มาตรฐานการผลิตทางพืช
Standards for Crops Production
1.1) เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร
1.2) เพื่อให้เข้าใจถึงการผลิตสินค้าทางการเกษตรให้เข้าสู่มาตรฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทาน
1.3) เพื่อให้เข้าใจการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)
1.4) เพื่อให้เข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิตอาหารและการวิเคราะห์ความเสี่ยง (GMP, HACCP)
1.5) เพื่อให้เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนในการรับรอง
1.6) เพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการศึกษาทางด้านมาตรฐานการผลิตทางพืช
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเหมาะสมในสภาวการณ์ต่าง ๆ
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของมาตรฐานการผลิตพืชในห่วงโซ่อุปทาน กฎหมายและข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร การผลิตพืชในแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ในพืชอาหาร ข้าวและมาตรฐานพืชอินทรีย์ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง (HACCP) กระบวนการและขั้นตอนในการรับรอง
5 ชั่วโมง / สัปดาห์
- ตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพด้านความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ในเรื่องความปลอดภัยจากการบริโภคผลไม้ที่อาจมีอันตรายจากสารพิษ (1.2) - มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด (1.3) - รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม (1.4) - มีสัมมาคารวะให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส (เพิ่มเติมเฉพาะรายวิชานี้)
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่าง ๆ - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ - อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพ และให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และในโอกาสที่สาขาวิชา / คณะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอาจารย์ - การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน และการส่งรายงาน - ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา - นักศึกษาประเมินตนเอง
ความรู้เรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร เพื่อให้เข้าใจถึงการผลิตสินค้าทางการเกษตรให้เข้าสู่มาตรฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทาน มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เข้าใจหลักเกณฑ์ และวิธีที่ดีในการผลิตอาหาร และการวิเคราะห์ความเสี่ยง (GMP, HACCP) เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนในการรับรอง และมีเจตคติที่ดีในการศึกษาทางด้านมาตรฐานการผลิตทางพืช
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยาย ร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning เป็นต้น - เพิ่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ
- การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค - ทำรายงานรายบุคคล - การทำรายงานการผลิตไม้ผล ตามมาตรฐาน GAP
- สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาทั้งในและนอกชั้นเรียน (3.1) - สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานการผลิตไม้ผลที่มีคุณภาพในสถานที่จริง (3.1) - สามารถร่วมจัดทำระบบเกษตรดีที่เหมาะสมในพื้นที่จริง (GAP) (3.2)
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) - ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ - มอบหมายงานกลุ่มร่วมเกษตรกรจัดทำระบบเกษตรดีที่เหมาะสมจากพื้นที่การผลิตจริง
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม - รายงานกลุ่ม - การสอบข้อเขียนกลางภาค และปลายภาค
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ (4.2) - มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคล และงานกลุ่ม (4.3) - วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม (4.3)
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก - มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด - กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา - ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ - ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย (5.1) - สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูล (5.2) - สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางอินเตอร์เน็ต (5.2) - สามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม (5.3)
- ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน - การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล - การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล - การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ - การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน - ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน - ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่มี
บรรยาย ประกอบ power point
สอบวัดผลระหว่างภาค และปลายภาค และงานมอบหมายและรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรมจริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี | 6.ด้านทักษะพิสัย | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 |
1 | BSCAG602 | มาตรฐานการผลิตทางพืช |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.3, 2.1, 4.3, 5.1, 5.3 | รายงาน เรื่อง GAP GMP HACCP | 1-16 | 30% |
2 | 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 | การสอบกลางภาค | 9 | 30% |
3 | 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 | การสอบปลายภาค | 16 | 30% |
4 | 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 | การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม | 1-16 | 2% |
5 | 1.3, 4.2, 4.3, 4.4 | การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ | 1-16 | 2% |
6 | 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 | การประเมินตนเองของนักศึกษา พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ | 1-16 | 2% |
7 | 4.1, 4.2, 4.3, 4.4 | การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา | 1-16 | 2% |
8 | 5.1, 5.2, 5.3 | การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา | 1-16 | 2% |
1. นันทิยา สมานนท์.2526.การขยายพันธุ์พืช.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพมหานคร.196 น. 2. ปิฐฐะ บุญนาค. 2529.ไม้ดอกไม้ประดับ.สำนักพิมพ์บรรกิจเทรดดิ้ง กรุงเทพมหานคร.383 น. 3. ยรรยง อัธยาศัยวิสุทธิ์. 2535.การพัฒนาโรงเรือนตัดดอกโครงการหลวง อุตสาหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ.จัดพิมพ์โดยวารสารเคหะการเกษตร กรุงเทพมหานคร.หน้า 162-169. 4. พาวิน มโนชัย.2537.การชักนำให้มะม่วงออกดอกโดยการเสียบกิ่ง.วารสารการเกษตร10(1): 50-57. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 5. พีรเดช ทองอำไพ.2529.ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.190 น. 6. สนั่น ใจดี และ มานพ บรรเจิด. 2535. การขยายพันธุ์พืช. คณะเกษตรศาสตร์บางพระ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ชลบุรี.246 น.
ค้นคว้าในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ต
ค้นคว้าในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ต
ใช้แบบประเมินผู้สอน แบบประเมินรายวิชา
การประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับ ปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง
และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือแหล่งผลิตพืชในชุมชนต่าง ๆ