SMEs การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก. เพชรบุรี: สำนักพิมพ์ไรเตอร์โซล.
- สุธีรา อะทะวงษา. (2560). การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เชียงใหม่: หจก.เชียงใหม่  โรงพิมพ์แสงศิลป์.
- ตัวอย่างแผนธุรกิจ
- BMC Model
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม
- การตอบแบบประเมินความพึงพอใจในรายวิชา
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- ข้อเสนอแนะผ่านสื่อออนไลน์ ตามช่องทางที่ผู้สอนกำหนด ให้นักศึกษาสามารถสอบถาม และแสดงความเห็นได้
- ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษา
- สังเกตการณ์สอน ได้แก่ ระดับผลการเรียน และความสนใจของนักศึกษา
- การปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่าง กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมในชั้นเรียนให้เป็นปัจจุบัน
- พัฒนาสื่อ และวิธีการสอน
- บูรณาการงานวิจัยร่วมกับการเรียนการสอน
- การทวนสอบผลคะแนน และประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และกรรมการ
- การตรวจผลงาน
- ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมิน
- ปรับการเรียนการสอน หรือหัวข้อบางประเด็นตามผลการเรียนรู้
- การหมุนเวียนเปลี่ยนผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดมุมมอง ความคิด ความเข้าใจ ทักษะเชิงวิชาการจากผู้สอน