ความแข็งแรงของวัสดุ 1

Strength of Materials 1

1.1  เข้าใจหลักของแรงและความเค้น
1.2  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด
1.3  คำนวณหาความเค้นในคาน แรงเฉือนและโมเมนต์ดัด
1.4  คำนวณการโก่งตัวของคานโดยวิธีการรวมผลและวิธีการอินติเกรตสองชั้น
1.5  คำนวณค่าแรงบิด
1.6  คำนวณค่าหน่วยความเค้นประสม
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเทคโนโลยีปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของแรงและความเค้น ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ความเค้นในคาน แรงเฉือนและโมเมนต์ดัด การโก่งตัวของคานโดยวิธีการรวมผลและวิธีการอินติเกรตสองชั้น แรงบิด หน่วยความเค้นประสม
1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
แนะนำในห้องเรียน อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา เปิดโอกาสให้มีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ และปลูกฝังจรรณยาบรรณวิชาชีพ
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา การขานชื่อ การให้คะแนนเข้าชั้นเรียน
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สอน อธิบาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา อธิบายความเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ประเมินจากการถามตอบในชั้นเรียน
สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
แนะนำในห้องเรียน อธิบาย สอน ยกตัวอย่าง แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
แนะนำในห้องเรียน ใช้สื่อการสอนที่ทำให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ประเมินจากการเสวนา
มีทักษะในการใช้เครื่องช่วยคำนวณสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
สอน อธิบาย ยกตัวอย่างการใช้เครื่องช่วยคำนวณที่เกี่ยวข้อง แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
สอบกลางภาค และสอบปลายภาค สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง มอบหมายงานที่ส่งเสริมการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3, 5, 6 สอบกลางภาค,สอบปลายภาค 9,18 45%, 45%
2 1, 4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม ความตั้งใจ การถามตอบ การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
บุรฉัตร ฉัตรวีระ และ วทัชภฬ เดชพันธ์, ผู้แปล. (2545). กลศาสตร์วัสดุ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด. บุรฉัตร ฉัตรวีระ และ วทัชภฬ เดชพันธ์, ผู้แปล. (2545). กลศาสตร์วัสดุ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด. สิทธิชัย แสงอาทิตย์, ผู้แปล. กลศาสตร์วัสดุ. นครราชสีมา: สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. Hibberler, R.C. (2018). Mechanics of materials. Malaysia: Pearson Education. James M. Gere and Barry J. Goodno. (2012). Mechanics of Materials. USA: Cengage Learning.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ