การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น
Auditing and Assurance
1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึง วัตถุประสงค์และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบงบการเงิน
1.2 เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์ใช้มาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้อง (เช่น มาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศ) และกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบงบการเงิน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ตั้งแต่ประเมินความเสี่ยงของข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินและพิจารณาถึงผลกระทบต่อกลยุทธ์การตรวจสอบการจัดทำแนวการตรวจสอบบัญชี การสอบทานและการควบคุมงานสอบบัญชีตลอดจนเทคนิคและวิธีการตรวจสอบ
1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้วิธีเชิงปริมาณที่ใช้ในงานตรวจสอบและเข้าใจการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตรวจสอบ
1.5 อธิบายองค์ประกอบสำคัญของงานให้ความเชื่อมั่นและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น
1.2 เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์ใช้มาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้อง (เช่น มาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศ) และกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบงบการเงิน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ตั้งแต่ประเมินความเสี่ยงของข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินและพิจารณาถึงผลกระทบต่อกลยุทธ์การตรวจสอบการจัดทำแนวการตรวจสอบบัญชี การสอบทานและการควบคุมงานสอบบัญชีตลอดจนเทคนิคและวิธีการตรวจสอบ
1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้วิธีเชิงปริมาณที่ใช้ในงานตรวจสอบและเข้าใจการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตรวจสอบ
1.5 อธิบายองค์ประกอบสำคัญของงานให้ความเชื่อมั่นและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น
2.1 เพิ่มกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีจากสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ทฤษฎีที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้
2.2 ปรับจากการเรียนทฤษฎี 3 ชั่วโมงเป็น ทฤษฎี 2 ชั่วโมง และปฏิบัติอีก 2 ชั่วโมงเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการสอนของอาจารย์เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชา โดยผ่านทางเวปไซด์ของสาขาการบัญชี (http://www.bacc.rmutl.ac.th)
2.2 ปรับจากการเรียนทฤษฎี 3 ชั่วโมงเป็น ทฤษฎี 2 ชั่วโมง และปฏิบัติอีก 2 ชั่วโมงเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการสอนของอาจารย์เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชา โดยผ่านทางเวปไซด์ของสาขาการบัญชี (http://www.bacc.rmutl.ac.th)
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดความสำคัญของการสอบบัญชีที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน วิวัฒนาการและวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี ประเภทของการตรวจสอบและบริการให้ความเชื่อมั่น กรอบแนวคิดสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีในกรณีต่าง ๆ ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการพิจารณาการทุจริตในรายงานการเงิน จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการประเมินความเสี่ยง ความมีสาระสําคัญ การวางแผนและการกําหนดแนวการตรวจสอบหลักฐานการสอบบัญชี การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี การบันทึกผลการตรวจสอบและการจัดทำเอกสารการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี วิธีการตรวจสอบรายการที่สำคัญในงบการเงินและและการเปิดเผยข้อมูล การสรุปผลการตรวจสอบและการจัดทำรายงานการสอบบัญชี และการตรวจสอบและรับรองภาษีอากร การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการให้บริการความเชื่อมั่น และการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี
3.1 อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาโปรแกรม Microsoft team ได้ตลอดเวลา
3.2 นักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในข่าว บทความวิชาการ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้สอนแชร์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในชื่อ “พี่น้องตีนดอยเรียนออดิทกัน”
3.3 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
3.2 นักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในข่าว บทความวิชาการ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้สอนแชร์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในชื่อ “พี่น้องตีนดอยเรียนออดิทกัน”
3.3 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
บรรยายผ่านระบบออนไลน์ พร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเช็คชื่อ รวมทั้ง สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงในการศึกษารายวิชานี้ เช่นการส่งงาน การเข้าเรียน ความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายให้
อภิปรายร่วมกันให้กลุ่มเรียนในระบบ Microsoft Team (CM Auditing & Assurance by Aj. Wit)
มอบหมายกรณีศึกษา/ข่าวเกี่ยวกับจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพ และเขียนบทความแสดงความเห็นตามขอบเขตที่กำหนด
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาขณะเรียนในระบบออนไลน์
ประเมินจากกรณีศึกษาและงานที่มอบหมายให้
ประเมินจากการตอบคำถามและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการอภิปรายในชั้นเรียน การแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ในชั้นเรียนและลงทะเบียนเข้าเรียน
5) ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยและความซื่อสัตย์รายบุคคล
6) บันทึกการจัดส่งงานและ ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
5) ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยและความซื่อสัตย์รายบุคคล
6) บันทึกการจัดส่งงานและ ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติงานด้านบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
มีความรู้และความเข้สใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงาน ในองค์กรธุรกิจ
การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย
วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดง ความคิดเห็น
ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงานรวมทั้งการใช้ความรู้การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจ
เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียน ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ประเมินจากการสอบข้อเขียน
ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | ความรู้ | ทักษะทางปัญญา | ทักษะความสัมพันธ๋์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | คุณธรรม จริยธรรม | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 4 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 3 |
1 | BACAC135 | การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | คุณธรรม จริยธรรม | - ประเมินผลจากAssignment ท้ายบท และรายงานผลจากการศึกษาด้วยตนเองของนักศึกษา - ประเมินผลจากงานที่นักศึกษาส่งว่าเป็นการทำงานด้วยตนเอง ไม่ได้ลอกงานของผู้อื่นมาส่ง และจำนวนนักศึกษาที่ทุจริตการสอบ - ประเมินจากการให้คะแนนการเข้าห้องเรียนและการส่งงานตรงเวลา - ประเมินจากความรับผิดชอบและการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต - ประเมินจากระดับ Defined Issue Test (การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ) | 1-16 | 10% |
2 | ความรู้และทักษะทางปัญญา | - ทดสอบหลักการและทฤษฎีท้ายบทเรียนโดยการสอบย่อย และให้คะแนน - ประเมินจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดในห้องเรียน - ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงานที่ให้ค้นคว้า - ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค | 5 9 13 และ 17 | 70% |
3 | ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | -ประเมินจากผลงานของผู้เรียนทั้งรูปแบบการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงานที่เป็นรูปเล่ม -ประเมินจากเทคนิคที่นำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 1-17 | 10% |
4 | ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณธรรม จริยธรรม | ให้จัดทำ Clip VDO เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม | 15 | 10% |
เอกสารประกอบการสอนโดย ผศ.ดร.วรวิทย์ เลาหะเมทนี
(ปรับปรุง กรกฎาคม 2566)
(ปรับปรุง กรกฎาคม 2566)
1. นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร, การสอบบัญชีและบริการให้ความเชื่อมั่น, กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน ที พี เอ็น เพรส , 2567
2. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ , มาตรฐานการสอบบัญชี.
3. ขวัญสกุล เต็งอำนวย, แนวการจัดทำกระดาษทำการของผู้สอบบัญชี, กรุงเทพมหานคร, 2567.
2. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ , มาตรฐานการสอบบัญชี.
3. ขวัญสกุล เต็งอำนวย, แนวการจัดทำกระดาษทำการของผู้สอบบัญชี, กรุงเทพมหานคร, 2567.
http://www.tfac.or.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ทดสอบเพื่อวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ (ด้านความรู้และทักษะ) ของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.4 มอบหมายโครงงาน (clip video) เพื่อประเมินทักษะด้านเทคโนโลยี การนำเสนอ และความเข้าใจด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ทดสอบเพื่อวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ (ด้านความรู้และทักษะ) ของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.4 มอบหมายโครงงาน (clip video) เพื่อประเมินทักษะด้านเทคโนโลยี การนำเสนอ และความเข้าใจด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้และปัญญาดำเนินการดังนี้
4.1.1 จัดทำแผนการสอน กรณีศึกษาและข้อสอบ เสนอต่อกรรมการทวนสอบที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแต่งตั้ง เพื่อพิจารณาว่าสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตาม มอค. 2 และ IES หรือไม่
4.1.2 หลังจากสำเร็จวิชา Auditing นักศึกษาจะต้องเข้ารับการฝึกงาน ณ สถานประกอบการภายนอก อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตรจะทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการด้านการสอบบัญชีที่ใช้นักศึกษาฝึกงานในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อวัดว่านักศึกษาสามารถนำผลสัมฤทธิ์ด้านปัญญาและความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ดีเพียงใด โดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล
4.2 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม จะทดสอบโดยใช้แบบตัววัดจริยธรรมหรือจรรยาวิพากษ์ (DIT) ของ Rest (1976) และการวัดค่านิยมเชิงวิชาชีพบัญชีของ Schwarzt (1995) โดยจะทดสอบแบบทดสอบดังกล่าวทั้งก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มของระดับคุณธรรมจริยธรรม
4.3 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะกระทำโดยให้นักศึกษานำเสนองานหน้าชั้นเรียนในตอนปลายภาคเรียนและตอนฝึกงาน และสังเกตทักษะการนำเสนอและการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
4.4 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.1 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้และปัญญาดำเนินการดังนี้
4.1.1 จัดทำแผนการสอน กรณีศึกษาและข้อสอบ เสนอต่อกรรมการทวนสอบที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแต่งตั้ง เพื่อพิจารณาว่าสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตาม มอค. 2 และ IES หรือไม่
4.1.2 หลังจากสำเร็จวิชา Auditing นักศึกษาจะต้องเข้ารับการฝึกงาน ณ สถานประกอบการภายนอก อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตรจะทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการด้านการสอบบัญชีที่ใช้นักศึกษาฝึกงานในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อวัดว่านักศึกษาสามารถนำผลสัมฤทธิ์ด้านปัญญาและความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ดีเพียงใด โดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล
4.2 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม จะทดสอบโดยใช้แบบตัววัดจริยธรรมหรือจรรยาวิพากษ์ (DIT) ของ Rest (1976) และการวัดค่านิยมเชิงวิชาชีพบัญชีของ Schwarzt (1995) โดยจะทดสอบแบบทดสอบดังกล่าวทั้งก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มของระดับคุณธรรมจริยธรรม
4.3 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะกระทำโดยให้นักศึกษานำเสนองานหน้าชั้นเรียนในตอนปลายภาคเรียนและตอนฝึกงาน และสังเกตทักษะการนำเสนอและการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
4.4 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์และงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์และงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง