การตลาดโลก

Global Marketing

แนวคิดและหลักการตลาดโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดต่างประเทศในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลก การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และบริการที่มุ่งเน้นความเป็นสากล การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด แนวโน้มของการตลาดโลก
เข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดต่างประเทศในยุคดิจิทัล: สอนให้นักศึกษาเข้าใจว่าเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น โซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ ส่งผลต่อพฤติกรรมการตลาดและการตัดสินใจของผู้บริโภคอย่างไร วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลก: ช่วยนักศึกษาเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในบริบทที่หลากหลายทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย: ส่งเสริมความเข้าใจในการแบ่งกลุ่มผู้บริโภค และการเลือกตลาดเป้าหมายที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถวางแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และบริการที่มุ่งเน้นความเป็นสากล: สอนวิธีการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคทั่วโลก โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและท้องถิ่น การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด: เรียนรู้การสร้างและพัฒนาส่วนประสมการตลาด (4Ps) ที่สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ติดตามแนวโน้มของการตลาดโลก: ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงในโลกการตลาด เพื่อเตรียมพร้อมในการปรับตัวและพัฒนาแผนการตลาดให้ทันสมัย
แนวคิดและหลักการตลาดโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดต่างประเทศในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลก การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และบริการที่มุ่งเน้นความเป็นสากล การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด แนวโน้มของการตลาดโลก
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
        1) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
     นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา  ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

นอกจากนั้น ยังมีรายวิชาส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพ เช่น วิชาการพัฒนาทักษะชีวิตและสังคม วิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการทำงาน และวิชาศิลปะการใช้ชีวิต ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม  และมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
          3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
          ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่

การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
บรรยาย
กรณีศึกษา
ทำงานกลุ่ม
การใช้เทคโนโลยี
การสอบกลางภาค ปลายภาค
การทำงานกลุ่ม
การนำเสนอผลงาน
) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้น           เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชา ที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
                    2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
 ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning : WiL)  CDIO :(Conceiving - Designing -Implementing –Operating)  โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
                     3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน รายงานที่นักศึกษาจัดทำ งานที่ได้มอบหมาย การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน แฟ้มสะสมผลงาน
บรรยาย
กรณีศึกษา
ทำงานกลุ่ม
การใช้เทคโนโลยี
การสอบกลางภาค ปลายภาค
การทำงานกลุ่ม
การนำเสนอผลงาน
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล  เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา  แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
   การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
          2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
  ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)/STEM Education มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
                    3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
บรรยาย
กรณีศึกษา
ทำงานกลุ่ม
การใช้เทคโนโลยี
การสอบกลางภาค ปลายภาค
การทำงานกลุ่ม
การนำเสนอผลงาน
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่างๆ  ดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว  มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้

มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน   และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ
         
 
 
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1)   สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2)   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
(3)   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
(4)   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5)   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
(6)   มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
      3)  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
บรรยาย
กรณีศึกษา
ทำงานกลุ่ม
การใช้เทคโนโลยี
การสอบกลางภาค ปลายภาค
การทำงานกลุ่ม
การนำเสนอผลงาน
   1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้

เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล

การวัดและประเมินผลอาจจัดทำในระหว่างการสอนโดยการจัดกิจกรรมให้นักศึกษา        ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียง นำเสนอและอภิปราย    แสดงความคิดเห็นในกลุ่ม หรือจัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร หรือนำเสนอผลงานต่างๆ
         2)  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข    การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learning/Flipped Classroom ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข   การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้

ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม

                    3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้

ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
บรรยาย
กรณีศึกษา
ทำงานกลุ่ม
การใช้เทคโนโลยี
การสอบกลางภาค ปลายภาค
การทำงานกลุ่ม
การนำเสนอผลงาน
บรรยาย
กรณีศึกษา
ทำงานกลุ่ม
การใช้เทคโนโลยี
การสอบกลางภาค ปลายภาค
การทำงานกลุ่ม
การนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) มีจิตนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ (3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (2) สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ (2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ (1) มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี (2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม (2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1 BBABA669 การตลาดโลก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เข้าใจภาพรวมและความสำคัญของการตลาดโลก การเข้าร่วมอภิปรายและแสดงความเห็นในชั้นเรียน 1 5%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาบริษัทระดับโลก เข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดในแต่ละประเทศ การเขียนรายงานวิเคราะห์ 2 10%
3 กิจกรรมกลุ่มวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลก การนำเสนอผลการวิเคราะห์ในกลุ่ม 3 5%
4 ออกแบบแผนการวิจัยตลาด สามารถออกแบบและใช้เครื่องมือวิจัยตลาดต่างประเทศ ประเมินจากแผนวิจัยและวิธีการเก็บข้อมูล 4 5%
5 กรณีศึกษาและการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เข้าใจการแบ่งส่วนและเลือกตลาดเป้าหมายที่เหมาะสม ส่งรายงานการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย 6 5%
6 แผนวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก เข้าใจการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก ประเมินจากแผนและการนำเสนอ 7 5%
7 สอบกลางภาค การทำข้อสอบข้อเขียนและการตอบคำถาม 9 30%
8 การวิเคราะห์กรณีศึกษาและการตั้งราคา การวิเคราะห์และนำเสนอกรณีศึกษาการตั้งราคา 11 5%
9 แผนช่องทางการจัดจำหน่าย การนำเสนอแผนและการตอบคำถาม 12 5%
10 การสร้างโฆษณาดิจิทัลที่เหมาะกับตลาดต่างประเทศ การนำเสนอผลงานและการประเมินจากกลุ่ม 15 5%
11 สอบปลายภาค การทำข้อสอบข้อเขียน 17 30%
"Global Marketing" โดย Warren J. Keegan และ Mark C. Green
"International Marketing" โดย Philip R. Cateora, Mary C. Gilly, และ John L. Graham
"Consumer Behavior" โดย Leon G. Schiffman และ Leslie Lazar Kanuk
"Principles of Marketing" โดย Philip Kotler และ Gary Armstrong
"Digital Marketing: Strategy, Implementation and Practice" โดย Dave Chaffey และ Fiona Ellis-Chadwick
Harvard Business Review และ Journal of International Marketing
1. แบบสอบถามการประเมินรายวิชา (Course Evaluation Questionnaire)
2. การอภิปรายกลุ่ม (Focus Group Discussion)
3. การประเมินผลการเรียนรู้จากงานที่นักศึกษาส่ง (Learning Outcome Assessment)
4. การให้ข้อเสนอแนะตามช่วงเวลาที่กำหนด (Mid-term Feedback)
5. การประเมินผลการเรียนรู้จากการนำความรู้ไปใช้จริง (Real-world Application Assessment)
6. การใช้ระบบการสอนแบบเปิดให้นักศึกษาให้คะแนนการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์
1. แบบสอบถามการประเมินการสอน (Teaching Evaluation Questionnaire)
2. การสังเกตการสอน (Classroom Observation)
3. การประเมินจากผลการเรียนรู้ของนักศึกษา (Student Learning Outcomes Assessment)
4. การให้ข้อเสนอแนะระหว่างภาคการศึกษา (Mid-course Feedback)
5. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Peer Review Workshops)
6. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการประเมินผล (Technology-assisted Evaluation)
7. การประเมินตนเองของผู้สอน (Self-reflection)
8. การใช้ระบบประเมินการสอนอัตโนมัติ (Automated Teaching Assessment Tools)
1. ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน (Instructional Techniques)

เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning: ปรับเนื้อหาและกิจกรรมการสอนให้เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา เช่น การใช้กรณีศึกษา การทำกิจกรรมกลุ่ม การถามคำถามเปิด และการอภิปราย ใช้การสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning): ผสมผสานระหว่างการสอนในห้องเรียนและออนไลน์ เช่น การใช้วิดีโอหรือบทเรียนเสริมแบบดิจิทัลเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะของตนเอง

2. ปรับเนื้อหาหรือกิจกรรมให้ทันสมัยและเกี่ยวข้องกับชีวิตจริง

ปรับเนื้อหาให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เพื่อให้นักศึกษามีความสนใจและเห็นคุณค่าของความรู้ที่เรียนไป ใช้กรณีศึกษา หรือปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและอุตสาหกรรม เพื่อฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและใช้ความรู้ที่เรียนไปในการแก้ปัญหาจริง

3. การใช้เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology Integration)

ใช้เครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัล เช่น ระบบ LMS (Learning Management System) เพื่อการเก็บข้อมูล การติดตามการเข้าร่วมเรียน และการประเมินผล รวมถึงแพลตฟอร์มการสื่อสารออนไลน์เพื่อเสริมสร้างการโต้ตอบระหว่างผู้สอนและนักศึกษา ใช้แอปพลิเคชันเพื่อการประเมินระหว่างการสอน เช่น การทำแบบทดสอบออนไลน์ ควิซ (Quizzes) การโหวต และการให้ความคิดเห็นแบบเรียลไทม์

4. การฝึกฝนทักษะการสอนและการปรับปรุงทักษะด้านต่างๆ ของผู้สอน

เข้าอบรมหรือเข้าร่วมเวิร์กช็อปเกี่ยวกับวิธีการสอนใหม่ ๆ หรือเทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีและการจัดการห้องเรียน เรียนรู้จากการดูคลาสของเพื่อนร่วมงานที่มีเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพ หรือการเข้าร่วมกลุ่มชุมชนผู้สอนเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและเทคนิคการสอน

5. การปรับปรุงตามผลการประเมินจากนักศึกษา (Student Feedback Utilization)

นำผลการประเมินการสอนจากนักศึกษามาพิจารณาและปรับปรุงการสอนให้สอดคล้องกับความคิดเห็นและความต้องการของนักศึกษา ตัวอย่างเช่น หากนักศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่าการอธิบายไม่ชัดเจน อาจปรับวิธีการอธิบายให้มีตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น หรือแบ่งเนื้อหาออกเป็นขั้นตอนที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจมากขึ้น

6. การประเมินตนเอง (Self-assessment)

หลังการสอนทุกครั้ง ผู้สอนสามารถบันทึกบันทึกการสอนของตนเอง เช่น อะไรที่ทำได้ดี อะไรที่ต้องปรับปรุง ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเองอย่างต่อเนื่อง ใช้บันทึกนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการปรับปรุงการสอนในครั้งถัดไป หรือเป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาการสอนให้ดีขึ้น

7. พัฒนาสื่อการเรียนการสอน (Instructional Material Development)

ออกแบบและปรับปรุงสื่อการสอน เช่น สไลด์ บทเรียน วิดีโอ และเอกสารประกอบการสอน เพื่อให้เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของนักศึกษา เช่น การใช้ภาพ การใช้อินโฟกราฟิก หรือการแสดงภาพเคลื่อนไหว ทำให้เนื้อหามีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น เพื่อลดความจำเจในการเรียนรู้

8. การปรับเปลี่ยนการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment Adaptation)

เปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมและหลากหลายมากขึ้น เช่น ใช้การประเมินแบบโครงงาน การนำเสนอ หรือการแก้ปัญหาที่ใช้ทักษะจริงมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถที่แท้จริง หมั่นปรับปรุงรูปแบบและความท้าทายของข้อสอบหรือแบบฝึกหัดต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและช่วยประเมินทักษะที่สำคัญได้อย่างครอบคลุม
1. การทวนสอบด้วยการวิเคราะห์ข้อสอบและข้อคำถาม (Exam and Question Analysis)

วิเคราะห์ข้อสอบหรือข้อคำถามในแต่ละการประเมินว่ามีความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่ต้องการหรือไม่ โดยพิจารณาถึงระดับความยาก-ง่าย ความครอบคลุมของเนื้อหา และความหลากหลายของทักษะที่ใช้ในการตอบคำถาม ประเมินว่าข้อสอบนั้นช่วยวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาได้ในระดับที่ต้องการหรือไม่ เช่น มีคำถามที่ท้าทายและวัดทักษะการวิเคราะห์หรือไม่

2. การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาจากเกณฑ์การประเมิน (Rubric and Criteria Assessment)

ใช้เกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน (Rubric) สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาในแต่ละกิจกรรม เช่น การทำโครงงาน การนำเสนอ หรือการทำแบบทดสอบ เพื่อประเมินว่านักศึกษาทำได้ตามระดับมาตรฐานหรือไม่ เปรียบเทียบผลการประเมินกับเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อดูว่านักศึกษาทุกคนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ในระดับที่กำหนดหรือไม่ และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการปรับปรุงรายวิชาหรือวิธีการสอน

3. การวิเคราะห์คะแนนและการจัดอันดับผลการเรียน (Grade Analysis and Benchmarking)

วิเคราะห์คะแนนรวมของนักศึกษาในรายวิชาเพื่อดูว่ามีการกระจายตัวอย่างไร เช่น มีนักศึกษาส่วนมากได้คะแนนในระดับใด และนักศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เปรียบเทียบผลการเรียนกับมาตรฐานหรือรายวิชาอื่นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อดูว่าผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชานี้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเรียนรู้ของคณะหรือมหาวิทยาลัยหรือไม่

4. การทวนสอบผ่านการประชุมอาจารย์ผู้สอน (Faculty Meeting or Review Board)

เชิญอาจารย์ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันมาประชุมเพื่อทบทวนมาตรฐานของรายวิชา โดยพิจารณาถึงเนื้อหา การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรหรือไม่ กระบวนการนี้ช่วยให้ได้ความคิดเห็นจากหลากหลายมุมมองและใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนารายวิชาต่อไป

5. การทวนสอบจากความสามารถในการนำไปใช้จริง (Real-world Application Review)

ทดสอบความสามารถของนักศึกษาในการนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในสถานการณ์จริง หรือในการฝึกปฏิบัติ เช่น กิจกรรมการฝึกงาน การทำโปรเจกต์ภาคสนาม หรือการใช้ทักษะในสถานการณ์จำลอง ประเมินว่านักศึกษามีความสามารถในการแก้ปัญหาจริงได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เห็นถึงคุณภาพของรายวิชาในการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา

6. การทบทวนและปรับปรุงผลการประเมินจากความคิดเห็นของนักศึกษา (Student Feedback on Assessment)

ใช้ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินผล เช่น คำถามปลายภาค หรือแบบทดสอบย่อย ว่าเป็นไปในทิศทางที่ช่วยให้เห็นถึงการเรียนรู้จริงหรือไม่ นำข้อเสนอแนะจากนักศึกษาในการปรับปรุงการประเมินผลให้เหมาะสมกับทักษะและความรู้ที่ต้องการวัด

7. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก (External Peer Review)

ใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก หรือที่ปรึกษาทางวิชาการเข้ามาช่วยตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา โดยเฉพาะในรายวิชาที่มีการใช้เทคนิคขั้นสูงหรือทักษะเฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เห็นมุมมองที่แตกต่างและแนะนำการพัฒนามาตรฐานรายวิชาให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพหรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่เป็นสากล
1. การรวบรวมข้อมูลและผลการเรียนรู้

ผลการประเมินนักศึกษา: รวบรวมคะแนนสอบ งานกลุ่ม ผลงานที่นักศึกษาได้ส่ง และผลการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา: ใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์เพื่อเก็บความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนักศึกษาเกี่ยวกับการสอนและเนื้อหาวิชา การสังเกตการณ์การสอน: บันทึกข้อมูลจากการสังเกตการสอนเพื่อดูว่ามีจุดแข็งและจุดอ่อนในกระบวนการสอนอย่างไร

2. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์: วิเคราะห์คะแนนสอบและการประเมินผลของนักศึกษาเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนในรายวิชา เช่น ดูว่าเนื้อหาไหนที่นักศึกษาเข้าใจได้ดี หรือเนื้อหาที่มีปัญหา การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน: เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์กับมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อดูว่ารายวิชานั้นตรงตามเป้าหมายหรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนักศึกษามาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงได้

3. การกำหนดเป้าหมายในการปรับปรุง

ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ในการปรับปรุงรายวิชา เช่น เพิ่มความเข้าใจของนักศึกษาในเนื้อหาที่มีปัญหา หรือปรับปรุงวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการตั้งเป้าหมายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาและมาตรฐานการศึกษา

4. การวางแผนปรับปรุงการสอน

พัฒนาเนื้อหา: ปรับปรุงและปรับเปลี่ยนเนื้อหาวิชาที่ไม่ตอบโจทย์หรือที่นักศึกษาไม่เข้าใจ รวมถึงการเพิ่มตัวอย่างหรือกรณีศึกษาใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน: นำเทคนิคการสอนใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การใช้เทคโนโลยีการศึกษา หรือการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ปรับปรุงวิธีการประเมิน: เปลี่ยนแปลงรูปแบบการประเมินให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การใช้โปรเจกต์ การนำเสนอ หรือการประเมินโดยใช้กรณีศึกษา

5. การดำเนินการตามแผน

นำแผนที่ได้วางไว้ไปปฏิบัติในการสอนในภาคการศึกษาถัดไป พร้อมกับการติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้า เชิญผู้เชี่ยวชาญหรือเพื่อนร่วมงานเข้ามาช่วยให้ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์ระหว่างการสอน

6. การประเมินผลการปรับปรุง

วิเคราะห์ผลการเรียนรู้: หลังจากนำแผนไปปฏิบัติแล้ว ให้รวบรวมข้อมูลและประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาอีกครั้ง เพื่อดูว่าการปรับปรุงนั้นมีผลต่อผลการเรียนรู้หรือไม่ เก็บข้อมูลความคิดเห็นจากนักศึกษา: ใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์อีกครั้งเพื่อตรวจสอบว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นได้รับการตอบรับที่ดีจากนักศึกษาอย่างไร ปรับปรุงต่อเนื่อง: ใช้ข้อมูลที่ได้ในการปรับปรุงวิชาในอนาคตเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

7. การสื่อสารผลการปรับปรุง

นำเสนอผลการปรับปรุงให้กับคณะหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการรับรู้และสนับสนุนในการพัฒนารายวิชา สร้างช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับนักศึกษาให้มีความเปิดเผยในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเสริมสร้างการเรียนรู้