การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเทคโนโลยีสำหรับการบัญชี

Software Package and Technology for Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวและความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี
1.4 เพื่อให้นักศึกษาฝึกการทำงานร่วมกันในกลุ่มสมาชิก
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการบันทึกบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์และการจัดทำเอกสารทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยใช้คอมพิวเตอร์
2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี  การปฏิบัติเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดทำบัญชี การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในระบบบัญชีย่อยต่างๆ เช่น ระบบซื้อ ระบบขาย ระบบสินค้าคงคลัง ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป รายงานทางการเงินในรูปแบบต่างๆ หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทการวางแผนทรัพยากรองค์กร การประยุกต์ใช้ซอฟแวร์อื่น รวมถึงเทคโนโลยีใหม่เพื่อสนับสนุนงานบัญชี เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประยุกต์ใช้กับการบัญชี
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ - ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการจัดทำบัญชีโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ 2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม - สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
1) สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชี และข้อกำหนดตามพรบ.การบัญชีพ.ศ.2543 เกี่ยวกับหน้าที่ในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชี 2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ งานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1) ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา 2) ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี - แนวความคิดเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี  การปฏิบัติเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดทำบัญชี การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในระบบบัญชีย่อยต่างๆ เช่น ระบบซื้อ ระบบขาย ระบบสินค้าคงคลัง ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป รายงานทางการเงินในรูปแบบต่างๆ
-แนวความคิดหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทการวางแผนทรัพยากรองค์กร 2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม - มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี การประยุกต์ใช้ซอฟแวร์อื่น รวมถึงเทคโนโลยีใหม่เพื่อสนับสนุนงานบัญชี เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประยุกต์ใช้กับการบัญชี 3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ - สามารถเข้าใจ และดำเนินการตามกระบวนการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นไปจนถึงการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกได้
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) จัดเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก โดยกิจกรรมอบรมหัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับงานบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ” วันอังคารที่ 18 กพ 68 เวลา 13.00-16.00 น ณ ห้อง ๑๕ - ๖๐๓  อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา  3) รายงานกลุ่ม
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน 2) ผลงานจากการทำกรณีศึกษา การรายงาน(งานกลุ่ม) 3) การทดสอบย่อย การสอบปลายภาค 4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง - สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ในการวิเคราะห์ และการทำรายงานกลุ่มได้ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ รายงานทางการเงินของกิจการได้ เป็นต้น 2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ - สามารถจัดทำรายงานโดยใช้โปรแกรมอย่างเหมาะสม 3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน - สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับข้อมูลของกิจการ และนำเสนอได้
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน 2) การอภิปรายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย 3) การนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม)
1) ผลงานจากการจัดทำรายงานและนำเสนองานกลุ่ม
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ 2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี - สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น 3) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน - สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
มอบหมายงานกลุ่ม ตามประเภทธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มตนเอง 2) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ - สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่ม ตามประเภทธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BACAC156 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเทคโนโลยีสำหรับการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.ความรู้ สอบปฏิบัติ 10/16 50
2 2.ความรู้/ 3.ทักษะทางปัญญา ผ่านการอบรมหลักสูตรกรมพัฒนาะุรกิจการค้า 1-14 15
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดทำรายงานกลุ่ม 15 30
4 1.คุณธรรม จริยธรรม สังเกตพฤติกรรม ทุกสัปดาห์ 5
อุเทน เลานำทา. (2565). การประยุกต์โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 15, เชียงใหม่: 
การทำหนังสือพับ โดย ธีระสัน คุ้วงศ์ ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ : Conception for Changes โดย อรรพล ตริตานนท์ การบัญชีกับคอมพิวเตอร์, การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี โดย นันท์ ศรีสุวรรณ การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี โดย มนู อรดีดลเชษฐ์ คอมพิวเตอร์กับงานสำนักงาน โดย รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์ มาตรฐานการบัญชีไทย พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543 พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี และภาษีสรรพากรที่ควรติดตาม ได้แก่ ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้ www.fap.or.th www.set.or.th www.rd.go.th
ใช้การทดสอบย่อย การงานกรณีศึกษาบันทึกบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี การทำรายงาน
สังเกตพฤติกรรม
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์ การทดสอบเก็บคะแนน การจัดทำธุรกิจจำลอง 
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการในการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การจัดทำสื่อการเรียนออนไลน์ และการจัดทำแบบฝึกหัดออนไลน์
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
การตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และ เนื้อหารายวิชา