จิตวิทยาการจัดการองค์การในโลกยุคใหม่

Psychology of organizational Management in Modern world

เมื่อศึกษาตามกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชานี้อย่างครบถ้วนแล้ว แล้วผู้เรียนจะเกิดความรู้ทักษะและทัศนะคติ ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. เข้าใจหลักการของจิตวิทยาองค์การและระบบองค์การ
2.เข้าใจกระบวนการบริหารจัดการในองค์การ
3. เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร
4. เข้าใจหลักการและเทคนิคในการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
5.รู้กลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารจัดการองค์การอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมยุคใหม่
6. เพื่อสงเสริมใหผูเรียนมีความสามารถในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ ใฝรู แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเปนไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงคของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา และมีทักษะแหงศตวรรษที่ 21 สามารถรูทันโลกและสามารถนําความรูไปใชในการดําเนินชีวิตไดอยางมีความสุข
7. เพื่อปลูกฝงใหผูเรียน มีทักษะการทํางาน (Skill) ความรู (Knowledge) ทักษะทางสังคม (Social skill) และ คุณธรรม และจริยธรรม (Ethics) รวมทั้งมารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
2.1 เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2.1 เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ศึกษาความหมาย ขอบเขต หลักการของจิตวิทยาองค์การ ระบบองค์การ การบริหารจัดการในองค์การทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์การ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคคลเชิงพฤติกรรมในการทำงาน ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงาน การบริหารความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงในองค์การ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานและคุณค่าของบุคคลในองค์การ รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารจัดการองค์การอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมยุคใหม่
         - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
         -  แจ้งตารางสอนส่วนตัวให้นักศึกษาทราบวัน เวลาว่างของอาจารย์ผู้สอน
         -  แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัว อีเมลล์หรือช่องทางติดต่อทางออนไลน์ของอาจารย์ผู้สอน
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักหลักการในการจัดองค์กร เข้าใจกลยุทธ์และเทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจในการทำงาน การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำในการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจและ สิ่งล่อใจในการทำงาน ทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสุขภาพในการทำงาน โดยมีคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้
   1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
    1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
   1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. สอดแทรกและส่งเสริมด้าน คุณธรรม จริยธรรมระหว่างการเรียนการสอน
2. ปลูกฝังให้มีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา
3. ใช้กิจกรรมในการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1. ประเมินจากผลการวิเคราะห์บทความและกรณีศึกษาที่มอบหมายรวมทั้งการทำกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน
2. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
3. การส่งงานตรงเวลา
4. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบบบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปราย กรณีศึกษา การแสดงบทบาทสมมติ การวิเคราะห์กรณีศึกษาและค้นคว้าบทความที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ โดยนำมาสรุปและอธิปรายร่วมกัน มีการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem base Learning) โดยอาศัยการเรียนรู้ผ่านการทำงานเป็นทีม  
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
4. การอภิปราย
5. ความถูกต้องสมบูรณ์ของงานที่มอบหมาย
6. การสอบ
 
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การบรรยายประกอบการใช้สื่อการสอน
2. กรณีศึกษา
3. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
4. อภิปราย
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
4. การอภิปราย
5. การสอบ
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
2. การอภิปรายร่วมกับการใช้กรณีศึกษา
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
4. การอภิปราย
5. ผลงานที่ได้รับมอบหมาย
 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. บทบาทสมมติ
2. เพื่อนคู่คิด
3. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
4. การอภิปราย
5. โครงงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 3.2 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
2 2.1, 3.2, 4.1 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
3 2.1, 3.2 งานที่มอบหมาย -การสัมภาษณ์ผู้นำทีประสบความสำเร็จ 3-5 10%
4 2.1, 3.2 สอบกลางภาค 9 25%
5 1.3, 2.1 สอบปลายภาค 17 25%
6 1.3, 2.1, 3.2, 4.1, 5.1 โครงงาน/การรายงานผลการศึกษา 16 20%
วิภาดา ญาณสาร. (25ุ61). จิตวิทยาการจัดการองค์การในดลกยุคใหม่. เอกสารประกอบการสอนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
ชูชัย สมิทธไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (25551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการจัดการ:ทันสมัยยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
สมศักดิ์ ประเสริสุข. (2554). จิตวิทยาการจัดการองค์การอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สิริอร วิชชาวุธ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุธรรม รัตนโชติ. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป.
Davis, K. & Newstom, J.W. (1989). Human behavior at work : Organizational behavior. (8th ed). New York : McGraw Hill. Gary, J. (1996). Organizational behavior : Understanding and managing life at work. (4th ed). New York : Harper Collins. Gibson, J.L. Ivancevich. J.M.,&Donnelly, J.H. (1997).
 Organizations, behavior, structure, processes. (9th ed). Boston : Mc Graw Hill.
Marcic, D. & Seltzer, J.(1998). Organizational behavior : Experiences and cases. (5thed). Cincinnati, OH :South Western College
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางจิตวิทยาองค์การ - www.psychologytoday.com - www.siop.org - www.socialpsychology.org/io.htm
-สิ่งพิมพ์ / วารสารทางวิชาการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
1.2 นักศึกษาเสนอแนะกิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์แรกของการเรียน
1.3 นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนของผู้สอนในสัปดาห์สุดท้าย
1.4 นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆ ที่สอดแทรกในบทเรียน
1.5 นักศึกษาประเมินการนำเสนอของเพื่อนที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีวิธีการดังนี้
2.1 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน และการอภิปรายกลุ่มใน ชั้นเรียน
2.2 สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3 ประเมินผลจากการนำเสนอและผลงานที่ได้รับมอบหมาย
2.4 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
3.1 ปรับปรุงเอกสาร เนื้อหา ตำรา สื่อการสอน ให้มีความทันสมัย ทันต่อปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาองค์การ
3.2 ให้นักศึกษาศึกษาความรู้ทางจิตวิทยาองค์การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากข่าว กรณีศึกษาขององค์กรต่างๆ และประสบการณ์การทำงานของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
3.3 นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
3.4 จัดให้มีการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนหรือให้คณาจารย์ได้เข้ารับการอบรมแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
3.5 สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
4.1 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเรียนและการใช้ชีวิต การมีวินัย ความรับผิดชอบในการเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามเวลาที่กำหนด
4.2 ระหว่างมีการเรียนการสอน ผู้สอนตรวจสอบความก้าวหน้าของนักศึกษาแต่ละคนจากงานที่มอบหมาย โดยผู้สอนแจ้งผลการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และหาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน
4.3 มีการจัดตั้งคณะกรรมการในแผนก/สาขา เพื่อตรวจสอบ ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอน และผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบจากวิธีการออกข้อสอบ วิธีการวัดและประเมินผลที่อิงการให้น้ำหนักคะแนนและเกณฑ์ที่ผ่านในรายย่อย
5.1 แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยผู้เรียน และคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการสอนที่ใช้ และนำเสนอต่อสาขาวิชา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยให้ข้อคิดเห็นและสรุปวางแผน พัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอต่อแผนกวิชา/สาขา/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป
5.2 วิชาจิตวิทยาองค์การ ต้องปรับปรุง เอกสาร ตำรา เนื้อหา กิจกรรมการสอน และสื่อการสอน ทุก 2 ปี เพราะปัญหาทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
5.3 เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มเติมหรือมีการค้นคว้าสื่อที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้