ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

Electric and Electronics for Electric Vehicles

เพื่อให้นักศึกษามีองค์ความรู้และทักษาเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับพื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์เบื้องต้นได้
เพื่อให้นักศึกษามีองค์ความรู้และประสบการณ์ (เชิงปฏิบัติ) ด้านระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นฐานในการเรียนรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ พื้นฐานไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น ไฟฟ้าตัวถัง ไดนาโม แบตเตอร์รี่ วงจรไฟฟ้ายานยนต์ ระบบจุดระเบิด ระบบประจุไฟฟ้า ระบบส่องสว่าง ระบบอำนวย ความสะดวกและความปลอดภัย และศึกษาพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวต้านทาน คอนเดนเซอร์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ มอสเฟส ออปแอมป์ ไอซีไทเมอร์ลอจิกเกต รวมถึง การเขียนโปรแกรมในไมโครคอนโทรเลอร์
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (หมายเหตุ เฉพาะรายที่ต้องการ)
      1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
      1.1.2 สามารถวิเคราะห์ และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
      1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
      1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษา ตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
      1.2.2 บรรยายพร้อมยกประเด็นตัวอย่างเกี่ยวกับจริยธรรม ความรับผิดชอบในการประกอบ วิชาชีพ การนำเอาวิชาชีพไปใช้อย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ วิชาชีพในการแสวงหา ผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสังคมและผู้ประกอบการที่อาจจะได้รับความเสียหายได้
      1.3.1 ประเมินจาการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน
      1.3.2 ประเมินจากการส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษามีความรู้ด้านฟ้ารถยนต์เบื้องต้น เช่น ระบบไฟฟ้าตัวถัง ระบบจุดระเบิด ระบบประจุไฟฟ้า ระบบส่องสว่าง แบตเตอร์รี่ ระบบอำนวยความสะดวยภายในรถยนต์ และมีความรู้พื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เช่น คอนเดนเซอร์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ มอสเฟส ออปแอมป์ ไอซีไทเมอร์ ลอจิกเกต รวมถึงความรู้เบื้องต้นด้านการเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์
ผู้สอนแบ่งการสอนออกเป็น 2 ส่วน คือ บรรยายภาคทฤษฏี ซึ่งมีการมอบหมายแบบฝึกหัด งานเดี่ยว งานกลุ่ม และการสอนภาคปฎิบัติที่ได้มีการนำเทคนิคการสอน แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Active Based Learning) และการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – Based Learning)
ผู้สอนได้มีการจัดการทดสอบย่อยประจำหน่วย สอบกลางภาค สอบปลายภาค การประเมินผลจากคะแนนนักศึกษา ทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฏี และพฤติกรรมจิตพิสัยของนักศึกษา
พัฒนาความสามารถในกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการมีทักษะทางการวิเคราะห์ สังเคราะห์
มอบหมายโจทย์คำถามเพื่อให้นักศึกษาหาคำตอบ ในคาบตามเรื่องที่เรียน การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – Based Learning : PBL ) ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน และการแสดงความคิดเห็น กระตุ้นโดยวิธีการซักถาม การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ วัดผลจากการประเมินผลการปฏิบัติการของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนทันเวลา มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเข้าเรียนตรงเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคาะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล การนำเสนอรายงาน แทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างสอนโดยผ่านการเล่าเรื่องต่างๆ สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบ การมีมนุษยสัมพันธ์ การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร ฯลฯ เช็คชื่อทุกครั้งเข้าชั้นเรียน  แก้ไข
นักศึกษาประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียนในเรื่องความรับผิดชอบ กระตือรือร้น การเข้าใจเนื้อหาที่เรียน และความพึงพอใจ ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งการบรรยาย และตารางตัวเลข พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม ฝึกปฏิบัติการ
ประเมินผลจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย ประเมินจากแบบฝึกหัดและผลงานที่นักศึกษาทำ
พัฒนาทักษะการต่อวงจรตามที่ออกแบบ ทักษะการแก้ไขปัญหา เมื่อต่อวงจรตามที่ออกแบบ แล้วไม่ทำงานตามที่ต้องการ ทักษะการประยุกต์วงจรที่ออกแบบ ให้สอดคล้องกับการนำไปใช้งานจริง
มอบหมายงานให้ศึกษาเพื่อทำการออกแบบ สังเคระห์ วงจรให้ทำงานได้ตามที่โจทย์กำหนด อธิบบายการทำงานของวงจรที่ได้ออกแบบ และสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ฝึกปฏิบัติการ สรุปผลที่ได้จากการปฏิบัติ  แก้ไข
ประเมินผลจากการทำงานงานของวงจะที่นักศึกษาได้สร้างขึ้น  ประเมินจากแบบฝึกหัดและผลงานที่นักศึกษาทำ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 1 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 ENGAE004 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/การส่งงานตามที่มอบหมาย/การมีส่วนร่วมในห้องเรียน 1 ถึง 17 10%
2 ใบงานและแบบทดสอบประจำหน่วย การทดสอบย่อยประจำหน่วย/การทดสอบปฎิบัติ 2 ถึง 16 40%
3 หน่วยการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ที่ 2 ถึง 8 สอบกลางภาค 2 ถึง 8 20%
4 หน่วยการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ที่ 10 ถึง 16 สอบปลายภาค 10 ถึง 16 30%
หนังสือเรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์กับ Arduino  ผู้เขียน :รศ. โอภาส ศิริครรชิตถาวร นคร ภักดีชาติ วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล
หนังสือ ทฤษฎีและปฏิบัติไฟฟ้ายานยนต์  ผู้เขียนประสานพงษ์ หาเรือนชีพ
หนังสือปฏิบัติการวงจรดิจิทัลขั้นพื้นฐานสำหรับนักทดลอง
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ