การวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อการออกแบบ
Trend Forecasting for Design
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจ ในกระบวนการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
2. เพื่อพัฒนาทักษะในการค้นหาและวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่นที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
3. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การสร้างแรงบันดาลใจและแนวคิดสำหรับการออกแบบผลงานที่มีเอกลักษณ์และตอบโจทย์เทรนด์ปัจจุบัน
4. เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในการออกแบบผลงานแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
5. เพื่อฝึกทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงานการออกแบบที่แสดงถึงความเข้าใจในแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภค
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับจากแรงบันดาลใจ และแนวคิดการออกแบบ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์รูปแบบของแนวโน้มกระแสแฟชั่น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด
ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับจากแรงบันดาลใจ และแนวคิดการออกแบบ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์รูปแบบของแนวโน้มกระแสแฟชั่น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน สอนความรู้จรรยาบรรณทางด้านวิชาชีพ ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 5. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
ใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน และร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมอบหมายงานโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
จัดกิจกรรมการเรียนในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน ด้วยทำตามใบงาน การใช้กรณีศึกษา และสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม | 2. ด้านความรู้ | 3. ด้านทักษะทางปัญญา | 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 6. ด้านทักษะพิสัย | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 3 | 1 |
1 | BAATJ160 | การวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อการออกแบบ |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม | ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม | ตลอดภาคเรียน | 10 |
2 | มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ | 1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 4. ประเมินจากการนำเสนอรายงาน 5. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ | สัปดาห์ที่ 9 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 17 สอบปลายภาค และประเมินหัวข้ออื่นๆ ตลอดภาคเรียน | 40 |
3 | สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ | ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน | ตลอดภาคเรียน | 10 |
4 | มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี | ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน ผลงานกลุ่มและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ | ตลอดภาคเรียน | 10 |
5 | มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม | ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ | ตลอดภาคเรียน | 10 |
6 | มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน | ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติและผลงาน | ตลอดภาคเรียน | 20 |
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 แบบประเมินผลการสอนจากนักศึกษา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
จัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ผ่านการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์