เทคโนโลยีเครื่องมือกล

Machine Tools Technology

 1.รู้วิธีการในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในงานเครื่องมือกล   2.เข้าใจการทำงานของเครื่องมือกลต่างๆ อาทิเช่นเครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องไส เครื่องเจียระไน เครื่องเจาะ และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ   3.คำนวณหาค่าความเร็วในงานเครื่องมือกล   4.วางแผนการทำงานและการใช้เครื่องมือตัดในงานเครื่องมือกล   5.เข้าใจวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือกล   6 .ปฏิบัติงานเครื่องมือกล   7.ตระหนักถึงคุณค่าของเครื่องมือกลการผลิต
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาทางด้านเครื่องมือกลสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีในด้านงานเครื่องมือกล 
 
ศึกษาเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลการผลิต การกลึง การกัด การไส การเลื่อย การเจาะ การทำเกลียวและการทำเฟืองชนิดต่างๆเครื่องจักรกลอัตโนมัติเบื้องต้น คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิตเบื้องต้น ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือกลการผลิตและการบำรุงรักษาปฏิบัติงานเกี่ยวกับการลับเครื่องมือตัด งานกลึงปาดหน้า กลึงปอกผิว กลึงตกร่อง กลึงโดยใช้หัวจับสี่จับ งานเจาะบนเครื่องกลึง งานกัดราบ กัดร่อง กัดมุม งานไสราบ ไสร่อง ไสมุม งานเจาะรู งานฝายปากรูทรงกรวย งานฝายปากรูทรงกระบอก  เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานเครื่องมือกล หลักการทำงานของเครื่องเลื่อย เครื่องเจาะ
อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์   (เฉพาะรายที่ต้องการ)  แก้ไข
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้  1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม  2. สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม  3. เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม  4. ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด  5. เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย  6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม  7. ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. ประเมินผลจากการเข้าเรียนระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม  2. ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา  3. สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการ  รักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจใน  ตนเองและสถาบัน  4. ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา  5. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1. มีความรู้และความเข้าใจในเชิงทฤษฏีทางด้านงานเครื่องมือกลการผลิต   2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเชิงปฏิบัติด้านทางเครื่องจักรกลอัตโนมัติและ       งานด้านคอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบและงานผลิต
1. บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา  2. ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเครื่องมือกลการผลิตเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น  3. มอบหมายงานตามใบปฏิบัติงาน  4.  สรุปเนื้อหาบทเรียนร่วมกับนักศึกษา
1.สอบกลางภาค สอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ ความเข้าใจ หลักการและทฤษฏี  2.ภาคปฏิบัติวัดจากคะแนนตามงานที่มอบหมายและจิตพิสัยในการเรียนและการปฏิบัติงาน
1. มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี  2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
1. บรรยาย สาธิต ประกอบกับการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน  2. การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร  3. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
1. สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และ บรูณาการองค์     ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชา  2. งานที่มอบหมายและจิตพิสัยในการเรียน  3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อ สังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัว ได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน การแสดงความคิดเห็นความรับผิดชอบในการทำงาน การดูแลรักษอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
1.  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายทั้งบุคคลและกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะกับความรับผิดชอบ   2. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา  แก้ไข
มอบหมายงานรายบุคคล
1. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย    2. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
1. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปลการเขียน โดยการทำรายงาน   2. พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ   3. พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม  แก้ไข
นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ผลจากการประเมินการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย  2. ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการทำงานรายบุคคล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดความรู้ทฤษฏี สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 30% 30%
2 การฝึกปฏิบัติตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย งานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้า ตลอดภาคการศึกษา 15 สัปดาห์ ไม่รวมสัปดาห์สอบ 30%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน (*การเข้าเรียนต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมดจะหมดสิทธิ์สอบปลายภาค) ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือกล
Power Point Presentation วิชาเทคโนโลยีเครื่องมือกล
ตารางคู่มืองานโลหะ ,/ แปลโดย รศ.บรรเลง ศรนิล และรศ. สำนึก วัฒนศรียกุล,/(สถานที่พิมพ์:/เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สถาบัน,/2012.
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 3.3 นำผลจากข้อ 1 และ 2 มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ในภาคการศึกษาต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ