ทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี

Professional skill and Technology

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการสร้างสูตรการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี และเพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นต้น การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับแก้ข้อมูล การจัดทํารายงานทางการเงิน 2. เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี 3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายธุรกิจแบบต่างๆ และหนังสือราชการโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์ 4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คําสั่งในการสรุปผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนําเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
1. เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสเปรดชีตเพื่อการจัดทำบัญชี การจัดทำรายงานทางเงินให้เหมาะสม 2. เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี 3. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฎิบัติการใช้โปรแกรมสเปรดซีตในการสร้างสูตร เศษส่วน ฟังก์ชั่นทางตรรกศาสตร์การค้นหาและอ้างอิง ฟังก์ชันทางการเงิน และการใช้ฟังก์ชั่นในการคํานวณเพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นตอน การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับแก้ข้อมูล การจัดทํารายงานทางการเงิน การใช้คําสั่งในการสรุปผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนําเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ, การพิมพ์สัมผัสทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ การพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายธุรกิจแบบต่างๆ และหนังสือราชการโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์, โปรแกรมทางด้านการจัดการฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน, การใช้เครื่องคํานวณ และฝึกทักษะทางวิชาชีพอื่นตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อเป็นทางแนวทางในการประกอบวิชาชีพบัญชี การทํางานเป็นทีม การบริหารเวลา การทํางานภายใต้แรงกดดัน และแนวทางการประกอบวิชาชีพ
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม ทักษะวิชาชีพ1/67 หรือทาง Message Facebook
1) มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 2) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทํางานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1) การสอนสอดแทรกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในรายวิชา 2) กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงานและการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 3) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
1) สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียนและความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตรงเวลา 2) มีการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการรายงาน/งานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง ชัดเจนและเหมาะสม
1) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทําและนําเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
1) การเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะมีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติและมุ่งเน้นวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติงานได้จริงจากการเรียนรู้ 2) การเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นวิธีการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ 3) การสอนแบบบรรยายและอภิปราย มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน มุ่งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนโดยการตั้งคำถาม ให้คิดวิเคราะห์เพื่อการค้นหาคำตอบที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้และจำเป็นต่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยด้วยตนเองเป็นหลัก
1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ 2) ตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาพิเศษ 3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทั้งการถามตอบในชั้นเรียนและการทำแบบฝึกหัด
1) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 2) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสําคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง กรณีศึกษา และการถามตอบในชั้นเรียน 2) เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) งานที่มอบหมาย 2) การสอบวัดผลในรายวิชา 3) การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1) กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานของนักศึกษา 2) สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม
1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมตามงานที่ได้รับมอบหมาย
1) มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น เช่น การค้นคว้าด้วยตนเองทางสื่อออนไลน์ หรือการจัดทำและนำเสนอโดยการใช้ PowerPoint 2) จัดทำสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) ประเมินผลงานจากสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมและทันสมัย 2) ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและการอภิปรายผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BACAC125 ทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม -การเข้าเรียน ไม่น้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด -สังเกตการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน -สังเกตการสะท้อนคิดท้ายบทเรียน -ผลงาน/แบบฝึกหัดในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การ Pitching ผลงาน 8 30%
3 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา ทดสอบย่อย โปรแกรมสเปรดชีท 11 10%
5 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Power BI 17 20%
6 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา สอบปลายภาค 18 20%
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี รวบรวมโดย ดร.วรีวรรณ เจริญรูป (2567)
หนังสือ Excel for Accounting ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ ลีรัตนชัย
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter)
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม 1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และกิจกรรมสะท้อนคิด 1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์ 2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์ 2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน 2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน และกิจกรรมสะท้อนคิด 2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน 2.5 การทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
เน้นให้นักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิชาชีพ โดยการสอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
1) มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 2) ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
1) นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น 2) ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี 3) ฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา