การบริหารจัดการคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
Quality Management in Food Industry
1.1 อธิบายความหมายของการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ ตลอดจนแนวทางการควบคุมคุณภาพ
1.2 อธิบายวิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในห่วงโซ่อาหาร
1.3 คัดเลือกระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.4 กำหนดวิธีการปฏิบัติในการผลิตที่ดีและสุขลักษณะที่ดีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.5 วิเคราะห์อันตรายจุดวิกฤตที่ควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.6 อธิบายวิธีการประกันคุณภาพตามระบบ ISO 22000:2018 และมาตรฐานอาหารสากลและข้อบังคับเกี่ยวกับอาหารระหว่างประเทศ
1.7 อธิบายความสำคัญและหน้าที่ของเครื่องมือควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ
1.2 อธิบายวิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในห่วงโซ่อาหาร
1.3 คัดเลือกระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.4 กำหนดวิธีการปฏิบัติในการผลิตที่ดีและสุขลักษณะที่ดีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.5 วิเคราะห์อันตรายจุดวิกฤตที่ควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.6 อธิบายวิธีการประกันคุณภาพตามระบบ ISO 22000:2018 และมาตรฐานอาหารสากลและข้อบังคับเกี่ยวกับอาหารระหว่างประเทศ
1.7 อธิบายความสำคัญและหน้าที่ของเครื่องมือควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ
เป็นการเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในภาคการศึกษา 2/ 2567
ศึกษาระบบคุณภาพและระบบจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารตามมาตรฐานสากล ได้แก่ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) หลักเกณฑ์หรือวิธีการสุขลักษณะที่ดี (GHP) ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (HACCP) ระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO 9000) ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน (ISO22000) ระบบมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร (FSSC 22000) มาตรฐานอาหารเพื่อการส่งออกในระดับสากล ระบบควบคุมคุณภาพ คุณลักษณะด้านคุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบและการสุ่มตัวอย่าง การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ กรณีศึกษาการจัดทำระบบคุณภาพในอุตสาหกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อาจารย์สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระบุให้มีการสอนเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือคัดลอกงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น
ประเมินคุณภาพผลงานที่ได้มอบหมาย รวมถึงการกระทำทุจริตในการสอบ
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานกลุ่ม และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ประเมินจากพฤติกรรมและแนวคิดของนักศึกษาในการตอบสนองต่อเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการทดสอบในรายวิชาที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ จัดให้มีการสอนร่วมระหว่างรายวิชาเพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ นอกจากนี้ จัดให้มีการสอนผ่านกรณีศึกษาโดยนำโจทย์ปัญหาจากอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการมาให้นักศึกษาเชื่อมโยงองค์ความรู้ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหานั้น ๆ รวมถึงจัดให้มีการสอนทีี่มีการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน และการทดสอบย่อย ประเมินจากงานที่มอบหมายที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากผลงานที่นำเสนอในชั้นเรียน ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน และการทดสอบย่อย ประเมินจากงานที่มอบหมายที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากผลงานที่นำเสนอในชั้นเรียน ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวจากสื่อหรือสังคมปัจจุบันและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดในมุมมองที่แตกต่างอย่างมีวิจารณญาณ
จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านกรณีศึกษาที่ต้องมีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ
จัดให้มีการเรียนรู้ผ่านโครงงานทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต้องมีการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้
สังเกตพฤติกรรม ประเมินตามสภาพจริงของนักศึกษา เช่น การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ผลงานต้นแบบ
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณาเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้ มีีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรายวิชาต่างๆ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการเรียนวิชาปฏิบัติ และการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน ประเมินจากจำนวนกิจกรรมที่เข้าร่วมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ากับการเรียนในรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนทางรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ของมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาทางวิชาชีพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศทำการค้นคว้าข้อมูล นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ผ่านการประยุกต์ใชการสื่อสารที่ทันสมัยในหลากหลายสถานการณ์ รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหา
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
มีความทักษะในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
จัดให้กิจกรรมที่มีการบูรณาการความรู้และการค้นคว้าข้อมูล ในประเด็นที่ต้องการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอาหาร
จัดการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการจัดการ เน้นทฤษฎีและการปฏิบัตรกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
ประเมินจากคุณภาพของผลงานของนักศึกษา และการทำข้อสอบหรือแบบทดสอบ
พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรม จริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ | 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ | 6.ทักษะพิสัย | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 1.5 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 2.5 | 3.1 | 3.2 | 3.3 | 3.4 | 3.5 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 4.5 | 5.1 | 5.2 | 5.3 | 5.4 | 5.5 | 6.1 | 6.2 |
1 | ENGFI128 | การบริหารจัดการคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ด้านคุณธรรม จริยธรรม | การเข้าเรียน/การส่งงาน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
2 | ด้านความรู้ | ทดสอบภาคทฤษฎี | สัปดาห์ที่ 5 9 13 และ 17 | 50% |
3 | ด้านทักษะทางปัญญา | ปฏิบัติ/กิจกรรมกลุ่ม/กรณีศึกษา | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
4 | ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | การทำงานกลุ่ม การอภิปรายและการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
5 | ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | รายงานการจัดทำระบบควบคุมและประกันคุณภาพ กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 15% |
6 | ด้านทักษะพิสัย | ทักษะการปฏิบัติในการทำหัวข้อพิเศษและกรณีศึกษา | ตลอดภาคการศึกษา | 5% |
คงศักดิ์ ศรีแก้ว. (2560). การบริหารจัดการคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการคุณภาพ จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วราวุฒิ ครูส่ง. (2558). การประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรธน ขอพรกลาง. (2560). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เกษม พิพัฒน์ปัญญานุกูล. (2557). การควบคุมคุณภาพ Statistical quality control. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ท้อป พับลิชชิ่ง.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการคุณภาพ จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วราวุฒิ ครูส่ง. (2558). การประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรธน ขอพรกลาง. (2560). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เกษม พิพัฒน์ปัญญานุกูล. (2557). การควบคุมคุณภาพ Statistical quality control. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ท้อป พับลิชชิ่ง.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (กองควบคุมมาตรฐาน). (2564). คู่มือสำหรับผู้ประกอบการสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ. [ออนไลน์]
http://ebook.acfs.go.th/backend/uploads/PDF/7a614560fa01bf972c6b144363334dbc.pdf
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2564). แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าการเกษตร (มกษ. 9001(G)-2564) [ออนไลน์]
https://www.acfs.go.th/files/files/commoditystandard/20211105115922_732642.pdf
เครื่องมือการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร
https://mnfda.fda.moph.go.th/food/wp-content/uploads/2021/07/%E2%80%8B%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-GMP-420.pdf
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่420) พ.ศ.2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร https://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P420.pdf
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การตรวจ ประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่420) พ.ศ.2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร https://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/P420.pdf
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2564). เข้าใจ...เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรให้มากขึ้นกับน้อง Q จัง [ออนไลน์] https://youtu.be/BEqYQHaYcuI
มาตรฐาน GHP & HACCP (Thai version) https://www.bsigroup.com/globalassets/localfiles/en-th/food-and-drink/haccp--gmp/gmp-haccp-v.4-vs-ghps-haccp-v.5.pdf
http://ebook.acfs.go.th/backend/uploads/PDF/7a614560fa01bf972c6b144363334dbc.pdf
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2564). แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าการเกษตร (มกษ. 9001(G)-2564) [ออนไลน์]
https://www.acfs.go.th/files/files/commoditystandard/20211105115922_732642.pdf
เครื่องมือการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร
https://mnfda.fda.moph.go.th/food/wp-content/uploads/2021/07/%E2%80%8B%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-GMP-420.pdf
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่420) พ.ศ.2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร https://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P420.pdf
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การตรวจ ประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่420) พ.ศ.2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร https://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/P420.pdf
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2564). เข้าใจ...เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรให้มากขึ้นกับน้อง Q จัง [ออนไลน์] https://youtu.be/BEqYQHaYcuI
มาตรฐาน GHP & HACCP (Thai version) https://www.bsigroup.com/globalassets/localfiles/en-th/food-and-drink/haccp--gmp/gmp-haccp-v.4-vs-ghps-haccp-v.5.pdf
หน่วยงานรับรองตรวจสอบคุณภาพต่างๆ
https://www.aoac.org/
https://www.cerealsgrains.org/Pages/default.aspx
https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bacteriological-analytical-manual-bam
https://www.aocs.org/?SSO=True
https://www.apha.org/
https://www.astaspice.org/
https://www.aoac.org/
https://www.cerealsgrains.org/Pages/default.aspx
https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bacteriological-analytical-manual-bam
https://www.aocs.org/?SSO=True
https://www.apha.org/
https://www.astaspice.org/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการทดสอบย่อย
2.3 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.4 รายงานจากการที่ได้รับมอบหมาย กิจกรรมกลุ่ม
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2 หาเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
3.3 การเชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านการจัดโครงการเชิงปฏิบัติการ
คาบเรียนสุดท้ายของการเรียน อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพื่อประเมินผลสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรายวิชาตามทักษะต่างๆ ที่ปรากฏในหมวดที่ 4
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป