การเงินธุรกิจสมัยใหม่

Modern Business Finance

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเงินธุรกิจ หน้าที่ เป้าหมายและความสำคัญของการเงินธุรกิจ 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าของเงินตามกาลเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนของเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน 3. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าของเงินตามกาลเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนของเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน 4. เพื่อให้นักศึกษาทราบที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีการเงินสำหรับธุรกิจ สกุลเงินดิจิทัล แหล่งเงินทุน ธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล 5. เพื่อให้นักศึกษาทราบความสำคัญของจรรยาบรรณนักวางแผนการเงินทางธุรกิจ
การเงินธุรกิจสมัยใหม่ (BBACC117)หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 ปรับปรุงจากรายวิชาการเงินธุรกิจ (BBACC107) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 มีวัตถุประสงค์การพัฒนาปรับปรุงรายวิชาคือ 1. เพื่อให้รายวิชามีความเหมาะสม ทันสมัยกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ให้ความสำคัญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกับการเงินธุรกิจสมัยใหม่ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจการจัดการทางการเงินของธุรกิจสมัยใหม่ 3. เพื่อสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการทางการเงินของธุรกิจสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้เกิดการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตได้
ความหมายของการเงินธุรกิจ หน้าที่ เป้าหมาย และความสำคัญของการเงินธุรกิจ การวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าของเงินตามเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน ที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีการเงินสำหรับธุรกิจ สกุลเงินดิจิทัล แหล่งเงินทุน ธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล จรรยาบรรณของนักวางแผนการเงินทางธุรกิจ
15 นาที - 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับให้คำปรึกษาหรือแนะนำเป็นรายบุคคล
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม : (1) มีความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบณณทางวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น (2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม (3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม : มีการจัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการอธิบายระเบีบลงโทษผู้ทุจริตในการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความเห็น 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม และจริยธรรม (1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ (2) ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (3) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย (4)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน (5) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ : (1) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของรายวิชาการเงินธุรกิจสมัยใหม่ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ : จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชาการเงินธุรกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้จากตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ การมอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้ด้านทฤษฏี และการบรรยายในชั้นเรียน การถาม-ตอบ
การยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (1) การประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น การทำแบบฝึกหัดที่มอบหมาย / การทดสอบย่อย / การนำเสนองานกลุ่มจากรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน (2) การสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน (3) ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา (4) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน (5) ผลจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่จะทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (1)  การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน (2)  การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา : ประเมินจากการนำเสนอรายงาน กรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบที่มีลักษระการแก้ปัญหา อธิบาย แนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมา
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ (2) มีความสามารถในการแสดงความคิดเริ่ม แสดงความเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ : (1) ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์ในเนื้้อหารายวิชา (2)  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผุ้นำและผู้ตาม (3) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (1) ประเมินพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่าของนักศึกษา (2) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา (3) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstroming)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน (2) สามารถใช้หรือสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่เป็นศัพท์ของรายวิชาที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร (2) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายและการเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม (2) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลขที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)   (1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on) (1) จัดให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on) (1) พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 1 2 1 2 1 2 3 1
1 BBACC117 การเงินธุรกิจสมัยใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบถลางภาค เนื้อหาบทที่ 1-9 9 30%
2 1,2,3,4,5 งานที่มอบหมาย 15-16 30%
3 2,3,5 สอบปลายภาค (บทที่ 10-14) 18 30%
4 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
ชไมพร รัตนเจริญชัย. การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ บริษัททริปเปิ้ลเอ็ดดูเคชั่น, 2555   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. พื้นฐานการเงินธรกิจ (corporate finance)  ภายใต้หลักสูตรการวิเคราะห์และการจัดการลงทุนขั้นพื้นฐาน (foundation knowledge) ของหลักสูตร CISA ใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
รายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ห้องเรียนนักลงทุน SET e-learning ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา การให้คำปรึกาาเป็นรายบุคคล
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 เข้ารับการอบรมสัมมนาเพิ่มเติมด้านเทคนิคการจัดการเรียนการสอน 3.2 การทำวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ