เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ
Digital Technology for Tourism and Hospitality
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพและทักษะในวิชาชีพสามารถปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและบริการ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ 1.2 เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นและของประเทศ 1.3 เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ มีใจรักงาน และสำนึกในจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวและการบริการในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคต กระแสการท่องเที่ยวและการบริการที่กำลังเป็นที่นิยม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ประเภทและลักษณะดิจิทัลด้านการบริการ ประเทศไทยกับยุคดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและเทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของการท่องเที่ยวและบริการสมัยใหม่ คุณลักษณะของสินค้าบริการท่องเที่ยวดิจิทัล อุตสาหกรรมบริการในยุคดิจิทัลกับภาครัฐ และภาคเอกชน พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในยุคดิจิทัล การเตรียมความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวยุคใหม่
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องสาขาการท่องเที่ยว
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน 1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ 1.4 มีวินัยมีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ
-เน้นย้ำการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือต่าง ๆ -อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน -สอดแทรกกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
-พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา -พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผล และยกตัวอย่างที่น่าสนใจ และสร้างสรรค์ -ประเมินผลการจากกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย -เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือต่าง ๆ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการ บูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ 2.3 มีความรู้ในกระบวนการและเทคนิคการวิจัย
-บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง -อภิปรายหลังการทำกิจกรรม -การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า - การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎี -การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู้ (Problem – based Learning)
- ทดสอบกลางภาคและปลายภาค - ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
3.1 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา รวมทั้งหาแนวทางป้องกันแก้ไขทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.2 สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจ 3.3 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติจริงตามสถานการณ์ 3.4 สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ
-ร่วมกิจกรรม สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติแล้วอภิปรายกลุ่ม พร้อมกับรายงานทั้งด้านวาจาและการเขียน - ฝึกการเขียนรายงานอย่างเป็นขั้นตอนและหาแนวทางแก้ไขได้ (Solving Problem)
- ปฏิภาณไหวพริบในการตอบข้อซักถามอาจารย์เมื่อมีสถานการณ์จำลองซึ่งเป็นข้อชี้วัดหนึ่งในการให้คะแนนปฏิบัติได้ - พิจารณาจากการทำงานรวมกลุ่ม การประสานงานและรักษาอำนาจหน้าที่ในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 4.2 สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัย
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 4.2 สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัย
- จัดกิจกรรมกลุ่มหรือสถานการณ์จำลอง แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุ
- นักศึกษาประเมินผลตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด เกี่ยวกับการช่วยเหลือและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในงาน - ประเมินผลจากการทำงานเสร็จตรงเวลามีความรับผิดชอบทั้งต่ออาจารย์ และเพื่อนในกลุ่มได้
5.1 สามารถใช้ภาษาต่างประเทศใน การฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างมีสิทธิภาพ 5.2 สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้ 5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.4 สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติ
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย และตารางตัวเลข พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง - นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
สอบกลางภาคและปลายภาค
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.1,1.2,1.3,1.4, | การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน | 1-15 | 10% |
2 | 4,5 | การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน | ทุกสัปดาห์ | 40% |
3 | 2,3 | การทดสอบย่อย 3 ครั้ง | 4,6,11 | 10% |
4 | 2,3 | การสอบกลางภาค | 8 | 20% |
5 | 1,2,3,4,5 | การนำเสนองาน/การรายงาน | 14 | 20% |
6 | 2,3 | การสอบปลายภาค | 17 | 30% |
ไพศาล กาญจนวงศ์. (2554) นิเทศศาสตร์กับการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2551) ระบบสารสนเทศทางการท่องเที่ยว. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม. นนทบุรี :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การจัดการความรู้ กระทรวงท่องเที่ยวกีฬา http://www.mots.go.th/ewtadmin/ewt/mots_km/more_news.php?cid=26&filename=index
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนใน ข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการแกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ