กระบวนการแปรรูปอาหาร

Food Processing

          1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปอาหารทางอุตสาหกรรม           
          1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและสามารถใช้เครื่องมือทางกระบวนการแปรรูปอาหาร                    
          1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจนวัตกรรมการผลิตอาหารในอุตสาหกรรม 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านนวัตกรรมการแปรรูปอาหารด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ และรู้จักระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการและเครื่องมือทางการแปรรูปอาหาร ประกอบด้วย การสมดุลมวลสารของกระบวนการ การเตรียมวัตถุดิบ การแปรรูปด้วยความร้อนและความดัน การทำแห้ง และการทำให้เข้มข้น การเก็บถนอมที่อุณหภูมิต่ำ เทคโนโลยีการแปรรูปทั่วไปและเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่ รวมไปถึงระบบอัตโนมัติในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ และกระบวนการแปรรูปสำหรับอุตสาหกรรมอาหารประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม การแปรรูปอาหารสำเร็จแช่แข็ง
3
1. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
4. สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 
5. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียนวินัย ให้ความสำคัญกับการเข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
2. เน้นย้ำกับนักศึกษาเรื่องการแต่งกายให้ตรงระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
4. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ จากประสบการณ์การทำงาน พร้อมแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวที่ดีในสังคมของการทำงาน
 
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรมการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
(2) สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตในงานที่ได้รับมอบมาย และการสอบ ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสม
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
(1) มุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎีกระบวนการแปรรูปอาหาร และการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงปฏิบัติ
(2) การฝึกทักษะด้านกระบวนการแปรรูปอาหารในสถานประกอบการร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เชียงใหม่ ในด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนม
(1) ประเมินจากแบบทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
(2) ประเมินจากการฝึกปฏิบัติในสายการผลิต ทำรายงานการฝึกปฏิบัติ การตอบคำถามระหว่างการปฏิบัติ และการนำเสนองานหลังจากการฝึกปฏิบัติ โดยการตอบคำถาม การนำเสนอต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องตามหลักการและงานที่ฝึกปฏิบัติ
(3) ประเมินจากการทำปฏิบัติการ และการทำรายงานผลการทดลองวิชาปฏิบัติการ โดยในรายงานต้องประกอบไปด้วยหัวข้อตามที่กำหนด และมีการสรุปวิเคราะห์ผล นำเสนอการวิจารณ์ผล ข้อคิดเห็นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายในรูปแบบ Active learning มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ การอภิปรายกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสสามารถเชื่อมโยงความรู้และปฏิบัติจริง อีกทั้งได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางการผลิตในกระบวนการอาหาร
ประเมินผลจากผลการทดสอบทั้ง การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค รวมถึง การทำบทปฏิบัติการโดยเน้นให้มีการวิเคราะห์ประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา และ โจทย์จากสถานประกอบการจริงหรือใกล้เคียง
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณาเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์กำหนดบทบาทในการทำงาน และให้นำเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็นกับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น
1. ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน  
2. พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
3. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4. ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning เพิ่มเติ่ม และทำรายงานบทปฏิบัติการโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2.  นำเสนอโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินผลจากทักษะการวิเคราะห์ผลเชิงตัวเลขระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน และ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำกิจกรรมรวมถึงบทปฏิบัติการและบททดสอบ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีความทักษะในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
ให้นักศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยี หรือ ระบบอัตโนมัติ ในปัจจุบันเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต
ประเมินผลจากกิจกรรมระหว่างการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และจากการนำเสนอผ่านรายงานบทปฏิบัติการหรือแบบทดสอบกลางภาค/ปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGFI129 กระบวนการแปรรูปอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ความรู้ - ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,17 40 %
2 - ความรู้ - ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ - ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ รายงานปฏิบัติการ (Practice) ตลอดภาคการศึกษา 30 %
3 - ความรู้ - ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ Activity ในชั้นเรียน และทักษะการปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 25 %
4 - คุณธรรมและจริยธรรม - ทักษะพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นใน ชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5 %
- นิธิยา รัตนาปนนท์. 2559. หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 168 หน้า. ISBN 978-616-538-267-0
- วิไล รังสาดทอง. 2545. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 177 หน้า. ISBN 974-623-146-4
- Clark, S., Jung, S., & Lamsal, B. (Eds.). (2014). Food processing: Principles and applications (2nd ed.). Wiley-Blackwell; ISBN: 978-0-470-67114-6
- https://www.foodnetworksolution.com
- Dash, K. K., & Malik, M. A. (Eds.). (2021). Food processing and preservation technology: Advances in processing, preservation and value addition technologies (Vol. 2). Apple Academic Press.
          ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา