อุณหพลศาสตร์

Thermodynamics

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ของสสาร โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารหรือประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป
เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ของสสาร โดยนักศึกษาสามารถเข้าใจในสิ่งที่เรียนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือในรายวิชาอื่นๆ
ศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของสารบริสุทธิ์ ความร้อนและงาน พื้นฐานของการถ่ายเทความร้อน กฎข้อที่ศูนย์ กฎข้อที่หนึ่ง และกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ กฎการอนุรักษ์มวลและพลังงาน การเปลี่ยนแปลงรูปพลังงานและความร้อน เอนโทรปี วัฏจักรทางเทอร์โมไดนามิกส์
Study of properties of pure substances, heat and work, the basics of heat transfer, zero law, first law and second law of thermodynamics, conservation of mass and energy principle, energy and heat change, entropy and thermodynamic cycles.
ตามความต้องการของนักศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต*
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม**
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
4. สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 
5. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
1. ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
2. สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1. การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
2. พิจารณาจากการทำงานในระหว่างเรียนและระหว่างการสอบ
3. การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1. มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี **
2. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
3. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น*
5. สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงาน
บรรยาย อภิปรายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอุณหพลศาสตร์ โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมทั้ง นำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน
คะแนนแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
1. มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ*
3. สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ**
4. มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
5. สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ทำการสอนโดยอธิบายขั้นตอนในการพิจารณาการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน พร้อมทั้งมีกิจกรรมการแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่กำหนดให้หน้าชั้นเรียน  
คะแนนแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
2. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณาเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
3. สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง*
4. รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ*
5. มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
1. ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับและการวางแผนการทำงานในงานรายบุคคลและงานรายกลุ่ม
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
สังเกตุพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
1. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
2. มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
3. สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4. มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์*
5. สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้**
ทำการสอนโดยมีกิจกรรมหน้าห้องเรียน โดยนักศึกษาต้องมีการบรรยายและอธิบายขั้นตอนและตัวแปรต่างๆ จากการแก้ปัญหาของโจทย์ที่กำหนดให้ 
คะแนนจากกิจกรรมหน้าชั้นเรียน และแบบฝึกหัด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 4 5 1 2 3 4 5 5 1 2 3 4 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGCC521 อุณหพลศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10
2 ความรู้ คะแนนแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 3 5 9 12 14 17 50
3 ทักษะทางปัญญา คะแนนแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 3 5 9 12 14 17 20
4 4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ สังเกตุพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย - -
5 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คะแนนจากกิจกรรมหน้าชั้นเรียน และแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 20
Yunus A. Cengel, John M.Cimbala and Robert H. Turner. (2017). Fundamentals of Thermal-Fluid Sciences, 5thed, New York: McGraw-hill, 1063p. ISBN 978-0-07-802768-0.
Yunus A. Cengel and Michael A. Boles. (2007). Thermodynamics An Engineering Approach (SI Units), 6thed, Singapore: McGraw-hill, 976 p. ISBN 978-0-07-125771-8.
Yunus A. Cengel and Michael A. Boles. (2005). Thermodynamics An Engineering Approach, 5thed, McGraw-hill, 1056p. ISBN 978-0-07-310768-4.
 
Hugh D. Young and Roger A. Freedman. (2012). University physics with modern physics, 13th ed, Addison-Wesley. 1521p. ISBN-13: 978-0-321-69686-1.
John D. Cutnell & Kenneth W. Johnso. (2012). Physics. 9thed. John Wiley & Sons, Inc. 1008p. ISBN 978-0-470-87952-8.
Yunus A. Cengel and Afshin J. Ghajar. (2015). Heat and Mass Transfer Fundamentals and Application, 5thed, New York: McGraw-hill, 968p. ISBN 978-0-07-339818-1.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ