ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 4

Interior Architectural Design 4

1. เข้าใจประเภทและกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารบริการชุมชนและการศึกษา          2. ทราบหลักการ องค์ประกอบ งานระบบ การรับรู้ที่ว่าง และจิตวิทยาการออกแบบ ที่เกี่ยวกับการออกแบบภายในอาคารบริการชุมชนและการศึกษา           3. สามารถรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการจริง และ ศึกษาเปรียบเทียบ กรณีศึกษา เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล หน้าที่ใช้สอย ความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน และแนวความคิด ออกแบบสถาปัตยกรรมภายในฯ          4.สามารถออกแบบและนำเสนองานสถาปัตยกรรมภายในอาคารบริการชุมชนชุมชนและการศึกษาประเภทต่างๆ
1. ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ทันสมัย 2. ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนเน้นการศึกษาข้อมูลเฉพาะของโครงการอาคารบริการชุมชนและการศึกษา จากผู้ประกอบการจริง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับกระบวนการออกแบบงานสถาปัตยกรรมภายในอาคารบริการชุมชนชุมชนและการศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบงานสถาปัตยกรรมภายในของอาคารประเภท ชุมชนและการศึกษา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการจริง โดย ใช้กระบวนการออกแบบและรวบรวมข้อมูล หลักการและองค์ประกอบในการ ออกแบบ แนวความคิด หน้าที่ใช้สอย ความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน การรับรู้ ที่ว่าง จิตวิทยาการออกแบบ และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเปรียบเทียบ กรณีศึกษาจริง และศึกษาดูงาน
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียน  -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 4  ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานทางด้านทฤษฎี ข้อกำหนดและกฎหมายวิชาชีพ และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาทางศิลปะสถาปัตยกรรมหรือสถาปัตยกรรมภายใน
2.เข้าใจและสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ในการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบ เขียนแบบ ตามมาตรฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปะสถาปัตยกรรมหรือสถาปัตยกรรมภายใน
3.มีความรู้ความเข้าใจ สามารถจำแนกประเภทและลักษณะทางศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาต่างๆของพื้นถิ่นล้านนา
4.มีความรู้ในการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่องานออกแบบ เขียนแบบ และนำเสนอผลงานในงานสถาปัตยกรรมภายใน
1. สอนแบบบรรยายร่วมกับการอภิปราย
2. การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)
3. การสอนแบบเชิงรุก (Active
Learning)
4. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning)
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2. ประเมินผลจากข้อมูลแบบภาคสนาม และแบบจำลอง
3. ประเมินจากการทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ประเมินผลจากรายงาน จากการสาธิตของผู้เชี่ยวชาญพื้นถิ่นล้านนา
4. ประเมินการประยุกต์ใช้องค์ ความรู้ผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน
1. มีทักษะการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ สามารถหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอย่างสร้างสรรค์
2.มีทักษะสามารถนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่นล้านนามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรมภายในอย่างสร้างสรรค์
3.มีทักษะการทำงานด้วยเทคโนโลยีและความสามารถในการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายในด้วยเทคนิคที่หลากหลาย
1. มีการบรรยายทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทต่าง ๆ
2. เชิญวิทยากร ผู้มีประสบการณ์ มาบรรยายองค์ความรู้
3. การฝึกวิเคราะห์ข้อมูลจาก case study และการนำเอาไปใช้ในการออกแบบ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาคสอบปลายภาค
2.นำเสนอและรายงานในชั้นเรียนการสะท้อนความคิด
3.มีผลงานในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทต่าง ๆ
1.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลารับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
2.มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
3.มีจรรยาบรรณวิชาชีพต่อผู้ใช้บริการ สังคม และสิ่งแวดล้อม
มีความตระหนักในคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมประเพณี
1. การกำหนดเกณฑ์การเข้าชั้นเรียน
2. การบรรยายคุณธรรม จริยธรรมก่อนการเรียน
3. มอบหมายงานในชั้นเรียน
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
3. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน
1.มีมนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคม บุคลิกภาพที่ดี
2.การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความเข้าใจในคุณค่าของ
3.ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของความเป็นไทย ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้อง
1. การกำหนดเกณฑ์การเข้าชั้นเรียน
2. การบรรยายคุณธรรม จริยธรรมก่อนการเรียน
3. มอบหมายงานในชั้นเรียน
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
3. ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ความรู้ 2 ทักษะ 3 จริยธรรม 4 ลักษณะบุคคล
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 BARIA104 ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 4
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค รายงานการค้นคว้าข้อมูลหลักการออกแบบฯ 9 18 4-11 5% 5% 10%
2 2.3.2 3.3.1 3.3.2 การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากโครงการจริง การประเมินการทำงานตามกระบวนการออกแบบ การประเมินผลการออกแบบ(Sketch Design) ความสำเร็จของผลงานออกแบบ 1/5/12 4-8 /11-17 2 8/17 10% 10% 5% 25%
3 1.3.1-1.3.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 4.3.1 4.3.2 ความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มและผลงาน การติดต่อประสานงานผู้ประกอบการ ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 5.3.1 5.3.2 การสื่อสาร การใช้ภาษา การเลือกใช้เครื่องมือนำเสนอที่เหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 6.3.1 ทักษะในการการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
"Interior Design Illustrated" โดย Francis D.K. Ching หนังสือแนะนำการออกแบบภายในด้วยภาพประกอบที่ชัดเจน ครอบคลุมหลักการการวางแผนพื้นที่ ความสัมพันธ์ของพื้นที่ และการใช้แสง "The Elements of Interior Design" โดย Victoria Kloss Ball เจาะลึกถึงองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบภายใน ตั้งแต่การจัดวางพื้นที่ สี แสง และเฟอร์นิเจอร์ "Designing Libraries: Learning from Other Libraries" โดย Peter Gisolfi ศึกษาการออกแบบห้องสมุดโดยการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากห้องสมุดที่มีการออกแบบที่โดดเด่น
งานวิจัยและบทความ

"Interior Design for Learning Spaces: Enhancing User Experience in Libraries and Educational Spaces" งานวิจัยนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้โดยมุ่งเน้นที่การใช้แสง, สี, และองค์ประกอบที่ส่งเสริมประสบการณ์ผู้ใช้ "The Impact of Lighting Design in Public Spaces" บทความที่กล่าวถึงการออกแบบแสงในอาคารชุมชนและการศึกษา โดยอธิบายถึงผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้ใช้งาน "Psychological Aspects of Interior Design in Educational Environments" วิเคราะห์ผลกระทบของการออกแบบภายในต่อจิตวิทยาผู้ใช้งานในพื้นที่การศึกษา เช่น ห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้

กรณีศึกษาและการเปรียบเทียบ

ห้องสมุด The Seattle Central Library ออกแบบโดย Rem Koolhaas เป็นตัวอย่างของการออกแบบห้องสมุดที่สร้างประสบการณ์ใช้งานที่โดดเด่น มีการใช้แสงและพื้นที่ที่น่าสนใจ พิพิธภัณฑ์ The Louvre Lens Museum ออกแบบโดย SANAA ซึ่งเน้นการใช้แสงธรรมชาติและการจัดวางพื้นที่เพื่อลดความซับซ้อนและทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกผ่อนคลาย ศูนย์การเรียนรู้ The Hive, Nanyang Technological University, Singapore มีการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่เปิดโล่งและเป็นกันเอง ใช้แนวคิดที่เน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน

 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการจัดวางผัง และ การตกแต่งศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ 


เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการจัดห้องสมุด ศูนย์เรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ ประเภทต่างๆ
http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/647/1/chonlatorn_veera.pdf
http://www.thailibrary.in.th/2020/05/26/library-design-for-social-distancing/
https://issuu.com/jew-nathrathanonthongsuthipheerapas/docs/____________
http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5716030456_3187_4031.pdf
Website และฐานข้อมูล
Google Scholar (scholar.google.com): แหล่งรวบรวมบทความวิชาการและงานวิจัยที่ครอบคลุมหัวข้อด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ResearchGate (www.researchgate.net): แพลตฟอร์มสำหรับนักวิจัยและนักออกแบบในการแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยและค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ArchDaily (www.archdaily.com): เว็บไซต์รวบรวมกรณีศึกษาและโปรเจกต์การออกแบบอาคารประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารชุมชนและการศึกษา Dezeen (www.dezeen.com): นำเสนอบทความและกรณีศึกษาการออกแบบภายในที่มีความหลากหลายจากทั่วโลก
ฐานข้อมูลภาพและ Reference
Pinterest: สามารถค้นหาไอเดียและตัวอย่างการออกแบบภายในสำหรับศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ และห้องสมุด Behance: แพลตฟอร์มที่แสดงผลงานออกแบบจากนักออกแบบภายในมืออาชีพ
เครื่องมือการออกแบบ
AutoCAD และ SketchUp: สำหรับการสร้างแผนผังและแบบจำลอง 3D ของการออกแบบภายใน Lumion หรือ V-Ray: ใช้สำหรับการเรนเดอร์แสงและบรรยากาศในแบบจำลอง 3D
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือด้านสถาปัตยกรรม,สถาปัตยกรรมภายใน