สารคดี และภาพยนตร์สั้น

Documentary and Short Film

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และมีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม อีกทั้งมีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และมีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน  
1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีภาวะผู้นําเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  
1.5 เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนําเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน       
ไม่มี เนื่องจากเป็นวิชาใหม่
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและพัฒนาการของสารคดี และภาพยนตร์สั้น ประเภทของสารคดี และภาพยนตร์สั้น การวางแนวคิดเรื่อง การสร้างสรรค์การเล่าเรื่อง รวมทั้งการผลิตงานสารคดี และภาพยนตร์สั้นเพื่อการสื่อสารในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
           Study and practice principles, evolution, and types of documentary and short films; plotting and telling a story; producing documentary and a short film for communication design in online and offline forms.
3.1  อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานเขียนของนักศึกษาผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์
3.2 อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
 ดำเนินการสอนนักศึกษาให้มีระเบียบวินัย โดยการฝึกฝน แบ่งหน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยใช้การบรรยาย สอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพ  พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนออกแบบสื่อที่สะท้อนในเรื่องเกี่ยวกับกับคุณธรรม จริยธรรม
1.3.1 ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
1.3.2 ประเมินจากความตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.3 ประเมินจากการอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
1.3.4 ประเมินจากการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและการรายงานหน้าห้อง
1.3.5 ประเมินจากผลงานที่ถูกต้องตรงตามโจทย์ที่ให้ไว้
2.1.2 ความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
2.1.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม
บรรยายและอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้ PowerPoint และการถามตอบกับนักศึกษา ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มีการมอบหมายงานโดยการสร้างโจทย์ให้เรียนรู้จากการค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลและจากการสัมผัสกับสถานการณ์จริง เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสื่อในสังคม, ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสายงานวิชาชีพออกแบบสื่อสาร
2.3.1 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.2 ประเมินจากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากการสอบย่อย
2.3.4 ประเมินจากประสิทธิผลจากการค้นคว้า และการรายงานหน้าห้อง
3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์  
3.1.4 มีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน  
ดำเนินการสอนโดยการศึกษาจากตัวอย่างกรณีศึกษาด้านการวางแผนสื่อ และใช้การมอบหมายงานให้สืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม และจากนั้นให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาจากผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน รายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน พร้อมข้อเสนอแนะ
3.3.3 ประเมินกระบวนการทำงานและการปฏิบัติงานกลุ่ม
3.3.4 ประเมินจากการนำเสนองาน การถามตอบข้อซักถามจากอาจารย์และเพื่อนในห้อง
4.1.1 มีภาวะผู้นําเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   4.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม และจัดให้มีการประสานงานกับองค์กรหรือบุคคลภายนอก โดยมีการรายงานผลการประชุมและผลการดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อเป็นสอบถามความก้าวหน้า และทราบปัญหาการทำงาน จากนั้นนักศึกษาอภิปรายผลการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคในการทำงานทีละกลุ่ม และเปิดโอกาสในเพื่อนในห้อง การวิพากษ์วิจารณ์ ซักถามตอบและเสนอข้อคิดเห็นในการทำงาน
4.3.1 การประเมินตนเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน
4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และการทำกิจกรรมจากภาพเบื้องหลังการทำงาน
4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และงานกิจกรรมของหลักสูตร คณะฯ มหาวิทยาลัย
4.3.4 ประเมินจากประสิทธิภาพผลงานกลุ่ม การถามตอบ แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนําเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือ สถานการณ์จริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถจัดการข้อมูลการนำเสนองานให้เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการเลือกใช้ภาษาในการอธิบายและนำเสนอผลงาน
5.3.2 ประเมินจากการถามตอบ และแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.3.3 ประเมินจากความถูกต้องในการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.1.1 มีทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน       
6.2.1 สร้างโจทย์ในผลิตหนังสั้นและสารคดี โดยเน้นให้ทำตามกระบวนการผลิตสื่อที่ถูกต้อง และมีการตรวจสอบความก้าวหน้าเป็นระยะๆ 
6.2.2 มีการสั่งงานทั้งที่เป็นรายบุลลคลและกลุ่ม เพื่อฝึกฝนการสร้างสรรค์งานด้วยตนเองและการทำงานกลุ่มที่มีการจับฉลากหน้าที่เพื่อความยุติธรรมและการปรับตัวเข้าคนอื่น
6.2.3 มีการสนับสนุนให้ค้นคว้าข้อมูลและการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้แสวงหาและทดลงหาแนวทางในการสร้างสรรค์งานที่เป็นแนวทางเฉพาะตน
6.3.1 ประเมินจากการเลือกใช้ภาษาในการอธิบายและนำเสนอผลงาน
6.3.2 ประเมินจากการถามตอบ และแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
6.3.3 ประเมินจากความถูกต้องในการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.3.4 ประเมินจากการนำเสนองานและประสิทธิผลของผลงานทัั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1
1 BAACD163 สารคดี และภาพยนตร์สั้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2 การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิงข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา 10
2 1.1, 1.2, 2.2, 2.3, 3.2 , 3.4, 4.1, 4.2, 5.2, 6.1 คะแนนเก็บ ชิ้นงานระหว่างภาค 1. VDO ถ่ายทำสารคดี Biography (งานเดี่ยว) 2. เขียนบทภาพยนตร์ (งานเดี่ยว) 3. VDO หนังสั้น/ สารคดี, นำเสนอผลงานและรายงานการถ่ายทำ (งานกลุ่ม 10 คน) 4. อัพโหลดไฟล์ตามแพลตฟอร์มออนไลน์ 5 8 14 15 60
3 1.1, 1.2, 2.2, 2.3, 3.2 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 18 30
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. (2556). เขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด. (3, บ.ก.) กรุงเทพฯ: ไบโอสโคป. รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Bernard, S. C. (2011). Documentary Storytelling. Creative Nonfiction on Screen (3 ed.). UK: Focal Press. Dancyger, K. (2011). The Technique of Film & Video Editing. History, Theory, and Practice (5 ed.). UK: Focal Press. Frierson, M. (2018). Film & Video Edition Theory. How editing creates meaning. New York: Routledge. Goldman, W. (2547). Which Lie Did I Tell? More Advanture in the Screen Trade. Bangkok: บริษัท คนทำหนังสือ จำกัด. Hewitt, J., & Vazquez, G. (2014). Documentary Filmaking. A Contemporary Field Guide (2 ed.). New York: Oxford University Press. จันทร์ส่งแสง, ว. (2562). วิชาสารคดี. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สารคดี. ผลิตผลการพิมพ์, ธ. (2556). เขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด (3 ed.). กรุงเทพฯ: ไบโอสโคป. โลหิตกุล, ธ. (2552). กว่าจะเป็นสารคดี (5 ed.). กรุงเทพฯ: อ่านเอาเรื่อง. วิวัฒน์สินอุดม, ร. (2547). เสกฝัน ปั้นหนัง บทภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท บ้านฟ้า จำกัด. วิวัฒน์สินอุดม, ร. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มี
Book resources:

อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล. (2556). ชั้นครู1 ตัวตนโดยตัวงาน. นครปฐม: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). อาทิตย์ อัสสรัตน์. (2556). ชั้นครู2 Personal Movie. นครปฐม: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). เป็นเอก รัตนเรือง. (2556). ชั้นครู3 One Stand-up Filmmaker. นครปฐม: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). เปี๊ยก โปสเตอร์. (2556). ชั้นครู4 ผู้กำกับหัวใจศิลปิน. นครปฐม: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). ลี ชาตะเมธีกุล. (2556). ชั้นครู5 การตัดต่อภาพยนตร์. นครปฐม: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. (2552). ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. (พิมพ์ครั้งที่3) กรุงเทพฯ: พับลิคบุเคอรี. ธนา วงศ์ญาณาเวช. (2563). หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย. (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพฯ: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด. อริสา พิสิฐโสธรานนท์. (2559). เข้าใจหนังเข้าใจจิต วิเคราะห์3 มหากาพย์ภาพยนตร์แบบจิจวิทยาวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีนา. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2565). ในหนังมีศิลปะ งานศิลปะที่แฝงกายใต้พื้นผิวภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: คอมม่อนบุ๊คส. อานนท์ ลีลาประเสริฐ. (2556). ผมไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน. กรุงเทพฯ: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์ จำกัด Bordwell, D., & Thomson, K. (2010). Film Art. An Introduction (9 ed.). New York: McGraw-Hill. Elkins, D. E., & S.O.C. (2009). The Camera Assistant's Manual (5 ed.). UK: Focal Press. Schleser, M. (2021). Smartphone filmmaking. USA: Bloomsbury Publishing Plc. Storr, W. (2566). The Science of Story Telling. Bangkok: Bookscape Co.,Ltd. Thompson, R., & Bowen, C. J. (2009). Gramma of the Shot (2 ed.). UK: Focal Press. เกิดดี, ก. (2563). ภาพยนตร์กลวิจารณ์. ปทุมธานี: บริษัท เอเชียดิจิตอล การพิมพ์ จำกัด. จักรวาล. (2564). หนังทดลอง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์. ทองเลิศ, ก. (2554). การถ่ายภาพเชิงสารสารศาสตร์ แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด.

 
Online resources: https://filmschoolrejects.com/
https://theasc.com/  
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
          1.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้
• ความตรงต่อเวลา
• การแต่งกาย บุคลิกภาพ
• คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม
• การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน
• ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้
• แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน
• จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา
• การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
           1.2 ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้
• ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้
• ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังต่อไปนี้

ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑ สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน ในประเด็นต่อไปนี้

• ความตรงต่อเวลา
• การแต่งกาย บุคลิกภาพ
• คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม
• การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน
• ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน
• ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้
• แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน
• จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา
• การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
2.3 ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้
• ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน
• ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน
• ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้
3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน
3.2 ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
• ผลการศึกษาของนักศึกษา
• ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
• ผลการประเมินการสอนของอาจารย์
• บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้
• การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร
• การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอนรวม ทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน และผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล