วิทยานิพนธ์ทางการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน

Thesis for Interior Architectural Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้ศึกษา มาตลอดหลักสูตร มาเป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ ที่ประกอบด้วยการศึกษา ขอบเขตของงาน พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ กฎหมายเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์พื้นที่ภายในรายละเอียดความต้องการของโครงการ แนวความคิดในการออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมภายใน โดยนักศึกษาจะต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ในช่วงระหว่างการออกแบบ งานวิทยานิพนธ์ประกอบด้วย เอกสารภาคนิพนธ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน และการทำหุ่นจำลอง การดำเนินการทำวิยานิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามระเบียบการทำวิทยานิพนธ์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และมีทักษะการทำวิทยานิพนธ์
ไม่มี
บูรณาการองค์ความรู้ ทฤษฎีและปฏิบัติตลอดหลักสูตร จากกลุ่มสตูดิโอย่อย (กลุ่มความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มอัตลักษณ์พื้นถิ่นและกลุ่มเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมภายใน) เพื่อจัดทำข้อมูลโครงการกระบวนการออกแบบ กำหนดแนวความคิด และปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน โดยต้องนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์สู่สาธารณะ
 อาจารย์ที่ปรึกษา ติดประกาศเวลาให้คำปรึกษา ณ.ห้องพักอาจารย์ -   อาจารย์ที่ปรึกษาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล ต่อนักศึกษาสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง /สัปดาห์
1.มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานทางด้านทฤษฎี ข้อกำหนดและกฎหมายวิชาชีพ และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาทางศิลปะสถาปัตยกรรมหรือสถาปัตยกรรมภายใน
2.เข้าใจและสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ในการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบ เขียนแบบ ตามมาตรฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปะสถาปัตยกรรมหรือสถาปัตยกรรมภายใน
3.มีความรู้ความเข้าใจ สามารถจำแนกประเภทและลักษณะทางศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาต่างๆของพื้นถิ่นล้านนา
4.มีความรู้ในการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่องานออกแบบ เขียนแบบ และนำเสนอผลงานในงานสถาปัตยกรรมภายใน
1. สอนแบบบรรยายร่วมกับการอภิปราย
2. การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)
3. การสอนแบบเชิงรุก (Active
Learning)
4. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning)
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2. ประเมินผลจากข้อมูลแบบภาคสนาม และแบบจำลอง
3. ประเมินจากการทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ประเมินผลจากรายงาน จากการสาธิตของผู้เชี่ยวชาญพื้นถิ่นล้านนา
4. ประเมินการประยุกต์ใช้องค์ ความรู้ผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน
1. มีทักษะการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ สามารถหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอย่างสร้างสรรค์
2.มีทักษะสามารถนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่นล้านนามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรมภายในอย่างสร้างสรรค์
3. มีทักษะการทำงานด้วยเทคโนโลยีและความสามารถในการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายในด้วยเทคนิคที่หลากหลาย
1. มีการบรรยายทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทต่าง ๆ
2. เชิญวิทยากร ผู้มีประสบการณ์ มาบรรยายองค์ความรู้
3. การฝึกวิเคราะห์ข้อมูลจาก case study และการนำเอาไปใช้ในการออกแบบ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาคสอบปลายภาค
2.นำเสนอและรายงานในชั้นเรียนการสะท้อนความคิด
3.มีผลงานในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทต่าง ๆ
1.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลารับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
2.มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
3.มีจรรยาบรรณวิชาชีพต่อผู้ใช้บริการ สังคม และสิ่งแวดล้อม
มีความตระหนักในคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมประเพณี
1. การกำหนดเกณฑ์การเข้าชั้นเรียน
2. การบรรยายคุณธรรม จริยธรรมก่อนการเรียน
3. มอบหมายงานในชั้นเรียน
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
3. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน
1.มีมนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคม บุคลิกภาพที่ดี
2.การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความเข้าใจในคุณค่าของ
3.ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของความเป็นไทย ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้อง
1. การกำหนดเกณฑ์การเข้าชั้นเรียน
2. การบรรยายคุณธรรม จริยธรรมก่อนการเรียน
3. มอบหมายงานในชั้นเรียน
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
3. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ทักษะ 3 จริยธรรม 4 ลักษณะบุคคล
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 BARIA109 วิทยานิพนธ์ทางการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานทางด้านทฤษฎี ข้อกำหนดและกฎหมายวิชาชีพ และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาทางศิลปะสถาปัตยกรรมหรือสถาปัตยกรรมภายใน 2.เข้าใจและสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ในการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบ เขียนแบบ ตามมาตรฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปะสถาปัตยกรรมหรือสถาปัตยกรรมภายใน 3.มีความรู้ความเข้าใจ สามารถจำแนกประเภทและลักษณะทางศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาต่างๆของพื้นถิ่นล้านนา 4.มีความรู้ในการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่องานออกแบบ เขียนแบบ และนำเสนอผลงานในงานสถาปัตยกรรมภายใน 1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. ประเมินผลจากข้อมูลแบบภาคสนาม และแบบจำลอง 3. ประเมินจากการทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ประเมินผลจากรายงาน จากการสาธิตของผู้เชี่ยวชาญพื้นถิ่นล้านนา 4. ประเมินการประยุกต์ใช้องค์ ความรู้ผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ตลอดภาคการศึกษา 30
2 1. มีทักษะการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ สามารถหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอย่างสร้างสรรค์ 2.มีทักษะสามารถนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่นล้านนามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรมภายในอย่างสร้างสรรค์ 3. มีทักษะการทำงานด้วยเทคโนโลยีและความสามารถในการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายในด้วยเทคนิคที่หลากหลาย 1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาคสอบปลายภาค 2.นำเสนอและรายงานในชั้นเรียนการสะท้อนความคิด 3.มีผลงานในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทต่าง ๆ ตลอดภาคการศึกษา 40
3 1.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลารับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง 2.มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ 3.มีจรรยาบรรณวิชาชีพต่อผู้ใช้บริการ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความตระหนักในคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมประเพณี 1. การเข้าชั้นเรียน 2. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 3. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 15
4 1.มีมนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคม บุคลิกภาพที่ดี 2.การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจในคุณค่าของ 3.ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของความเป็นไทย ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้อง 1. การเข้าชั้นเรียน 2. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 3. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 15
Sam F. Miller.  1995.  Design Process: A Primer for Architectural and Interior Design (Architecture).  John Wiley & Sons, Inc. จันทนีย์ เพชรานนท์ .  การจัดทำรายละเอียดโครงการสถาปัตยกรรมภายใน. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร.  2528.    การจัดทำรายการรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงาน สถาปัตยกรรม.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

"Interior Design Illustrated" โดย Francis D.K. Ching ครอบคลุมพื้นฐานการออกแบบภายใน การวางแผนพื้นที่ องค์ประกอบการใช้สอย และการใช้แสงในงานออกแบบ "Educational Facilities: Innovations in Design and Research" รวมตัวอย่างการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์ โดยเน้นนวัตกรรมในการออกแบบและวิธีการวิเคราะห์ความต้องการผู้ใช้งาน "Museum Design: Planning & Programming" โดย Gaudreau & Associates แนะนำขั้นตอนการวางแผนและออกแบบพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ความต้องการผู้ใช้งาน ไปจนถึงการวางแผนพื้นที่ "Lighting Design Basics" โดย Mark Karlen เน้นการออกแบบแสงสำหรับพื้นที่ภายในและการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับอาคารชุมชนและการศึกษา

บทความจากวารสารวิชาการ (Academic Journals)

Journal of Interior Design: วารสารที่ตีพิมพ์บทความวิจัยและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบภายใน Environment and Behavior: วารสารที่เน้นการศึกษาผลกระทบของการออกแบบภายในต่อพฤติกรรมและจิตวิทยาของผู้ใช้งาน Design Studies: วารสารที่วิเคราะห์แนวคิดและกระบวนการออกแบบที่ใช้ในกรณีศึกษาต่างๆ
บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

"Designing Learning Spaces: The Architecture of Educational Spaces" บทความนี้เน้นถึงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่ส่งเสริมประสบการณ์ของผู้ใช้งานและเน้นการใช้แสงธรรมชาติ "The Psychology of Interior Design in Learning Spaces" ศึกษาผลกระทบของการออกแบบภายในต่อจิตวิทยาของผู้ใช้ โดยเฉพาะในศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุด "Case Studies in Museum Design: User Experience and Spatial Layouts" บทความวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบพิพิธภัณฑ์และการวางแผนพื้นที่เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้เยี่ยมชม

กรณีศึกษาที่น่าสนใจ

The Seattle Central Library, USA ออกแบบโดย Rem Koolhaas เป็นกรณีศึกษาที่โดดเด่นในการออกแบบห้องสมุดด้วยแนวคิดใหม่ เน้นการใช้แสงธรรมชาติและการจัดวางพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด Museo Soumaya, Mexico City พิพิธภัณฑ์ที่มีการออกแบบภายในและภายนอกที่โดดเด่น โดยเน้นการใช้พื้นที่และแสงเพื่อสร้างประสบการณ์การเยี่ยมชมที่น่าจดจำ The Hive, NTU, Singapore ศูนย์การเรียนรู้ที่มีการออกแบบที่เน้นความเปิดโล่งและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน ใช้แสงธรรมชาติและการจัดวางพื้นที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้

การศึกษาเปรียบเทียบและการดูงาน (Field Studies)

การเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุดในท้องถิ่น เช่น หอสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดชุมชน และพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับประสบการณ์ผู้ใช้ การศึกษาออนไลน์ผ่าน Virtual Tour เช่น พิพิธภัณฑ์ The Louvre, ห้องสมุด Stuttgart Library, หรือพิพิธภัณฑ์ The British Museum ซึ่งมีการนำเสนอโครงสร้างและการออกแบบพื้นที่ภายในผ่านการเยี่ยมชมเสมือนจริง

เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ

SketchUp และ AutoCAD: สำหรับการวาดแผนผังและการสร้างโมเดล 3D Enscape หรือ Lumion: สำหรับการเรนเดอร์และจำลองบรรยากาศแสง Adobe InDesign และ Photoshop: ใช้ในการนำเสนอผลงานและจัดทำสื่อการสอน

 
Google Scholar (scholar.google.com): สำหรับค้นหางานวิจัยและบทความวิชาการในหัวข้อการออกแบบภายในและสถาปัตยกรรม ResearchGate (www.researchgate.net): เครือข่ายนักวิจัยที่สามารถค้นหาบทความและงานวิจัยด้านการออกแบบภายใน ArchDaily (www.archdaily.com): เว็บไซต์ที่รวบรวมบทความและกรณีศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมจากทั่วโลก เน้นการนำเสนอตัวอย่างอาคารชุมชนและการศึกษา Dezeen (www.dezeen.com): เว็บไซต์ที่เน้นข่าวและบทความเกี่ยวกับการออกแบบภายในและสถาปัตยกรรม The Library of Congress (www.loc.gov): แหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาการออกแบบห้องสมุดและการจัดการพื้นที่การเรียนรู้
1.1การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
3.1สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือด้านสถาปัตยกรรม,สถาปัตยกรรมภายใน