วัสดุวิศวกรรม

Engineering Materials

เพื่อเข้าใจขั้นตอนพื้นฐานการผลิตวัสดุในงานวิศวกรรม การกำหนดมาตรฐานสมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุ ขีดจำกัดในการนำไปใช้งานของวัสดุชนิดโลหะกลุ่มเหล็ก โลหะนอกกลุ่มเหล็ก โพลีเมอร์เซรามิกส์ วัสดุคอมโพสิต แอลฟัลท์ ไม้ คอนกรีต และวัสดุงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐานการผลิตวัสดุในงานวิศวกรรม          
2. เพื่อศึกษาการกำหนดมาตรฐานสมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุ          
3. เพื่อศึกษาขีดจำกัดในการนำไปใช้งานของวัสดุชนิดโลหะกลุ่มเหล็กโลหะนอกกลุ่มเหล็ก          
4. เพื่อศึกษาขีดจำกัดการนำไปใช้โพลีเมอร์เซรามิกส์ วัสดุคอมโพสิต แอลฟัลท์          
5. เพื่อศึกษาขีดจำกัดการนำไปใช้ไม้ คอนกรีต และวัสดุในงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ โพลิเมอร์ พลาสติก ยางมะตอย ไม้ คอนกรีต เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย การทดสอบสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมายสมบัติทางกลและการเสียหายของวัสดุ
3.1 อ.นันทยา  เก่งเขตร์กิจ ห้องพักอาจารย์อาคาร 2 สำนักงานสาขาวิทยาศาสตร์  เวลา 9:00 – 16:00 น. โทร 061-5922665 e-mail; nanthaya@rmutl.ac.th 
3.2 อ.สุจิตตรา อินทอง ห้องพักอาจารย์อาคาร 2 สำนักงานสาขาวิทยาศาสตร์  เวลา 9:00 – 16:00 น. โทร 082-3858944 E-mail: s.inthong@rmutl.ac.th 
แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
ประเมินผลตลอดภาคเรียน ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ  ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจ องค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะส
ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2
1 TEDCC825 วัสดุวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 4.3 การเข้าชั้นเรียนและพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
2 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 4.1, 4.2, 4.3 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40
3 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 ทดสอบย่อย 2-7, 9-16 10
4 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 สอบกลางภาค 8 20
5 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 สอบปลายภาค 17 20
-  รศ.แม้น อมรสิทธิ์ และผศ.ดร.สมชัย อัครทิวา, วัสดุวิศวกรรม (2544)          
-  ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ, วัสดุวิศวกรรม (2552) 
-  Paper จากฐานข้อมูลต่าง ๆ
-  เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
-  การประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษา  
-  ผลการเรียนและผลการทำงานกลุ่มของนักศึกษา          
-  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
-  พิจารณาจากผลการเรียนของนักศึกษา          
-  พิจารณาจากการประเมินของนักศึกษา          
-  พิจารณาจากความเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร
-  ประชุมอนุมัติเกรดนักศึกษา          
-  ทวนจากคะแนน และงานที่มอบหมาย
 -  นำผลการประเมินการสอนและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ มาพิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอน