การเขียนโต้ตอบทางธุรกิจ

English Correspondence

1. เพื่อศึกษารูปแบบและโครงสร้างจดหมายทางธุรกิจ
2. เพื่อเรียนรู้คำศัพท์ สำนวนและประโยคที่ใช้ในการเขียนโต้ตอบ
3. เพื่อฝึกปฏิบัติเขียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ 
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบและโครงสร้างจดหมายทางธุรกิจ เรียนรู้คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้ในการเขียนโต้ตอบทางธุรกิจได้ และสามารถนำไปเขียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้
รูปแบบและโครงสร้างจดหมายทางธุรกิจ คำศัพท์ สำนวนและประโยคที่ใช้ในการเขียนโต้ตอบ และฝึกปฏิบัติเขียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ 
อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่ม (รายที่ต้องการ) จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ 
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 
1.1.3 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยมีผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน ประเมินผลงานโดยตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ
2.2 วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้
2.5 สรุปความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง
2.7 ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติได้
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและสถานการณ์จำลอง จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือ การเชิญผู้เชี่ยวขาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า หาความรู้และการเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันด้านทักษะและความสามารถภาษาอังกฤษตลอดจนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ
สอบกลางภาคและปลายภาคโดยใช้การสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า ทดสอบย่อยและการสอบปฏิบัติตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา การนำเสนอผลงานและกาเขียนรายงานรายบุคคล รายคู่และรายกลุ่ม การสังเกตจากการอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น
3.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง การระดมสมองและอภิปรายโต้แย้งในหัวข้อที่กำหนด จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาตามแนว Constructivism (การสร้างความรู้ด้วยตนเอง) เช่น การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) การเรียนรู้โดยโครงการเป็นฐาน (Project-based learning) และ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและผลการปฏิบัติของนักศึกษา ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน จัดการสัมมนา การอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน การประเมินตนเองโดยการสะท้อนคิดของผู้เรียน  เพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือ คณาจารย์
4.3 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในรายวิชา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collaborative learning) โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและบริการชุมชนเพื่อเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ทักษะสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ ให้เกียรติ ตระหนักถึงหน้าที่และสิทธิของมนุษย์ ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนะรรมนานาชาติ
การสังเกตพฤติกรรมและบทบาทของนักศึกษาในกระบวนการกลุ่ม ประเมินและติดตามกระบวนการเรียนรู้ การสะท้อนคิด (Reflection) ต่อกระบวนการกลุ่ม การประเมินตนงเอง และการประเมินโดยเพื่อน
5.3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม 5.4 ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ และวัฒนธรรมนานาชาติ
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการนำเสนองานและการทำรายงาน ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะภาษา ตัวเลข และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความสนใจและความต้องการของนักศึกษา จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ
การประเมินผลงาน รายงาน และการนำเสนองาน สอบย่อยตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา กลางาภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า มีเกณฑ์การประเมินผลการเรียนในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
6.3 ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานในระดับสากล
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้นในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและแนวปฏิบัติที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง จัดอบรม สัมมนา และกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงาน ก่อนนักศึกษาเข้าร่วมสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ แนะนำแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์
ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน ประเมินผลงานโดยอาจารย์นิเทศ ประเมินผลการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5 6
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 1.3 2.2 2.5 2.7 3.1 4.3 5.3 5.4 6.3
1 BOAEC160 การเขียนโต้ตอบทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3 สังเกตพฤติกรรม การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.2, 2.5, 2.7, 3.1 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 25%
3 2.2, 2.5, 2.7, 3.1 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 25%
4 3.1, 4.3, 5.1, 5.4, 6.3 งานมอบหมายในชั้นเรียน สอบย่อย โครงงาน กิจกรรม Active learning ตลอดภาคการศึกษา 40%
เอกสารที่ผู้สอนเตรียมให้แต่ละสัปดาห์
Littlejohn, A. (2013). Company to company. (9th ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Sandler, C., & Keefe, J. (2008). 1001 Business Letters for All Occasions. Massachusetts: Adams Media.
Barnard, R. and Meehan, A. (2005). Writing for the Real World 2: An Introduction to Business Writing. Oxford: Oxford University Press.
Palmer, G. (2008). Real Writing 2 without Answers. Cambridge: Cambridge University Press.
Wallwork, A. (2014). Email and Commercial Correspondence. A Guide to Professional English. Springer, New York, NY.
Whitmell, C. (2014). Business Writing Essentials. Kindle Edition
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ • การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา • ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง • การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  • การประเมินตนเองเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมในชั้นเรียน Active learning
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ • สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน • สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน • ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา • ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา • ประเมินการฝึกปฏิบัติการนำเสนองานอภิปรายงานวิจัยที่ได้มี หาข้อมูล วิเคราะห์และสรุป
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้ • ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียนทุกปี • สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์