ทักษะวิชาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3

Practical Skills in Aquaculture 3

1. สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามความสนใจอย่างเป็นระบบได้
2. สามารถสร้างอาชีพและรายได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้
3. มีเจตคติที่ดีต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อให้มีเนื้อหาวิชาที่ทันสมัย เข้ากับสถานกาณ์ปัจจุบัน
ฝึกปฏิบัติสร้างประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเป็นระบบ ตามความสนใจของนักศึกษา เพื่อให้เข้าใจในระบบการสร้างอาชีพและรายได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดนั้นๆ
2 ชั่วโมง
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรก เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ ดังนี้
(1) มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
(2) มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น
(1) ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
(2) ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
(3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(4) ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
 
 
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรเพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1) มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
(2) มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. สอนโดยการเน้นให้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้า และ นำเสนองาน
2. สอนโดยการตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
1. ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
2. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3. ประเมินจากการทดสอบทักษะปฏิบัติ
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้วดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
(1) สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
(2) สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
(3) ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. สอนโดยให้คิดวิเคราะห์และวางแผนเพื่อปฏิบัติจริง
2. อภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเสนอความคิดเห็น
3. ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
(1) ประเมินจากผลงานการนำเสนอแผนงาน
(2) การสอบปากเปล่า
(3) การทดสอบทักษะปฏิบัติ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้
(1) ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
(2) มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
1. มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม 
2. ผลัดเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้ากลุ่ม
 
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ ด้านเกษตรศาสตร์ ดังนี้
(1) มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง  พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
(2) มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอนแบบการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ
2. การสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย เพื่อแสดงความคิดเห็น
1. การประเมินการนำเสนอแผนงาน
2. การประเมินการตอบคำถาม และ การแสดงความคิดเห็น
 
นักศึกษามีความสามารถปฏิบัติงานทางวิชาชีพและพัฒนาตนเองได้โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆจากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
-การสอนโดยการฝึกปฏิบัติ 
-การสอนแบบ Problem Based Learning
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
1. ประเมินจากการสังเกตุ
2. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
3. ประเมินจากการสอบปากเปล่า
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 สอนให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ลอกการบ้านเพื่อน 1.2 สอนให้นักศึกษามีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาสังคม เช่น เข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา แต่งกายตามระเบียบของการเข้าชั้นเรียน 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ โดยมีวิธีการสอนคือ มีการสอนโดยการบรรยายสรุป เกี่ยวกับทักษะต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงนทักษะวิชาชีพ 2.2 มีความรอบรู้ มีวิธีการสอนคือ ฝึกให้นักศึกษาปฏิบัตงานทักษะวิชาชีพ โดยการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีในงาน และให้นักศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีให้ทันสมัย 3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ มีวิธีการสอน คือ ฝึกให้นักศึกษาวางแผนงานการผลิต และการจำหน่าย สัตว์น้ำ 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิธีการสอนโดย ฝึกให้นักศึกษานำความรู้ที่เรียน และการค้นคว้า มาวางแผนและต่อยอด ทักษะต่างๆ ได้ 3.1 .ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ สอนโดย มอบหมายงานให้นักศึกษาไปค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองอยู่เสมอ 4.1 ภาวะผู้นำ สอนโดย มอบหมายให้ทำงานเป็นทีม และสลับกันเป็นผู้นำ 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ สอนโดย จัดให้ทำงานเป็นกลุ่ม 5.1 มีทักษะการสื่อสาร สอนโดย มอบหมายให้ค้นคว้างานเพื่อมานำเสนอ และอภิปรายในชั้นเรียน 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สอนโดย มอบหมายให้นักศึกษาไปฝึกค้นคว้าข้อมูลแบบมีประสิทธิภาพ 6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ สอนโดย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ
1 BSCAG346 ทักษะวิชาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม บันทึกการเข้าเรียน แต่งกายให้ถูกระเบียบวินัย และความประพฤติ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ความรู้ การทดสอบทักษะปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 ทักษะทางปัญญา การซักถาม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการนำเสนองานปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การสังเกตุ การประเมินผลการปฏิบัติงานมอบหมายแบบกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การประเมินผลการค้นคว้าข้อมูลและการนำเสนองาน 8 และ 16 10 %
6 ทักษะพิสัย การสังเกตุพฤติกรรมการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ ตลอดภาคการศึกษา 30%
เกรียงศักดิ์  เม่งอำพัน.  2543.  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ.  มหาวิทยาลัยแม่โจ้,
     เชียงใหม่.  204 น.
วรวุฒิ  เกิดปราง.  2546.  หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ.  ภาควิชาเพาะเลี้ยง
     สัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สถาบันเทคโนโลยี 
     ราชมงคล, ตรัง.  98 น.
นิวุฒิ  หวังชัย.  2547.  อาหารปลา.  คณะเทคโนโลยีการประมงและ
     ทรัพยากรทางน้ำ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.  188 น.
เวียง เชื้อโพธิ์หัก. 2543. โภชนศาสตร์สัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ.
     ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
     กรุงเทพ ฯ.255 น
 
3
เว็บไซด์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน การตอบสนอง การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา โดยทำการทวนสอบช่วงปลายภาคการศึกษา โดยอาจารย์ผู้สอน โดยทดสอบทักษะที่มีความสำคัญ ทดสอบปากเปล่า และการสังเกตุพฤติกรรมในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผล ของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทุก ๕ ปี